“พิพัฒน์” นำทัพไตรภาคีฝ่ายไทย เยือนนครเจนีวา ร่วมประชุมใหญ่ ILC ยื่นสัตยาบันอนุสัญญา ฉบับที่ 144

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายสิรภพ ดวงสอดศรี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน และผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน ผู้แทนฝ่ายรัฐบาล เดินทางเยือนนครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส เพื่อเข้าร่วมการประชุมใหญ่ประจำปีองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Conference: ILC) สมัยที่ 112 และร่วมหารือกับประเทศสมาชิกประเด็นต่างๆในการเดินทางครั้งนี้ โดยค่ำวานนี้ ผมมอบหมายให้ นายสิรภพ ดวงสอดศรี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน เป็นผู้แทนร่วมหารือกับรัฐมนตรีแรงงานของประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานของมาเลเซีย กับนาย สติเว่น ซิม ซี เคียง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรมนุษย์ของมาเลเซีย ซึ่งหารือประเด็นการจัดตั้งกองทุนอาเซียน เป็นประโยชน์ในด้านการสร้างเครือข่ายการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานตลอดจนการพัฒนาทุนมนุษย์ในประเทศสมาชิกต่อไป

นายพิพัฒน์ กล่าวว่า การมารวมประชุมครั้งนี้ มีวาระเข้าพบ นายกิลเบิร์ท เอฟ โฮงโบ (Mr. Gilbert F. Houngbo) ผู้อำนวยการใหญ่องค์การแรงงานระหว่างประเทศ เพื่อหารือข้อราชการด้านแรงงาน

"กระทรวงแรงงานนำสัตยาบันอนุสัญญา ฉบับที่ 144 ที่ได้ผ่านครม. มาลงนามร่วมกันกับผู้อำนวยการองค์การแรงงานระหว่างประเทศเป็นที่เรียบร้อย มีสาระสำคัญแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของประเทศไทย ในการส่งเสริมการเจรจาทางสังคมและการปรึกษาหารือไตรภาคี ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันดี และการหารืออย่างสร้างสรรค์ ระหว่างนายจ้าง ลูกจ้าง และรัฐบาลเพื่อมุ่งไปสู่ความยุติธรรมทางสังคม และงานที่มีคุณค่าสำหรับทุกคนในประเทศไทย"นายพิพัฒน์ กล่าว

ด้าน นายไพโรจน์ กล่าวว่า กระทรวงแรงงานยึดมั่นในการทำงานของไตรภาคีเป็นหลัก เพื่อขับเคลื่อนแนวคิดที่ผลักดันมาจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ที่มุ่งเน้นการใช้กลยุทธ์การดำเนินงานที่สำคัญ คือ การเจรจาต่อรอง ในรูปแบบไตรภาคี ที่ต้องมีผู้แทนทั้งสามฝ่าย เพื่อให้มีกลไกการทำงานที่มีประสิทธิภาพ และเกิดความสมดุลกับทุกฝ่ายต่อไป
.
นายประพันธ์ ปุษยไพบูลย์ ประธานสภาองค์การนายจ้าง การเกษตร ธุรกิจ อุตสาหกรรมไทย
แถลงว่า คุณภาพชีวิตแรงงานที่ดียิ่งขึ้นภายใต้กรอบอนุสัญญาต่าง ๆ สิทธิและความเท่าเทียม และการกระทำที่อาจส่งผลกระทบต่อมนุษยชาติ และที่สำคัญคือ การน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาปรับใช้เพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาคมโลก ซึ่งตัวแทนฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง ต่างชื่นชมกระทรวงแรงงานของประเทศไทยว่าสามารถแก้ไขกฎหมายแรงงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น อีกทั้งเปิดโอกาสให้นายจ้างและเจ้าของกิจการ ได้เข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุนการทำงานร่วมกับลูกจ้างและรัฐบาล

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ประกันสังคมขานรับนโยบายการเพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีสงเคราะห์บุตรเพื่อส่งเสริมการมีบุตร ตามแนวคิดของรัฐมนตรีแรงงาน พิพัฒน์

นางมารศรี ใจรังษี ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทนเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ให้ข้อมูลเพิ่มเติมกรณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับการเพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีสงเคราะห์บุตรเป็นเดือนละ 3,000 ระยะเวลา 7 ปี

'พิพัฒน์' นั่งหัวโต๊ะ ประชุม กก.บริหารจัดการการทำงานคนต่างด้าว จันทร์ 21 ต.ค.นี้ ยืนยัน นโยบายให้สิทธิของแรงงานต่างด้าว ตาม ไอแอลโอ. กำหนด โดยห้ามรุกล้ำอาชีพสงวน ของคนไทย

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงกรณีที่มีหลายภาคส่วน รววมทั้งนักการเมือง ออกมาพูดถึงการให้ความสําคัญแรงงานต่างด้าวมากไป ว่า ไม่ได้เป็นอย่างนั้น ยังทําตามกรอบกฎหมายอยู่

‘พิพัฒน์’ รับข้อเสนอโฮมเนทสากล ดูแลผู้รับงานไปทำที่บ้าน ดันไทยให้สัตยาบันอนุสัญญา ประเทศแรกในภูมิภาคเอเชีย

วันที่ 17 ตุลาคม 2567 เวลา 09.00 น. นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ให้การต้อนรับ นางโจเซฟีน พาริลลา (Ms. Josephine Cabahug Parilla) ประธานกรรมการโฮมเนทสากล และคณะ ในโอกาสเข้าพบเพื่อเยี่ยมคารวะ และหารือแนวทางการกำหนดนโยบาย

‘พิพัฒน์’ ปั้นผู้ประกอบการช่างตัดผม ช่างเสริมสวย อัพสกิลแรงงาน สร้างรายได้สูง มั่นคง ยกระดับฝึมือ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

วันที่ 16 ตุลาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดการแข่งขันตัดผมและมอบถ้วยรางวัลแก่ผู้ชนะการแข่งขันในงานครบรอบ 10 ปี กลุ่มช่างตัดผมชาย ในงาน 10 th Anniversary Barber Society of Thailand 2024

ไอเดียเด็ด ! พิพัฒน์ เสนอมาตรการสร้างแรงจูงใจให้แรงงานไทย "มีลูกเพิ่ม" ด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์บุตร จาก 1,000 เป็น 3,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 7 ปี

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงแนวคิดการให้เงินสงเคราะห์บุตร ว่า การสงเคราะห์บุตร ของสำนักงานกองทุนประกันสังคม ก่อนหน้านี้เราให้ 800 บาทต่อเดือน แต่ในปี 2568 ให้เพิ่มเป็น 1,000 บาทต่อเดือน

“พิพัฒน์”เสียใจแรงงานไทยเสียชีวิตในอิสราเอล กำชับทูตแรงงานติดตามสถานการณ์ใกล้ชิด ด้าน “ปลัดบุญสงค์”สั่ง 5 เสือแรงงานลงพื้นที่เยี่ยมให้กำลังใจครอบครัวแล้ว

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงความคืบหน้ากรณีแรงงานไทยเสียชีวิต 1 ราย จากสถานการณ์ความไม่สงบในอิสราเอลว่า