แผ่นดินไหวอัฟกัน-ปากีสถานตาย13ราย

แผ่นดินไหวความรุนแรงขนาด 6.5 ในอัฟกานิสถานและปากีสถานเมื่อคืนวันอังคาร ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 13 ราย แรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวครั้งนี้รู้สึกถึงกรุงนิวเดลี

              สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า เมื่อวันพุธที่ 22 มีนาคม 2566 สำนักสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐระบุว่า เกิดแผ่นดินไหวความรุนแรงขนาด 6.5 เมื่อเวลาราว 21.30 น. วันอังคารตามเวลาในกรุงคาบูล อัฟกานิสถาน หรือ 00.00 น. วันพุธตามเวลาประเทศไทย ในอัฟกานิสถานและปากีสถาน

              ศูนย์กลางแผ่นดินไหวครั้งนี้ใกล้กับหมู่บ้านจูร์มทางตะวันออกเฉียงเหนือของอัฟกานิสถาน แผ่นดินไหวเกิดที่ความลึก 187 กิโลเมตร ทำให้ไม่เกิดความเสียหายในวงกว้าง แผ่นดินไหวเกิดขึ้นกินเวลากว่า 30 วินาที แรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวรู้สึกได้ทั่วภูมิภาคเอเชียกลางไปจนถึงกรุงนิวเดลีของอินเดียที่ห่างออกไปมากกว่า 2,000 กิโลเมตร

              บิลาล ฟาซี โฆษกสายฉุกเฉิน 1122 หน่วยกู้ภัยจังหวัดไคเบอร์ปักตุนควาของปากีสถานเผยว่า ประชาชนตื่นกลัวกับความรุนแรงของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น แต่ความเสียหายน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้

              ภูมิภาคนี้เคยเกิดแผ่นดินไหวบ่อยครั้ง โดยเฉพาะบริเวณเทือกเขาฮินดูกูช ซึ่งอยู่ใกล้กับรอยแยกของแผ่นเปลือกโลกยูเรเชียและอินเดีย

              เจ้าหน้าที่จังหวัดไคเบอร์ปักตุนควาทางตะวันออกเฉียงเหนือของปากีสถานเผยว่า แผ่นดินไหวครั้งนี้มีผู้เสียชีวิต 9 คน ในจำนวนผู้เสียชีวิตเป็นผู้หญิง 2 คน และเด็ก 2 คน

              ในอัฟกานิสถาน เจ้าหน้าที่รายงานว่า แผ่นดินไหวทำให้มีผู้เสียชีวิต 4 ราย และบาดเจ็บ 74 คน และทำให้โทรศัพท์และอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมต่อไปยังพื้นที่ห่างไกลของประเทศถูกตัดขาดและส่งผลให้การติดต่อสื่อสารขาดๆ หายๆ

              อินามุลเลาะห์ ชาวบ้านในหมู่บ้านจูร์มของอัฟกานิสถานที่อยู่ใกล้กับศูนย์กลางแผ่นดินไหวให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ว่า ไม่มีชาวบ้านได้รับบาดเจ็บจากแผ่นดินไหว หมู่บ้านของเรามีประชากรราว 2,000-3,000 คน ทุกคนออกมาอยู่นอกบ้านทั้งคืน พวกเราหวาดกลัวและตื่นเฝ้าระวังตลอดทั้งคืน.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรมอุตุฯ เตือนฉบับที่ 2 อากาศแปรปรวน 19-21 ต.ค. เปิดพื้นที่ฝนตกหนัก ระวังน้ำท่วมฉับพลัน

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทย ฉบับที่ 2 (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 19 - 21 ตุลาคม 2567)

'ดร.ธรณ์' ดึงสติ ไม่ต้องตื่นตระหนกพายุลูกใหญ่ถล่ม หากมาจริงจะแจ้งล่วงหน้า

ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า

'นักวิชาการ' เผยระบบเตือนภัย J-Alert - L-Alert สุดยอดของญี่ปุ่นในการเตือนภัยเข้าถึงทุกที่

ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊กเกี่ยวกับระบบเตือนภัย ว่า

นายกฯ ห่วงคนไทยในญี่ปุ่น ขอให้ติดตามประกาศแจ้งเตือนแผ่นดินไหวอย่างต่อเนื่อง

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เตือนชาวไทยที่อยู่ในพื้นที่ประเทศญี่ปุ่นให้ติดตามสถานการณ์ต่อกรณีที่เกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.3 ริกเตอร์ ที่กรุงโตเกียวและพื้นที่โดยรอบ