กสม.ติงรัฐบาลใช้ 'พ.ร.ก.ฉุกเฉิน' มากเกินกว่าเหตุ!

กสม.ห่วงใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ชี้กระทบเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุม ติงต้องไม่ปิดกั้นเกินกว่าเหตุและไม่ได้สัดส่วนกับการควบคุมโรค

17 ก.พ.2565 - นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) แถลงข่าวว่า ตามที่ กสม. ได้รับเรื่องร้องเรียนเมื่อวันที่ 31 ม.ค.2565 จากนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข แกนนำกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย และพวกขอให้ตรวจสอบการใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน) ดำเนินคดีกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ภายหลังผู้ร้องและพวกถูกตั้งข้อกล่าวหาในคดีอาญาฐานชุมนุมโดยฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินจากการรวมตัวเข้ายื่นหนังสือร้องเรียนรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ต่อสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) ณ สำนักงานสหประชาชาติ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2564

กสม. ในคราวประชุมด้านการคุ้มครองและมาตรฐานการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 5/2565 เมื่อวันที่ 7 ก.พ.2565 พิจารณาแล้วเห็นว่า การที่ผู้ร้องและพวกใช้สิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการชุมนุมโดยสงบตามที่ได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 34 และมาตรา 44 รวมทั้งกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ข้อ 19 และข้อ 21 ในการยื่นหนังสือร้องเรียนรัฐบาลที่กระทำการอันอาจเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ณ สำนักงานสหประชาชาติ กรุงเทพฯ ในวันดังกล่าว แต่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจแจ้งความดำเนินคดีอาญาข้อหาชุมนุมโดยฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินอาจมีประเด็นเกี่ยวกับสิทธิในกระบวนการยุติธรรม สิทธิในการแสดงความคิดเห็นและสิทธิในการชุมนุม จึงเห็นควรรับไว้เป็นคำร้องเพื่อดำเนินการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยมอบหมายพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักคุ้มครองสิทธิมนุษยชนดำเนินการ

ในประเด็นการใช้อำนาจตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินนี้ กสม. เคยมีรายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนกรณีการชุมนุมทางการเมืองระหว่างเดือนกรกฎาคม - กันยายน 2564 พร้อมข้อเสนอแนะแจ้งไปยังนายกรัฐมนตรีเมื่อปลายเดือนธันวาคม 2564 ระบุว่าแม้ว่ารัฐบาลมีความชอบธรรมในการบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินในการจัดการและควบคุมการชุมนุมด้วยเหตุผลเพื่อเป็นการป้องกันภัยทางสาธารณสุข ประกอบกับเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบอาจถูกจำกัดได้ แต่เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบนั้น มีคุณค่าและมีความสำคัญเป็นอย่างมากในระบอบประชาธิปไตย การบังคับใช้กฎหมายเพื่อจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบจะต้องสอดคล้องกับหลักความพอสมควรแก่เหตุ กล่าวคือต้องไม่ทำให้ประชาชนไม่สามารถใช้เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบได้โดยสิ้นเชิง แม้จะเป็นช่วงเวลาที่มีการแพร่ระบาดของโรคก็ตาม การใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินเพื่อควบคุมการชุมนุมของรัฐบาลมีแนวโน้มเป็นการห้ามการชุมนุมแบบเหมารวมและห้ามชุมนุมโดยเด็ดขาด และไม่ได้สัดส่วนระหว่างเสรีภาพในการชุมนุม กับความปลอดภัยสาธารณะหรือการป้องกันภัยทางสาธารณสุข ซึ่ง กสม. ได้มีข้อเสนอแนะให้คณะรัฐมนตรีหลีกเลี่ยงการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อควบคุมดูแลความสงบเรียบร้อยในการชุมนุม เนื่องจากวัตถุประสงค์ของการใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ เป็นไปเพื่อป้องกันภัยร้ายแรงที่กระทบต่อความมั่นคง และไม่อาจนำไปใช้ในการชุมนุมทางการเมืองทั่วไป

“กสม. มีความห่วงกังวลเป็นอย่างมากต่อการใช้อำนาจตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินดำเนินคดีประชาชนซึ่งรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงออกถึงข้อเรียกร้องทางการเมือง และข้อเสนอในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในหลายกรณีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการชุมนุมของกลุ่มเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่นเมื่อปลายปี 2564 หรือการชุมนุมของกลุ่มพีมูฟเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ซึ่งประชาชนหลายคนต้องถูกดำเนินคดีอาญาข้อหาชุมนุมโดยฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินเช่นกัน กสม.จึงขอเน้นย้ำให้รัฐบาลและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องตระหนักถึงสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมโดยสงบซึ่งเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของประชาชนที่มิควรถูกปิดกั้นหรือถูกจำกัดอย่างเกินสมควรแก่เหตุ และไม่ได้สัดส่วนกับการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค”นายวสันต์กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ภูมิธรรม' ไม่เห็นชื่อจนท.รัฐบาลไทย ถูกสหรัฐระงับวีซ่า เผยไปจีนพบผู้นำอิสลามด้วย

นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวถึงรายชื่อเจ้าหน้าที่ที่ทางสหรัฐอเมริกาจะงดออกวีซ่า จากกรณีประเทศไทยส่งกลับชาวอุยกูร์ไปยังประเทศจีนว่า ตนยังไม่เห็นเลย เห็นแค่คำแถล

บีอาร์เอ็นคอนเนคชั่น สะดุ้ง! 'กสม.' ประณามเหตุรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนใต้ ช่วงเดือนรอมฎอน

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)​ ออกแถลงการณ์ เรื่อง ขอประณามการก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยระบุว่าตั้ง

'สภายุโรป' ประณาม 'ไทย' เขย่า FTA นักวิชาการมธ. ชี้น่ากังวลมาก ยกเคส 'ยึดอำนาจ' ทำเจรจาการค้าสะดุด

นักวิชาการธรรมศาสตร์ ชี้ “รัฐสภายุโรป” ประณาม “ไทย” กรณีการส่งตัวอุยกูร์กลับจีน มีความน่ากังวลอย่างมาก เหตุ EU ยึดสิทธิมนุษยชน-ประชาธิปไตย เป็นหลักการเจรจาทางการค้า ยกเคสปี 57 การทำกรอบความตกลง PCA เคยสะดุดจากรัฐประหาร ชี้บรรยากาศพูดคุยที่ดีกับกรรมาธิการยุโรปด้านการค้า อาจไม่เพียงพอสำหรับบรรลุ FTA เพราะรัฐสภายุโรปมีสิทธิในการตัดสินใจด้วย

'ทักษิณ' ชี้สหรัฐฯไม่อัปเดตข้อมูล ประณามไทยส่งอุยกูร์กลับจีน ไม่ใช่เรื่องใหญ่อย่าตกใจ

นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กรณีสหรัฐอเมริกาจ่องดออกวีซ่าเจ้าหน้าที่ไทย ตอบโต้ผู้เกี่ยวข้องส่งชาวอุยกูร์กลับจีน ว่า เรื่องนี้เกิดจากสหรัฐฯ ไม่มีข้อมูลที่อัพเ

'ทวี' ยันส่งอุยกูร์กลับจีน ตัดสินใจถูกต้องยึดประโยชน์ประชาชน เมินโต้ต่างชาติประณาม

พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีสภายุโรปลงมติประณามไทยส่งกลับอุยกูร์กลับว่า ขอให้รอฟังกระทรวงต่างประเทศชี้แจง ทั้งนี้ประเทศไทยเรามีเอกราชและอธิปไตย

ผู้นำฝ่ายค้าน ห่วงภาพลักษณ์ไทย ชี้ต้องยึดหลักสิทธิมนุษยชน ก่อนจะพัฒนาเรื่องเศรษฐกิจ

"เท้ง" ห่วงภาพลักษณ์ไทย หลังสหรัฐฯ คว่ำบาตรจำกัดวีซ่าเจ้าหน้าที่รัฐบาล ชี้หากยึดหลักสิทธิมนุษยชน ประเทศไหนก็ว่าไทยไม่ได้ เตือนอย่าใช้วิธีเจรจาหลังบ้าน หลัง “ทักษิณ” แนะคุยทูต EU