รมว.แรงงาน "พิพัฒน์" ลงพื้นที่อุดรฯ ถกแรงงานนอกระบบ “กลุ่มไม้ไผ่แปรรูป” ส่งเสริมการจ้างงานในชุมชน สร้างงานให้กลุ่มผู้สูงวัยมีงาน มีรายได้

วันที่ 3 ธันวาคม 2566 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วยนายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน นายสมชาย มรกตศรีวรรณ ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทนอธิบดีกรมการจัดหางาน และผู้บริหารกระทรวงแรงงาน ลงพื้นที่จังหวัด อุดรธานี ตรวจเยี่ยมพบปะให้กำลังใจกลุ่มรับงานไปทำที่บ้าน “กลุ่มไม้ไผ่แปรรูป” โดยมีนางพรทิพย์ รามฤทธิ์ ประธานกลุ่มและสมาชิกให้การต้อนรับ ณ ที่ทำการกลุ่ม บ้านยามกาใหญ่ ต.บ้านธาตุ อ.เพ็ญ จ.อุดรธานี
.
นายพิพัฒน์ เปิดเผยว่า การลงพื้นที่อีสานเหนือในครั้งนี้ มีความตั้งใจนำคณะผู้บริหารกระทรวงแรงงานติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานตามนโยบายสำคัญของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี ซึ่งมีประชากรผู้สูงอายุถึง 222,278 คน หรือร้อยละ 14.01 จากจำนวนประชากรทั้งหมด 1,563,048 คน จากจำนวนดังกล่าวถือว่าจังหวัดอุดรธานีเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว นอกจากนี้จังหวัดอุดรฯ ยังมีแรงงานนอกระบบเป็นจำนวนมากถึง 492,776 คน โดยส่วนใหญ่ทำงานด้านการเกษตรและประมง ด้านงานบริการ และด้านความสามารถทางฝีมือ ตามลำดับ ในส่วนผู้อยู่ในกำลังแรงงาน มีทั้งสิ้น 602,364 คน แบ่งเป็นผู้มีงานทำ 585,543 คน และผู้ว่างงาน 8,953 คน หรือร้อยละ 0.57 ของประชากรทั้งหมด

จากสถานการณ์แรงงานดังกล่าว ทำให้แนวทางขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจังหวัดอุดรธานีเกี่ยวพันกับแรงงานนอกระบบอย่างยิ่ง และด้วยกระทรวงแรงงานมีภารกิจในการส่งเสริมการประกอบอาชีพให้แก่ประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ให้มีงาน มีรายได้เพิ่มขึ้น มีโอกาสพัฒนาทักษะฝีมือ และมีความปลอดภัยในการทำงาน ในวันนี้ผมจึงลงพื้นที่พบปะพูดคุยกับกลุ่มรับงานไปทำที่บ้าน “กลุ่มไม้ไผ่แปรรูป”

เพื่อเยี่ยมชมและรับฟังผลการดำเนินงาน การแสดงผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม อาทิ กระติบข้าว ขันใส่บาตร พานตักบาตร ตระกร้าไผ่ ตระกร้าหวาย มวยนึ่งข้าว กระเป๋าสตางค์หวาย กระเป๋าถือสานไผ่ ซึ่งเป็นสินค้าสร้างรายได้ให้กับชุมชน และส่งต่อภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างไม่รู้จบ จากการพูดคุยกับคุณพรทิพย์ ประธานกลุ่ม และยังเป็นอาสาสมัครแรงงานประจำตำบล กำลังสำคัญในการประสานภารกิจของกระทรวงแรงงานกับชาวบ้าน ทำให้ทราบว่า กลุ่มรับงานไปทำที่บ้านไม้ไผ่แปรรูป มีสมาชิก จำนวน 10 คน และมีการแจกจ่ายงานไปยังสมาชิกในชุมชนซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ มากกว่า 150 คน สร้างรายได้ 4,000 – 5,000 บาท ต่อเดือนต่อคน ซึ่งนับว่าเป็นรายได้เสริมที่ไม่น้อย

“การสนับสนุนให้เกิดการจ้างงานในชุมชนสนับสนุนแรงงานนอกระบบ ซึ่งเป็นแรงงานกลุ่มใหญ่ที่สุดของประเทศ ทำให้แรงงานไม่ต้องออกจากพื้นที่เพื่อทำงานไกลบ้าน สามารถรับงาน ทำงาน และนำค่าจ้างที่ได้รับใช้จ่ายหมุนเวียนในชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจจากฐานรากอย่างแท้จริง” รมว.แรงงาน กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"พิพัฒน์" มั่นใจขึ้นค่าแรง 400 บาททั่วประเทศ 1 ต.ค. 67 เผยเตรียมหารือส่วนราชการอื่น ๆ ช่วยบรรเทาผลกระทบ SME และ ก.พาณิชย์ช่วยควบคุมราคาสินค้า

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเปิดเผย ว่า มั่นใจสิ่งที่ประกาศจะขึ้นค่าแรง 400 บาททั่วประเทศในวันที่ 1 ต.ค. 2567 จะต้องทำให้ได้ เพราะจากการหารือกับนายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน

ผู้ประกอบการอีสานมิตรผล หนุน "พิพัฒน์" บริหารแรงงานที่ดีตามมาตรฐานสากล (GLP) ป้องกันค้ามนุษย์ ยกระดับรายได้ ให้ประโยชน์ลูกจ้าง

วันที่ 3 พฤษภาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นำทีมผู้บริหารกระทรวงแรงงาน ลงพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ เสริมสร้างศักยภาพแรงงานครอบคลุมทุกมิติ พร้อมจับมือกลุ่มมิตรผล

โลกเดือด !!! “พิพัฒน์” ห่วงใย “ผู้ใช้แรงงาน” แนะ 6 ข้อ ช่วงอากาศร้อนจัด 40-43 องศา

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวระหว่างเป็นประธานเปิดงานวันความปลอดภัยและอาชีวอนามัยสากล ประจำปี พ.ศ.2567 ภายใต้หัวข้อ

ผู้ใช้แรงงานเฮ! 1 พ.ค.2567 วันแรงงาน "พิพัฒน์" ย้ำชัดประกาศแน่ ทำเร็วขึ้น ค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท ทั่วประเทศ

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ยืนยันถึงการประกาศบิ๊กเซอร์ไพรส์ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท ว่า

14 พ.ค.ได้ลุ้น คกก.ค่าจ้างฯ ถกค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ

'คารม' ย้ำขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาททั่วประเทศ รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ พิจารณาอย่างเหมาะสมและรอบคอบ เผย 14 พ.ค.นี้ คกก.ค่าจ้างฯ เตรียมประชุมพิจารณาค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ