11 จังหวัดลุ่มน้ำเจ้าพระยาเตรียมรับมือเขื่อนเตรียมเพิ่มระบายน้ำ!

เขื่อนเจ้าพระยาเตรียมเพิ่มระบายน้ำอีกระลอก รับมือพายุซูลิก เตือน 11 จังหวัดลุ่มเจ้าพระยา รับสถานการณ์น้ำสูงขึ้นอีก 1 เมตร

18 ก.ย.2567 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากในช่วงตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา เขื่อนเจ้าพระยา ได้ลดการระบายน้ำท้ายเขื่อนจากอัตรา 1,498 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เหลืออัตรา 1,099 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพื่อลดผลกระทบพื้นที่น้ำท่วมท้ายเขื่อน แต่ล่าสุด กรมชลประทาน เตรียมปรับเพิ่มระบายน้ำเขื่อนเจ้าพระยาขึ้นอีกระลอก รับมือพายุ ซูลิก ที่คาดว่าจะเข้าประเทศไทยในช่วงวันที่ 20-23 กันยายนนี้ ซึ่งจะทำให้มีฝนตกหนักหลายพื้นที่ทางตอนบนลุ่มเจ้าพระยา และส่งผลให้แม่น้ำเจ้าพระยา กลับมาเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้ง โดยเตรียมปรับเพิ่มระบายน้ำ เขื่อนเจ้าพระยา จากอัตรา 1,099 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เป็นแบบขั้นบันได ในอัตราไม่เกิน 1,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เตือน 11 จังหวัด ลุ่มเจ้าพระยา เตรียมรับสถานการณ์น้ำจะกลับมาสูงขึ้นจากเดิมอีกประมาณ 60-100 เซนติเมตร

นายเดช เล็กวิชัย รองอธิบดี ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมชลประทาน ออกหนังสือแจ้งเตือนสถานการณ์น้ำลุ่มเจ้าพระยา ฉบับที่ 8/2567 ลงวันที่ 17 กันยายน 2567 ไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด 11 จังหวัดลุ่มเจ้าพระยา ได้แก่ จังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ และกรุงเทพมหานคร ให้เตรียมรับสถานการณ์น้ำ และประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำน้อย ให้เฝ้าระวังระดับน้ำสูงขึ้น และติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด

เนื่องจาก กรมชลประทานคาดการณ์ว่า ใน 1- 7 วันข้างหน้า ในวันที่ 24 กันยายน 2567 จะมีปริมาณน้ำไหลผ่านสถานีวัดน้ำ C2 จ.นครสวรรค์ ประมาณ 1,500 - 1,600 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และปริมาณน้ำจากลำน้ำสาขา จะมีประมาณ 200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทำให้ปริมาณน้ำที่เหนือเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท มีปริมาณ 1,800 ลูกบาศก์เมตรวินาที จึงมีความจำเป็นต้องระบายน้ำผ่านท้ายเขื่อนเจ้าพระยา เพิ่มขึ้นในอัตราไม่เกิน 1,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยจะมีการระบายเพิ่มขึ้นแบบขั้นบันได ซึ่งจะส่งผลให้ระดับน้ำท้ายเขื่อนในพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ บริเวณคลองโผงเผง จังหวัดอ่างทอง คลองบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และตำบลหัวเวียง อำเภอเสนา ตำบลลาดชิด ตำบลท่าดินแดง อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระดับน้ำสูงขึ้นจากปัจจุบันอีกประมาณ 60-100 เซนติเมตร อาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่ชุมชน

สำหรับสถานการณ์น้ำเขื่อนเจ้าพระยา วันนี้ ปริมาณน้ำไหลผ่านสถานีวัดน้ำ C2. จ.นครสวรรค์ 1,115 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที น้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา ที่ อ.เมืองชัยนาท มีปริมาณ 1,312 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ระดับน้ำเหนือเขื่อน ลดลงจากเมื่อวาน 22 เซนติเมตร อยู่ที่ระดับ 14.50 เมตร(รทก) น้ำระบายท้ายเขื่อน 1,099 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ระดับน้ำท้ายเขื่อน ที่ อ.สรรพยา ทรงตัวอยู่ที่ระดับ 11.35 เมตร(รทก) ต่ำกว่าตลิ่ง 4.99 เมตร

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เดินตามแนวพระราชดำริ...ช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมชุมพร

ในช่วงวันที่ 13-15 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมามรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังค่อนข้างแรงได้พัดปก คลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณภาคใต้ตอนล่างเคลื่อนลงสู่ทะเลอัน

จับตาการพัฒนาลุ่มน้ำสงคราม “อู่ข้าวอู่น้ำ” ของภาคอีสานตอนบน

ลุ่มน้ำสงคราม สาขาของลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือที่มีขนาดใหญ่รองลงมาจากลุ่มน้ำมูลและลุ่มน้ำชี มีพื้นที่ประมาณ 12,700 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 7.94 ล้านไร่

ปัตตานียังวิกฤต! ดับแล้ว 7 ราย ปะกาฮารังจมบาดาลทั้งหมู่บ้าน

สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดปัตตานียังคงเป็นพื้นที่สีแดง หลายพื้นที่ยังมีท่วมสูง แม้ว่าในช่วงกลางดึกน้ำลดลงไปบ้างแล้ว ประมาณ 20 %

'ชลประทานตรัง' การันตีปีนี้ตรังไม่จมบาดาล แก้ท่วมซ้ำซากสำเร็จ

นายวิโรจน์ มูสิกะเจริญ วิศวกรชลประทาน พร้อมด้วย นายสงกรานต์ หนูฤทธิ์ นายช่างชลประทาน สำนักงานชลประทานฝายคลองนางน้อย อ.นาโยง จ.ตรัง ลงพื้นที่สำรวจพื้นที่ทางน้ำและมวลน้ำ

รัฐบาลชวนร่วมงาน 'วิจิตรเจ้าพระยา' 16 พ.ย.-15 ธ.ค.

รัฐบาลเชิญชวน ปชช. ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของงาน “VIJIT CHAO PHRAYA 2024” ชมแสง สี เสียง การแสดงพลุ สุดอลังการ ร่วมชม 14 จุดการแสดงทั่ว กทม.ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ 16 พ.ย. - 15 ธ.ค. นี้

ประตูระบายน้ำศรีสองรักอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ความยั่งยืนของการพัฒนาลุ่มน้ำเลย

ลุ่มน้ำเลย เป็นลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือ มีแม่น้ำเลยเป็นแม่น้ำสายหลัก ที่มีต้นน้ำอมาจากอำเภอภูหลวง ซึ่งเป็นพื้นที่สูงลาดชัน