เรือนจำพิเศษสำหรับ 'แก๊งสเตอร์' ในเอลซัลวาดอร์

ประธานาธิบดีของเอลซัลวาดอร์เป็นผู้นำในการต่อต้าน-กวาดล้างกลุ่มอาชญากรอย่างไม่ลดละมาเป็นเวลาหนึ่งปีแล้ว นับแต่นั้นมามีผู้ถูกจับกุมมากกว่า 60,000 คน ตอนนี้นักโทษกลุ่มแรกถูกย้ายไปยังเรือนจำพิเศษแห่งใหม่

ประธานาธิบดีนายิบ บูเคเล ของเอลซัลวาดอร์ชื่นชอบโปรเจ็กต์ขนาดใหญ่และการแสดงอำนาจบาตรใหญ่ เมื่อปีที่แล้วเขาเคยนำเสนอแผนการผลักดันเอลซัลวาดอร์ให้เป็นเมืองบิตคอยน์แห่งแรกของโลก โดยเปิดโอกาสให้บริษัทคริปโตสามารถเข้าไปดำเนินกิจการและขุดบิตคอยน์ได้อย่างเสรี และปลอดภาษี แต่แผนการตลาดคริปโตถูกระงับไปเสียก่อน จากนั้นประธานาธิบดีวัย 41 ปีก็ค้นพบความเร้าใจใหม่ นั่นคือการสู้รบกับกลุ่มอาชญากร จนนำไปสู่การเปิดเรือนจำขนาดใหญ่สำหรับผู้ต้องขังกว่า 40,000 คน ซึ่งนับต่อจากนี้ไปสมาชิกของแก๊งอาชญากรที่มีชื่อเรียกว่า “มาราส” จะถูกนำไปคุมขังในเรือนจำแห่งใหม่นี้

เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา บูเคเลได้เผยแพร่วิดีโอความยาวครึ่งชั่วโมง เป็นภาพของเรือนจำพิเศษ แสดงให้เห็นห้องขังส่วนกลาง หอสังเกตการณ์ จุดตรวจรักษาความปลอดภัย และห้องขังเดี่ยว โอซิริส ลูนา เมซา-รัฐมนตรีช่วยกระทรวงยุติธรรมและความมั่นคงสาธารณะ กล่าวให้ความมั่นใจว่า นักโทษที่นี่จะไม่เห็นแม้แต่แสงสว่าง และบูเคเลยังรับรองด้วยว่า นักโทษอันธพาลจะต้องอยู่ภายในเรือนจำแห่งนี้หลายสิบปี เรือนจำที่ได้รับการออกแบบสร้างขึ้น “ตามมาตรฐานโลกที่หนึ่ง” ระหว่างนี้มีนักโทษถูกส่งเข้าไปในเรือนจำพิเศษล็อตแรก 2,000 คนแล้ว

ในวิดีโอที่รัฐบาลจัดทำขึ้นนั้น ยังเผยให้เห็นนักโทษสวมกางเกงบ็อกเซอร์สีขาวเดินในท่าโน้มตัวเข้าไปในอาคารเรือนจำ มือและเท้าของพวกเขาถูกล่ามด้วยตรวน ทุกคนโกนศีรษะเกลี้ยงเกลา ส่วนใหญ่มีรอยสักตามเนื้อตัว ซึ่งเป็นจุดเด่นของแก๊ง เช่น MS-13 หรือ Barrio-18 ที่หาเลี้ยงชีพด้วยการค้ายาเสพติด การลักพาตัวเรียกค่าไถ่ และการฉ้อโกง เป็นเวลาหลายทศวรรษมาแล้วที่แก๊งเหล่านี้ก่ออาชญากรรมในพื้นที่สามเหลี่ยมตอนเหนือ ในดินแดนของเอลซัลวาดอร์, ฮอนดูรัส และกัวเตมาลา รวมถึงบางส่วนของเม็กซิโก และสหรัฐอเมริกา

ในปี 2019 นายิบ บูเคเลได้เสนอแผนหลายขั้นตอนเพื่อปราบปรามกลุ่มอาชญากร ตอนนี้อยู่ในเฟสที่ 5 ซึ่งมีการจับกุมเป็นจำนวนมาก เหตุเพราะกลุ่มอาชญากรได้ก่อเหตุฆาตกรรมต่อเนื่องทั่วประเทศเมื่อเดือนมีนาคมปีที่แล้ว บูเคเลจึงประกาศภาวะฉุกเฉิน สั่งให้ทหารปิดล้อมเมืองทั้งเมือง และจับกุมผู้ต้องสงสัยเป็นอาชญากรได้ราว 62,000 คน บูเคเลโอ้อวดว่าการปราบปรามแก๊งอันธพาลทำให้เอลซัลวาดอร์ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นประเทศที่อันตรายที่สุดในโลก กลับมาเป็นประเทศที่ปลอดภัยที่สุดในอเมริกาใต้ คดีฆาตกรรมที่เคยสูงถึง 6,000 คดีในปี 2015 ตอนนี้ลดลงเหลือเพียง 500 คดี

อย่างไรก็ตาม สถิติคดีฆาตกรรมเริ่มลดลงตั้งแต่ปี 2016 ประมาณสามปีก่อนที่บูเคเลจะเข้ารับตำแหน่ง องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนพากันประณามสถานการณ์ฉุกเฉินที่รัฐประกาศใช้ยืดเยื้อซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่าเป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน อีกทั้งผู้ที่ถูกจับกุมส่วนใหญ่ไม่มีสิทธิ์ได้รับการพิจารณาคดีอย่างยุติธรรม หรือบ่อยครั้งก็มีผู้บริสุทธิ์ถูกจับกุมตัวไปด้วย การจับกุมแบบเหวี่ยงแหทำให้จำนวนผู้ต้องขังทั่วประเทศเพิ่มขึ้นจากเดิมเกือบสามเท่า จากประมาณ 36,000 คนเป็น 100,000 คนแล้วในเวลานี้ ทำให้เอลซัลวาดอร์ ประเทศซึ่งมีประชากรเพียง 6.5 ล้านคน กลายเป็นประเทศที่มีผู้ต้องขังต่อหัวมากที่สุดในโลก

นั่นเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้นายิบ บูเคเลคิดอยากสร้างเรือนจำพิเศษใหม่บนพื้นที่ 1.65 ตารางกิโลเมตรนอกเมืองเตโกลูกา โดยใช้เวลาก่อสร้างเพียง 7 เดือน เรือนจำพิเศษล้อมรอบด้วยกำแพงสูง 11 เมตร และมีหอสังเกตการณ์ 19 หลัง เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย 850 นายคอยเฝ้านักโทษ นักวิจารณ์เคยชี้ให้เห็นว่า โปรเจ็กต์สร้างเรือนจำใหม่ของบูเคเลไม่ต่างอะไรกับโปรเจ็กต์บิตคอยน์ ที่ปราศจากความโปร่งใสในการประกวดราคาและการดำเนินการก่อสร้าง

เขาเป็นผู้นำประเทศในลักษณะเผด็จการมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากอาชญากรรมและความรุนแรงมานานหลายทศวรรษยังชื่นชอบและให้สนับสนุนบูเคเลอยู่ คะแนนความนิยมของเขายังสูงถึง 80-90 เปอร์เซ็นต์

Handout picture released by the Press Secretary of the Presidency of El Salvador showing police officers escorting inmates belonging to the MS-13 and 18 gangs on their arrival to the new prison “Terrorist Confinement Centre” (CECOT), in Tecoluca, 74 km southeast of San Salvador, on February 24, 2023. – The first 2,000 gang members were transferred from the Izalco prison to “America’s largest” mega-prison, equipped with high-tech surveillance and designed to house 40,000 criminals, Salvadorean President Nayib Bukele, who is waging a “war” against these groups, announced on February 24. (Photo by – / Salvadorean Presidency / AFP) / RESTRICTED TO EDITORIAL USE – MANDATORY CREDIT “AFP PHOTO / SALVADOREAN PRESIDENCY” – NO MARKETING – NO ADVERTISING CAMPAIGNS – DISTRIBUTED AS A SERVICE TO CLIENTS – RESTRICTED TO EDITORIAL USE – MANDATORY CREDIT “AFP PHOTO / SALVADOREAN PRESIDENCY” – NO MARKETING – NO ADVERTISING CAMPAIGNS – DISTRIBUTED AS A SERVICE TO CLIENTS /

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สกัดจับยาบ้าล็อตใหญ่ ชายแดนภาคเหนือ

พล.อ.นฤทธิ์ ถาวรวงษ์ ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติด สารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์ ชายแดนภาคเหนือ หรือ นบ.ยส.35 เปิดเผยว่า ได้รับรายงานการสกัดกั้นยาเสพติด

'นิด้าโพล' ชี้ คนไทย ไม่เห็นด้วยนโยบาย ยาบ้า 5 เม็ด

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “ยาบ้า 5 เม็ด กับผู้เสพ คือ ผู้ป่วย” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 18-20 มีนาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้

'อนุทิน' จ่อถอดเทป 'เศรษฐา' จ้อสื่อนอก ลั่น 'กัญชาเสรี' อยู่ในนโยบายรัฐบาล

'อนุทิน' ยัน 'กัญชา' มีประโยชน์ทางการแพทย์-เศรษฐกิจ บรรจุในนโยบายรัฐบาลแล้ว หลังนายกฯ ระบุจะนำกลับบัญชียาเสพติด ชี้หากเปลี่ยนแปลงต้องแก้กฎหมายหลายตัว เยียวยาผู้ทำถูกต้อง

สืบฯ บุกจับ 'เจ๊เก่ง' รอง ผอ.โรงเรียนดัง ลวงหมอหนุ่มเสพยา มั่วเซ็กซ์ ถลุงเงินจนหมดตัว

พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผบช.น. , พล.ต.ต.นพศิลป์ พูลสวัสดิ์ รอง ผบช.น., พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก.สส.บช.น. / หัวหน้าชุด ศอ.ปส.ตร. พ.ต.อ.จักราวุธ คล้ายนิล ผกก.วิเคราะห์ข่าวฯ บก.สส.บช.น., พ.ต.อ.พัชรดนัย การินทร์ ผกก.(สอบสวน) กลุ่มงานสอบสวน บก.สส.บช.น. , พ.ต.ท.เอกศิษฐ์ วรกิตติ์ฐากรณ์ รอง ผกก.1 บก