“ศุภมาส” พร้อมดันมหาวิทยาลัยจัดทำแผนที่ทักษะ (Skill Mapping) และทรานสคริปต์โชว์ผลทักษะ (Skill Transcript)

เมื่อวันที่ 25 ธ.ค. น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า อว. ร่วมกับ มหาวิทยาลัย ในการทำ Skill Mapping หรือแผนที่ทักษะเพื่อระบุทักษะที่สำคัญในการทำงานในสาขาอาชีพสมัยใหม่ และเป็นไปตามความต้องการของประเทศ โดยการทำ Skill Mapping จะใช้ข้อมูลจากการสำรวจความต้องการทักษะของภาคธุรกิจ และจากฐานข้อมูลการทำงานระดับโลก เพื่อทำการวิเคราะห์หาทักษะที่นักศึกษาควรมี โดยขณะนี้ ได้ประกาศทักษะที่พึงประสงค์ไปแล้ว 5 สาขา ได้แก่ เกษตรสมัยใหม่ การตลาดดิจิทัล การท่องเที่ยวสมัยใหม่ ยานยนต์ไฟฟ้า และนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษา หรือหน่วยงานที่จะพัฒนากำลังคน สามารถนำไปปรับใช้ได้ นอกจากนี้ ยังริเริ่มทำ Skill Transcrip หรือใบรับรองผลการเรียนที่ระบุทักษะของนักศึกษา ว่ามีทักษะที่สอดคล้องกับการทำงานในระดับใดบ้าง เพื่อนักศึกษาและบัณฑิตสามารถนำไปใช้ในการทำงาน หรือ พัฒนาทักษะเพิ่มเติม

“นี่เป็นมิติใหม่ของ อว. และอุดมศึกษาไทย ที่จะพัฒนากำลังคนให้สอดรับกับความต้องการของประเทศในอนาคต” น.ส.ศุภมาส กล่าว

ด้าน นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานอนุกรรมการสร้างและพัฒนาบัณฑิต คณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการทำ Skill Mapping และ Skill Transcript ทาง กกอ. ให้ความสำคัญอย่างมาก และได้กำหนดแนวทางในการทำ Skill Mapping ในสาขาที่สำคัญอีกประมาณ 10 สาขา และจะต้องมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องให้ทันสมัยตลอดเวลา ส่วน Skill Transcript ในขณะนี้ ได้มีการนำร่องแล้วในบางสาขา ใน 6 มหาวิทยาลัย ได้แก่ ม.ขอนแก่น ม.พะเยา ม.สงขลานครินทร์ ม.บูรพา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ซึ่ง Skill Transcript นี้วางแผนว่าจะออกให้นักศึกษาได้ทุกปี ไม่จำเป็นต้องออกเมื่อจบการศึกษา เหมือน Transcript จบการศึกษาปกติ ซึ่งการออกเป็นรายปี จะช่วยให้นักศึกษาสามารถนำทักษะที่ได้เรียนรู้ระหว่างปีไปทำงานระหว่างเรียนได้ และให้นักศึกษารู้ตัวแต่เนิ่นๆ ว่าตัวเองต้องพัฒนาทักษะอะไรเพิ่มเติม

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

NSM ร่วมเปิดงาน Kind + Jugend ASEAN 2024 งานแสดงสินค้าแม่และเด็กระดับนานาชาติ

เมื่อ 25 เม.ย. ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมเปิดงาน Kind + Jugend ASEAN 2024 งานแสดงสินค้าแม่และเด็กระดับนานาชาติ โดยมี นายแมธเธียส คูเปอร์ กรรมการผู้จัดการและรองประธาน โคโลญเมสเซ่

“ศุภมาส” จับมือเยอรมนีลงนามปฏิญญายกระดับความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมของ 2 ประเทศครอบคลุม 10 กิจกรรม

เมื่อวันที่ 24 เม.ย.น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย

ด่วน !! "ศุภมาส" สั่งการหน่วยปฏิบัติการ “DSS วศ.อว” พร้อมลงพื้นที่ กรณีแคดเมียมสมุทรสาคร

วันที่ 5 เมษายน 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า

“ศุภมาส” ลุย ! ปฏิรูปอุดมศึกษาไทย ประกาศนโยบาย “2 ลด 2 เพิ่ม” ลดภาระ-ลดเหลื่อม ล้ำ-เพิ่มทักษะ-เพิ่มโอกาส

เมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2567 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) จัดงาน "BETTER THAILAND การปฏิรูปอุดมศึกษา เพื่ออนาคตประเทศไทย" โดยมี นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. เป็นประธานเปิดงาน

รัฐมนตรี “ศุภมาส” ชื่นชมความสำเร็จ วศ.อว. วิจัยพัฒนานวัตกรรมเซรามิก “แร่หินผุ” เพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจชุมชนกว่า 1 พันล้านบาท ทดแทนแร่ดินขาวที่กำลังจะหมดไป

เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า กระทรวง อว. ให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการผลิตตามยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

องคมนตรี ย้ำ “การศึกษาช่วยสร้างคนดีให้บ้านเมือง” เร่งแก้ปัญหาเด็กพื้นที่ห่างไกล ขณะที่ "ศุภมาส" รมว.อว. ส่งเครือข่ายมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยงลงพื้นที่ช่วยจัดการเรียนการสอน ผลิตสื่อการเรียนรู้

เมื่อวันที่ 22 มี.ค. 2567 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) จัดการประชุมโครงการการแสดงผลการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง โดยมี พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา องคมนตรี