คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติจะลงคะแนนเสียงในมติคว่ำบาตรเกาหลีเหนือเพิ่มเติม หลังจากที่ผู้นำคิมสั่งยิงขีปนาวุธข้ามทวีปหลายครั้งในช่วงที่ผ่านมา

คิมจองอึน ผู้นำเกาหลีเหนือ ขณะแถลงในการประชุมที่สำนักงานใหญ่ของคณะกรรมการกลางของพรรคแรงงานเกาหลีในเปียงยาง เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม ถ่ายภาพและเผยแพร่โดยสำนักข่าวกลางเกาหลีเหนือ (เคซีเอ็นเอ) (Photo by KCNA VIA KNS / AFP)
เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม 2565 กล่าวว่า สหรัฐอเมริกาซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นประธานคณะมนตรีความมั่นคงตามวาระในเดือนพฤษภาคม ได้เรียกร้องให้มีการลงคะแนนเสียงในช่วงบ่ายของวันพฤหัสบดีในมติคว่ำบาตรเกาหลีเหนือ
เจ้าหน้าที่อาวุโสคนหนึ่งของสหรัฐฯ กล่าวว่า มติดังกล่าวจะเน้นไปที่การควบคุมการนำเข้าน้ำมันของเกาหลีเหนือ แต่มีความเป็นไปได้ที่รัสเซียและจีนอาจจะใช้อำนาจยับยั้ง พร้อมตั้งข้อสังเกตว่ามติคณะมนตรีความมั่นคง 2397 ซึ่งได้รับการรับรองอย่างเป็นเอกฉันท์ในปี 2560 กำหนดให้มีมาตรการเพิ่มเติมหากเกิดกรณีการยิงขีปนาวุธพิสัยไกลข้ามทวีปขึ้นมาอีกครั้ง
นักการฑูตรายหนึ่งซึ่งไม่ประสงค์ออกนามระบุว่า จีนอาจยินดีลงมติคว่ำบาตรครั้งใหม่หากเกาหลีเหนือทดสอบนิวเคลียร์ แต่คงไม่คิดว่าเป็นประเด็นอะไรหากเป็นแค่การยิงขีปนาวุธ
ด้านโฆษกของคณะผู้แทนจีนกล่าวกับเอเอฟพีว่า "จีนไม่คิดว่าข้อเรียกร้องที่สหรัฐฯ เสนอมา จะช่วยแก้ปัญหาใดๆ ได้ แม้จีนจะนำเสนอคำแนะนำบางอย่างไป แต่สหรัฐฯก็ทำเป็นหูทวนลม"
ร่างมติคว่ำบาตรที่สหรัฐฯ เสนอให้ลงคะแนนเสียงในวันพฤหัสบดี มีประเด็นหลักในการเรียกร้องให้ลดปริมาณน้ำมันที่เกาหลีเหนือนำเข้าได้ตามกฎหมายในแต่ละปีเพื่อวัตถุประสงค์ทางการบริโภคในภาคประชาชน จากที่เคยนำเข้าได้ 4 ล้านบาร์เรล ให้เหลือเพียง 3 ล้านบาร์เรล ต่อปี และให้ลดการนำเข้าปิโตรเลียมกลั่นจาก 500,000 บาร์เรล เหลือ 375,000 บาร์เรล รวมถึงคว่ำบาตรการส่งออกของเกาหลีเหนือในสินค้าประเภทนาฬิกา และแร่เชื้อเพลิง
สหรัฐฯ และเกาหลีใต้ระบุว่า เกาหลีเหนือยิงขีปนาวุธ 3 ลูก ซึ่งหนึ่งในนั้นอาจเป็นขีปนาวุธพิสัยไกลข้ามทวีป (ไอซีบีเอ็ม) หลังการเดินทางออกจากภูมิภาคเอเชียของประธานาธิบดีโจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ เพียงไม่กี่ชั่วโมง เมื่อวันพุธ
ทูตยูเอ็นคนหนึ่งซึ่งมีประเทศอยู่ในคณะมนตรีความมั่นคง ให้ข้อมูลกับเอเอฟพีโดยไม่เปิดเผยชื่อพร้อมยอมรับว่า การกระทำของเกาหลีเหนือเป็น "ภัยคุกคามอย่างใหญ่หลวง" และการตัดสินใจของสหรัฐฯ ที่จะผลักดันให้มีการลงคะแนนเสียงอย่างรวดเร็วอาจเป็นเหตุแห่งการแบ่งแยกของคณะมนตรีความมั่นคง หากการลงคะแนนครั้งนี้ล้มเหลว น่าจะเป็นข่าวดีของคิมจองอึน และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติคงจะสูญเสียโอกาสในการเพิ่มแรงกดดันไปยังเกาหลีเหนือ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ณัฐพงษ์' แนะรัฐบาลยึดหลักประชาธิปไตย ไม่เลือกข้างสหรัฐ-จีน เพิ่มอำนาจเจรจากำแพงภาษี
นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ สส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคประชาชน และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงบทบาทของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พยายามดึงอาเซียนร่วมเจรจา
ยุทธศาสตร์ภูมิภาคท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของระเบียบเศรษฐกิจโลก
ประเทศสหรัฐฯ เริ่มไม่สามารถแบกรับภาระของความเป็นผู้นำทางการเงินและความมั่นคงของโลก และเทคโนโลยีกำลังสั่นคลอนระบบเดิม อาเซียนกำลังจับมือกันเพื่อสร้างทางรอดและความมั่นคงในอนาคตทางเศรษฐกิจ การเงิน และเทคโนโลยี
อดีตบิ๊กข่าวกรอง เตือนสหรัฐดูแลคนอเมริกันต้องไม่เกินเลย จนกระทบความรู้สึกคนไทยที่จงรักภักดี
กรณีที่ ดร.พอล แชมเบอร์ส นักวิชาการสัญชาติอเมริกัน ประจำคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองพิษณุโลก ดำเนินคดีและขอศาลจังหวัดพิษณุโลกอนุมัติหมายจับในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ
'ดร.นิว' ถามดังๆ สหรัฐอยู่เบื้องหลัง 'พอล แชมเบอร์ส' หรือไม่
กรณี ดร.พอล แชมเบอร์ส นักวิชาการสัญชาติอเมริกัน ถูกดำเนินคดีในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ