อธิบดี ทช. เยี่ยมชมโครงการปลูกป่าชายเลน เพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิตที่จังหวัดชลบุรี

เมื่อเร็วๆ นี้ ดร. ปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (อทช.) พร้อมคณะผู้บริหารของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) และผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการทรัพยากรชายฝั่งและป่าชายเลน เยี่ยมชมและตรวจติดตามความคืบหน้าโครงการปลูกป่าชายเลน จำนวน 56.22 ไร่ จังหวัดชลบุรี ที่ ทช. และบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ดำเนินการร่วมกัน โดยมีนายถิรยุทธ ลิมานนท์ ผู้จัดการฝ่ายกิจการสัมพันธ์ ให้การต้อนรับ

ทั้งนี้ อทช. และคณะได้ให้ข้อเสนอแนะถึงวิธีการและแนวทางในการปลูกป่าชายเลนในพื้นที่โครงการฯ  เพื่อเป้าหมายในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวและเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ของจังหวัดชลบุรีต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) ประกาศคงอันดับความน่าเชื่อถือไทยออยล์ที่ A+ (Tha) หลังประกาศการเพิ่มเงินลงทุนในโครงการพลังงานสะอาด (CFP : Clean Fuel Project)

เมื่อเร็วๆนี้ บริษัท Fitch Ratings (Thailand) หรือ Fitch ได้ประกาศคงอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) ของบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ที่ระดับ A+ (Tha) ซึ่งสะท้อนถึงความแข็งแกร่งทางการเงินของบริษัทในระดับน่าลงทุน หรือ

ไทยออยล์ ได้รับการคงอันดับความน่าเชื่อถือระดับน่าลงทุน หรือ Investment Grade จากการจัดอันดับโดย S&P Global Ratings และ Moody’s หลังประกาศการเพิ่มเงินลงทุนในโครงการพลังงานสะอาด (Clean Fuel Project หรือ CFP)

เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2567 บริษัท S&P Global Ratings (S&P) ได้ประกาศคงอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) ของบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) ที่ระดับ BBB

ไทยออยล์ผนึกกำลังสมาคมวอลเลย์บอล ร่วมพัฒนาทักษะกีฬาวอลเลย์บอลให้กับเยาวชนแหลมฉบัง

เมื่อเร็วๆนี้ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ร่วมกับสมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย และเทศบาลนครแหลมฉบัง จัดโครงการ “ไทยออยล์ปั้นฝันเยาวชนสู่ความเป็นหนึ่ง

ไทยออยล์คว้ารางวัลเกียรติคุณ การเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืน Sustainability Disclosure Award ประจำปี 2567 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 6

เมื่อเร็วๆนี้ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ได้รับรางวัลเกียรติคุณการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืน “Sustainability Disclosure Award” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 จากงานมอบรางวัลการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน

ต่อชีวิต'พะยูนฝูงสุดท้าย' กอบกู้หญ้าทะเล

การเสียชีวิตของพะยูนไทยที่ปรากฎอย่างต่อเนื่องตามสื่อต่างๆ ในรอบปี 2567 มีตัวเลขการตายพุ่งสูงกว่าทุกปี  หากนับตั้งแต่ต้นปีจนถึงสิ้นเดือนพฤศจิกายนนี้ พะยูนตายไปแล้วเกือบ 40 ตัว รวมปี 2566 ไทยสูญเสียพะยูนรวมกันเกือบ 80 ตัว  ถือเป็นสัญญาณอันตรายของพะยูน

สถานการณ์ทางทะเลที่ต้องจับตา ขยับเศรษฐกิจสีน้ำเงินลดทำลาย

สถานการณ์ทางทะเลของประเทศไทยขณะนี้หลายปัญหามีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น ทั้งสัตว์ทะเลหายากเสี่ยงสูญพันธุ์จากกิจกรรมมนุษย์และสภาพการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศหรือภาวะโลกร้อน ล่าสุดกรณีพะยูนตายมากถึง 5 ตัวภายในเดือนพฤศจิกายนนี้เพียงเดือนเดียว