มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 23 รายจากไฟป่าหลายร้อยจุดที่เกิดขึ้นท่ามกลางคลื่นความร้อนที่โหมกระหน่ำทางตอนใต้ของชิลี

ภาพไฟป่ากำลังลุกไหม้ในแคว้นอาเรากานีอา ประเทศชิลี เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ (Photo by JAVIER TORRES / AFP)
เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2566 กล่าวว่า เกิดไฟไหม้ป่ากว่า 251 จุดในชิลี สูญเสียพื้นที่ป่าหลักแสนเอเคอร์ รวมถึงชีวิตผู้คนอีก 23 ราย
คาโลไรนา โทฮา รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยชิลีกล่าวถึงเหตุที่เกิดขึ้นว่า รัฐบาลได้ประกาศขยายขอบเขตของภัยพิบัติให้ครอบคลุมพื้นที่ทางตอนใต้ของแคว้นอาเรากานีอา, นูเบิล และ บิโอบิโอ เพื่อรับมือกับไฟป่าเรียบร้อยแล้ว
ความเคลื่อนไหวดังกล่าวทำให้รัฐบาลระดมกำลังทหารเพิ่มมากขึ้นเพื่อช่วยต่อสู้กับไฟในขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตพุ่งขึ้นเรื่อยๆ
โทฮากล่าวว่า ยอดเสียชีวิตขณะนี้อยู่ที่ 23 ราย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 554 คน โดย 16 คนอาการสาหัส
อุณหภูมิความร้อนจากการเผาไหม้ที่พุ่งสูงถึง 40 องศาเซลเซียส เป็นอุปสรรคต่อความพยายามที่จะควบคุมเพลิง ซึ่งหลายพื้นที่โหมกระหน่ำจนควบคุมไม่ได้
มีรายงานว่าประเทศใกล้เคียงอย่างอาร์เจนตินา, บราซิล, อุรุกวัย รวมทั้งเม็กซิโกและสเปน ได้เสนอความช่วยเหลือที่จะส่งนักผจญเพลิงและอุปกรณ์มาช่วยดับไฟให้ชิลี
โดยรวมแล้วตอนนี้ เจ้าหน้าที่ดับเพลิงประมาณ 2,300 คนและเครื่องบิน 75 ลำถูกส่งไปประจำการในพื้นที่ภัยพิบัติ พร้อมรายงานการสูญเสียเจ้าหน้าที่ในปฏิบัติการช่วยเหลือไปแล้ว 3 ราย และบาดเจ็บอีกอย่างน้อย 8 คน
"ชิลีกำลังกลายเป็นหนึ่งในประเทศที่เสี่ยงต่อไฟป่ามากที่สุด โดยมีสาเหตุหลักมาจากวิวัฒนาการของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" โทฮากล่าว และเสริมว่า "สภาพไฟที่ดูเหมือนจะรุนแรงเมื่อ 3 ปีที่แล้ว กลายเป็นเรื่องธรรมดามากขึ้นในปีนี้ ทั้งหมดเกิดจากคลื่นความร้อนเป็นเหตุ".
เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2566 กล่าวว่า เกิดไฟไหม้ป่ากว่า 251 จุดในชิลี สูญเสียพื้นที่ป่าหลักแสนเอเคอร์ รวมถึงชีวิตผู้คนอีก 23 ราย
คาโลไรนา โทฮา รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยชิลีกล่าวถึงเหตุที่เกิดขึ้นว่า รัฐบาลได้ประกาศขยายขอบเขตของภัยพิบัติให้ครอบคลุมพื้นที่ทางตอนใต้ของแคว้นอาเรากานีอา, นูเบิล และ บิโอบิโอ เพื่อรับมือกับไฟป่าเรียบร้อยแล้ว
ความเคลื่อนไหวดังกล่าวทำให้รัฐบาลระดมกำลังทหารเพิ่มมากขึ้นเพื่อช่วยต่อสู้กับไฟในขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตพุ่งขึ้นเรื่อยๆ
โทฮากล่าวว่า ยอดเสียชีวิตขณะนี้อยู่ที่ 23 ราย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 554 คน โดย 16 คนอาการสาหัส
อุณหภูมิความร้อนจากการเผาไหม้ที่พุ่งสูงถึง 40 องศาเซลเซียส เป็นอุปสรรคต่อความพยายามที่จะควบคุมเพลิง ซึ่งหลายพื้นที่โหมกระหน่ำจนควบคุมไม่ได้
มีรายงานว่าประเทศใกล้เคียงอย่างอาร์เจนตินา, บราซิล, อุรุกวัย รวมทั้งเม็กซิโกและสเปน ได้เสนอความช่วยเหลือที่จะส่งนักผจญเพลิงและอุปกรณ์มาช่วยดับไฟให้ชิลี
โดยรวมแล้วตอนนี้ เจ้าหน้าที่ดับเพลิงประมาณ 2,300 คนและเครื่องบิน 75 ลำถูกส่งไปประจำการในพื้นที่ภัยพิบัติ พร้อมรายงานการสูญเสียเจ้าหน้าที่ในปฏิบัติการช่วยเหลือไปแล้ว 3 ราย และบาดเจ็บอีกอย่างน้อย 8 คน
"ชิลีกำลังกลายเป็นหนึ่งในประเทศที่เสี่ยงต่อไฟป่ามากที่สุด โดยมีสาเหตุหลักมาจากวิวัฒนาการของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" โทฮากล่าว และเสริมว่า "สภาพไฟที่ดูเหมือนจะรุนแรงเมื่อ 3 ปีที่แล้ว กลายเป็นเรื่องธรรมดามากขึ้นในปีนี้ ทั้งหมดเกิดจากคลื่นความร้อนเป็นเหตุ".
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'วราวุธ' เผยไฟป่านครนายก ไม่พบฮอตสปอตแล้ว
นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้ากรณีดับไฟป่าในพื้นที่ จ.นครนายก ว่า สำหรับรายงานความคืบหน้าเมื่อเวลา 10.30 น. ของ
อาตากามา – ทะเลทรายแห่งขยะทั่วโลกของชิลี
ทะเลทรายอาตากามา (Atacama) ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศชิลี มีพื้นที่ประมาณ 180,000 ตารางกิโลเมตร และมีความสูง 610 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล
นายกฯ หารือทูตชิลี สานต่อความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน พหุภาคี
นายอเล็กซ์ ไกเกอร์ ซอฟเฟีย เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐชิลีประจำประเทศไทย เข้าเยี่ยมคารวะ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในโอกาสเข้ารับหน้าที่ โดยภายหลังเสร็จสิ้นการหารือ นายธนกร วังบุญคงชนะ