เกษตรกรอินโดฯ ประท้วงนโยบายห้ามส่งออกน้ำมันปาล์ม

เกษตรกรรายย่อยชาวอินโดนีเซียหลายร้อยราย ออกมาชุมนุมประท้วงในกรุงจาการ์ตาและหลายพื้นที่ทั่วประเทศ เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลยุตินโยบายห้ามส่งออกน้ำมันปาล์ม เพราะเป็นการกีดกันโอกาสในการหารายได้พวกเขา

กลุ่มเกษตรกรปาล์มน้ำมันอินโดนีเซีย นำผลปาล์มออกมาร่วมประท้วงต่อต้านนโยบายห้ามส่งออกของรัฐบาล ในกรุงจาการ์ตา เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม (Photo by MARIANA / AFP)

รอยเตอร์รายงานจากกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันอังคารที่ 17 พฤษภาคม 2565 กล่าวว่า รัฐบาลอินโดนีเซียระงับการส่งออกน้ำมันปาล์มดิบและสินค้าที่ผลิตด้วยน้ำมันดังกล่าว รวมไปถึงเมล็ดพืชน้ำมัน ไปเมื่อวันที่ 28 เมษายน เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำมันเพื่อการบริโภคในประเทศและควบคุมราคาน้ำมันประกอบอาหารไม่ให้สูงเกินไปจนส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพของชาวอินโดฯ

แต่นโยบายดังกล่าวกลับส่งผลร้ายต่อประชาชน แทนที่จะแก้ปัญหาได้ เพราะราคาน้ำมันประกอบอาหารไม่ได้ถูกลง อีกทั้งทำให้รายได้ของเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันลดลงไปด้วย เพราะการเสียโอกาสจากการทำกำไรตามกลไกตลาดที่ตอนนี้ราคาน้ำมันปาล์มกำลังปรับตัวสูงขึ้น จนเป็นสาเหตุให้ต้องออกมาชุมนุมประท้วงเพื่อให้รัฐบาลของประธานาธิบดีโจโก วิโดโด ทบทวนนโยบายเสียใหม่

“เกษตรกรมาเลเซียยิ้มแย้มแจ่มใส เกษตรกรอินโดนีเซียต้องทุกข์ระทม” หนึ่งในป้ายที่กลุ่มผู้ประท้วงสื่อถึงสถานการณ์ของพวกเขา ด้วยเหตุที่อินโดนีเซียเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันปาล์มรายใหญ่ที่สุดของโลก ขณะที่มาเลเซียเป็นผู้ผลิตน้ำมันปาล์มรายใหญ่เป็นอันดับสอง เมื่ออินโดนีเซียหยุดส่งออกน้ำมันปาล์ม มาเลเซียจึงเข้ามามีบทบาทในการส่งออกเป็นอันดับหนึ่งและทำกำไรจากสถานการณ์ปัจจุบัน

แถลงการณ์ของอัพกาซินโด ซึ่งเป็นกลุ่มเกษตรกรปาล์มน้ำมันอินโดนีเซีย กล่าวว่า การผลิตเพื่อบริโภคแค่ในประเทศภายใต้นโยบายควบคุมราคา นอกจากจะทำให้เสียโอกาสในการหารายได้จากการส่งออกแล้ว ยังทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำกว่าความเป็นจริง ยิ่งทำให้เกษตรกรลังเล จนไม่อยากจะเก็บเกี่ยวผลผลิตปาล์มเสียด้วยซ้ำ

เกษตรกรเคลื่อนขบวนประท้วงด้วยรถบรรทุกน้ำมันปาล์มที่บรรจุผลปาล์มเต็มคัน ก่อนไปจัดชุมนุมอยู่หน้าสำนักงานกระทรวงประสานงานเศรษฐกิจซึ่งเป็นผู้ดูแลการดำเนินนโยบายของรัฐบาล

ไม่ใช่แค่เพียงแต่ในจาการ์ตา แต่เกษตรกรอินโดฯใน 22 จังหวัดก็ออกมาชุมนุมประท้วงในประเด็นดังกล่าวด้วยเช่นกัน

ประธานาธิบดีวิโดโด ออกนโยบายห้ามส่งออกน้ำมันปาล์ม หลังจากล้มเหลวในการพยายามควบคุมราคาน้ำมันปรุงอาหารในประเทศ แต่เห็นได้ชัดว่านโยบายล่าสุดนี้ก็มีข้อบกพร่องเช่นกัน

นักวิเคราะห์ แสดงความคิดเห็นว่า “นโยบายห้ามส่งออกน้ำมันปาล์มเป็นแค่เครื่องมือที่แสดงให้เห็นว่าประธานาธิบดีกำลังทำงานเพื่อแก้ปัญหา แต่มันกลับสร้างอีกปัญหาขึ้นมาให้แก้เพิ่ม” พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลปล่อยเสรีตามกลไกตลาดและใช้วิธีชดเชยให้ผู้บริโภคด้วยนโยบายอื่นๆ

อย่างไรก็ดี ฝั่งรัฐบาลโดย แอร์ลังกา ฮาร์ตาร์โต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงประสานงานเศรษฐกิจอินโดนีเซีย ยังคงยืนยันว่า คำสั่งห้ามดังกล่าวจะคงอยู่ต่อไป จนกว่าราคาน้ำมันสำหรับประกอบอาหารในประเทศจะลดลงเหลือ 14,000 รูเปียห์ (ราว 33 บาท) ต่อลิตร

ตามข้อมูลของกระทรวงการค้าที่เปิดเผยเมื่อวันศุกร์ ราคาน้ำมันประกอบอาหารในประเทศอินโดนีเซียในปัจจุบัน เฉลี่ยอยู่ที่ 17,300 รูเปียห์ (ราว 41 บาท) ต่อลิตร.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิด26แข้ง'ชบาแก้วU17' ชุดลุยชิงแชมป์เอเชีย รอบสุดท้ายที่อินโดนีเซีย

สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ประกาศรายชื่อ 26 นักฟุตบอลหญิงทีมชาติไทย รุ่นอายุไม่เกิน 17 ปี เข้าแคมป์เก็บตัวฝึกซ้อม เพื่อเตรียมพร้อมก่อนเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย รอบสุดท้าย (AFC U17 Women’s Asian Cup 2024 ) ระหว่างวันที่ 6-19 พฤษภาคม 2567 ที่ ประเทศอินโดนีเซีย ภายใต้การคุมทีมของ “โค้ชคิม” กฤษดา พวงมะลิ

เกิดเหตุประท้วงในเทลาวีฟ หลังจากทหารอิสราเอลพลั้งมือสังหารตัวประกัน

ผู้คนหลายร้อยคนในเทลาวีฟพากันลงเดินถนนเพื่อประท้วง หลังจากการเสียชีวิตของตัวประกันสามคน ซึ่งถูกทหารอิสราเอลสังหารโดยไม่ได้

นายกฯเซลล์แมน เมินเสียงท้วงรอบทิศ 'แลนด์บริดจ์' เข็นไปต่อเวทีอาเซียน

นายกฯเผยหารือ ผู้นำ 3 ชาติ  ฟุ้งอินโดฯ สั่งข้าวไทย 2 ล้านตัน เชื่อ และสนใจแลนด์บริดจ์ เห็นพ้อง เวียดนามจัดประชุม ครม.ร่วม พ.ค.67

เปิดขั้นตอนล่า 'เเป้ง นาโหนด' หากหนีไปอินโดฯ โฆษกอัยการยัน มีสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน รอตร.ชี้เป้า

กรณีปรากฎรายงานข่าว นายเชาวลิต ทองด้วง หรือ แป้ง นาโหนดหลบหนี จำเลยต้องโทษคำพิพากษาของศาลจังหวัดพัทลุง ที่หลบหนีการคุม