นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เผยผลการดำเนินการตามข้อเรียกร้องวันแรงงานแห่งชาติสำเร็จ ผลักดันกฎหมายช่วยลูกจ้างเดือดร้อนจากการถูกเลิกจ้าง ให้ขยายเพดานค่าชดเชยที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จาก 300,000 บาท เป็น 600,000 บาท หลังครม. มีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงฯ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566
.
นายพิพัฒน์ เปิดเผยว่า เมื่อวันอังคารที่ 18 มิถุนายน 2567 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากรหรือการปรับปรุงการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับค่าชดเชยที่ลูกจ้างได้รับจากนายจ้างกรณีถูกเลิกจ้าง โดยได้กำหนดยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับค่าชดเชยส่วนที่ไม่เกินค่าจ้างจาก 300 วันสุดท้าย เป็น 400 วันสุดท้าย เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และขยับเพดานของค่าชดเชยที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จาก 300,000 บาท เป็น 600,000 บาท ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอต่อกระทรวงการคลัง และเป็นไปตามข้อเรียกร้องวันแรงงานแห่งชาติของพี่น้องผู้ใช้แรงงาน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของลูกจ้างหลังถูกนายจ้างเลิกจ้างให้ได้รับเงินก้อนสุดท้ายเพื่อใช้ในการดำรงชีวิตเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นการยกระดับมาตรฐานคุณภาพชีวิตแรงงาน โดยมีผลให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 เป็นต้นไป
นางโสภา เกียรตินิรชา อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวเพิ่มเติมว่า ประเด็นเกี่ยวกับการขอยกเว้นภาษีเงินก้อนสุดท้ายที่ลูกจ้างได้รับ หรือค่าชดเชยกรณีถูกเลิกจ้างนั้น กลุ่มผู้ใช้แรงงานได้ยื่นข้อเรียกร้องเนื่องในวันแรงงานแห่งชาติมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 ปี 2556 ปี 2557 ปี 2558 ปี 2559 ปี 2563 และปี 2564 ซึ่งกระทรวงแรงงาน โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน มิได้นิ่งนอนใจต่อความเดือดร้อนของลูกจ้าง ได้แต่งตั้งคณะทำงานศึกษาการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการจ่ายค่าชดเชยและการงดจ่ายภาษี กรณีได้รับเงินเนื่องจากออกจากงานเพื่อศึกษารายละเอียดและผลกระทบของการดำเนินการ ตลอดจนผลักดันให้เกิดผลสำเร็จ โดยคณะทำงานฯ เห็นว่า กฎกระทรวง ฉบับที่ 217 ได้บังคับใช้มาเป็นเวลานานประกอบกับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ได้มีการแก้ไขอัตราการจ่ายค่าชดเชย จากจำนวน 5 อัตรา เป็นจำนวน 6 อัตรา จากลูกจ้างทำงานครบ 10 ปีขึ้นไป มีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน เป็นลูกจ้างที่ทำงานครบ 10 ปี แต่ไม่ครบ 20 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชย 300 วัน และลูกจ้างที่ทำงานครบ 20 ปีขึ้นไป มีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 400 วัน เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายและอัตราค่าจ้างในปัจจุบัน จึงเห็นควรเสนอเพื่อขอให้มีการพิจารณาแก้ไขกฎกระทรวงฉบับที่ 217 รวมทั้งขอให้ครอบคลุมถึงกรณีการเกษียณอายุหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างด้วย ทั้งนี้ หากนายจ้าง ลูกจ้าง มีข้อสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน 1506 กด 3 สายด่วน 1546 หรือช่องทางออนไลน์ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานทุกช่องทาง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
“สิรภพ” ลุยกาญจนบุรี! ฝึกอบรมอาชีพเสริม 12 สาขาฟรี ! ทำงานได้ทันที
วันที่ 14 มีนาคม 2568 นายสิรภพ ดวงสอดศรี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน เป็นประธานพิธีเปิดโครงการ “สร้างงาน สร้างโอกาสในการประกอบอาชีพให้กับแรงงานนอกระบบ” ในจังหวัดกาญจนบุรี
'พิพัฒน์' ลุยสงขลา หนุนสร้างงาน-เพิ่มรายได้ เปิดงาน 'JOB FAIR 2025 @สงขลา' รับแรงงานกว่า 2,000 อัตรา แนะแนวอาชีพอิสระ มีเงินทุนส่งเสริมอาชีพให้กู้สูงสุด 300,000 บาท
กระทรวงแรงงาน โดยกรมการจัดหางาน เดินหน้าสร้างโอกาสการจ้างงานให้กับประชาชนในจังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคใต้ โดยร่วมมือกับผู้ประกอบการและมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดงาน “JOB FAIR 2025 @สงขลา”
รัฐบาลเตือน 'นายจ้าง' รีบยื่นขอใบอนุญาตแรงงานต่างด้าว ภายในสิ้นเดือนนี้
นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามที่กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน เปิดให้นายจ้างและสถานประกอบการที่จ้างแรงงานข้ามชาติที่มีสถานะไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
ป้องเลิกจ้างไม่เป็นธรรม! “พิพัฒน์” แจงกระทู้สดในสภา – เร่งช่วยแรงงานถูกเบี้ยวค่าเลิกจ้าง ดันงบกลาง-ล็อคบัญชีนายจ้าง-แก้กฎหมายให้คุ้มครองลูกจ้างมากขึ้น
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ตอบกระทู้สดในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชี้แจงถึงแนวทางแก้ไขปัญหานายจ้างไม่ปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน การขออนุมัติงบกลางช่วยเหลือลูกจ้าง และมาตรการป้องกันการโยกย้ายทรัพย์สินของนายจ้าง .
เปิดคำสั่ง 'อนุทิน' ตั้งคกก.สืบสวนข้อเท็จจริง ปมร้อนงบประกันสังคม
สำหรับการแต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงกรณีการใช้งบสำนักงานประกันสังคม (สปส.) นั้น เมื่อวันที่ 11 มี.ค. นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ลงนามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 86/2568 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง
สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 11 สุราษฎร์ธานี เสริมสร้างทักษะแรงงานอิสระและกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ ภายใต้นโยบาย “หนึ่งตำบล หนึ่งกลุ่มอาชีพอิสระ”
วันที่ 11 มีนาคม 2568 นายภูมิพัฒน์ เหมือนจันทร์ โฆษกกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วยนางสมพร ดวงแก้ว ผุ้อำนวยการสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 11 สุราษฎร์ธานี ตรวจเยี่ยมเพื่อให้กำลังใจผู้เข้ารับการฝึกอบรมโครงการเพิ่มทักษะแรงงานอิสระ