13 ก.ย.2567- ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์เฟซบุ๊กเกี่ยวกับระบบเตือนภัย ว่าระบบเตือนภัย J-Alert และ L-Alert สุดยอดของญี่ปุ่นในการเตือนภัยเข้าถึงทุกที่
1. ระบบเตือนภัย J-Alert หรือ Japan's Emergency Warning System นำมาใช้เพื่อแจ้งเตือนประชาชนถึงเหตุฉุกเฉินและภัยพิบัติ เช่น แผ่นดินไหว สึนามิ พายุ น้ำท่วม ภูเขาไฟระเบิด สภาพอากาศที่รุนแรง ประเทศอาจถูกคุกคาม แจ้งข่าวฉุกเฉิน เป็นต้น เป็นการแจ้งเตือนในทุกช่องทางทั้งทางโทรทัศน์ วิทยุ ลำโพงกระจายเสียงในท้องถิ่น เว็บไซต์ อีเมลรวมทั้งการแจ้งเตือนไปยังโทรศัพท์มือถือผ่านระบบ Cell Broadcast
ระดับการแจ้งเตือนในระบบ J-Alert จะแบ่งออกเป็น 3 ระดับตามความเร่งด่วน ดังนี้
- ระดับ 1 สัญญาณสีเหลือง คือการเตือนให้ระวัง แนะนำให้ผู้ป่วยและผู้สูงอายุ ตลอดจนผู้ที่อาศัยอยู่ตามแนวชายฝั่งเตรียมอพยพ
- ระดับที่ 2 สัญญาณสีแดง คือการเตือนภัยอันตราย แนะนำให้ผู้ที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงอพยพโดยด่วน
- ระดับที่ 3 สัญญาณเตือนสีม่วง คือกำลังเกิดภัยพิบัติร้ายแรงขึ้นแล้วหรืออาจกำลังจะเกิด ทุกคนต้องทำทุกวิถีทางเพื่อรักษาชีวิต โดยไม่ต้องรอคำสั่งจากทางการเพิ่มเติม...
ระบบนี้สามาถกระจายการแจ้งเตือนถึงทุกคนอย่างรวดเร็วโดยใช้ระบบการแจ้งเตือน Cell Broadcast ซึ่งจะแจ้งเตือนไปยังโทร ศัพท์มือถืออย่างรวดเร็วมากในเวลาไม่กี่วินาที โดยไม่ต้องใช้เบอร์โทรศัพท์เป็น การส่งข้อมูลโดยตรงจากเสาสัญญาณไปสู่โทรศัพท์มือถือทุกเครื่องในพื้นที่แบบรวดเดียวและเจาะจงพื้นที่ได้ซึ่งไม่กระทบการใช้งานโทรศัพท์โดยไม่ต้องโหลดแอป พลิเคชัน โดยเป็นการแจ้งเตือนแบบความไวแสงผ่านดาวเทียมหรือเครือข่ายสำรองภาคพื้นดินไปยังอุปกรณ์รับ J-Alert เพื่อทำการส่งสัญญาณไปยังพื้นที่ต่าง ๆ โดยใช้เวลาไม่กี่วินาทีเท่านั้น ทำให้ประชาชนเตรียมรับมือหรือป้องกันตนเองได้อย่างรวดเร็ว
2.ระบบแจ้งเตือน L-Alert โดยศูนย์กลางข้อมูลของท้องถิ่นจะส่งข้อมูลเพื่อแนะนำแนวทางในการป้องกันหรือแก้ไขเมื่อต้องเผชิญเหตุภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉิน โดยจะเน้นให้ข้อมูลเฉพาะเจาะจงของพื้นที่หรือท้องถิ่น ซึ่งแต่ละท้องถิ่นหรือพื้นที่จะได้รับ คำแนะนำที่ไม่เหมือนกัน เช่นที่ตั้งของศูนย์ช่วยเหลือในชุมชน เส้นทางปลอดภัยของการอพยพในพื้นที่ เส้นทางที่ถูกตัดขาด ข้อมูลไฟฟ้าดับ ข้อมูลสัญญาณโทรศัพท์ล่มรวมทั้งให้คำแนะนำต่างๆ เป็นต้น โดยที่ศูนย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะทำหน้าที่ในการรับข้อมูลและรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานทุกภาคส่วนแล้วทำการแจ้งแก่ประชาชนในพื้นที่ผ่านช่องทางการกระจายเสียงของท้องถิ่นทั้ง อินเทอร์เน็ต วิทยุท้องถิ่น เว็บไซต์ท้องถิ่นรวมทั้งต้องส่งข้อความแจ้งเตือนผ่านโทรศัพท์มือถือไปถึงทุกคนในพื้นที่ประสบภัยด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'กมธ.งบฯ สว.' จัดทำข้อเสนอปรับเพิ่มเงินเยียวยาแผ่นดินไหว ชี้จ่ายไม่ตรงความเสียหาย
นายอลงกต วรกี สว. ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ติดตามการบริหารงบประมาณ วุฒิสภา กล่าวภายหลังการประชุมกรณีการจ่ายเงินเยียวยาบ้านพักอาศัยหรือคอนโดมิเนียมที่ได้รับความเสียหาย
สว. ถกเกณฑ์เยียวยาแผ่นดินไหว พบ กทม.จ่ายเงินซ่อมบ้านพักอาศัย 70-300 บาท
กมธ.ติดตามงบฯ สว. ถกเกณฑ์เยียวยา-ชดเชย แผ่นดินไหว แนะ ปชช.ไม่พอใจ ยื่นอุทธรณ์ได้ หลังพบจ่ายเยียวยา 70-300 บาท แปลกใจ “ปธ.กมธ.”แจงแทนหน่วยงานที่เชิญมา เหตุรู้ระเบียบ แถมการันตีให้ กทม. ไม่ทำอะไรพลการ-ยึดตามระเบียบทั้งหมด
แผ่นดินไหวเขย่า 'แม่ฮ่องสอน-เชียงใหม่' รวม 4 ครั้ง
องเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานว่า เมื่อเวลา 02:07 น. เกิดแผ่นดินไหว ขนาด 2.7 ในพื้นที่ตำบลแม่นาเติง อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ต่อมาเวลา 07.39 เกิดแผ่นดินไหว ขนาด 1.7
สภา เรียก 4 หน่วยงาน แจงเงินช่วยเหลือแผ่นดินไหวซ่อมแซมบ้านร้าวน้อยเกินจริง
กรณีมีเสียงวิจารณ์เงินช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหวกรณีซ่อมแซมบ้านเรือนหรืออาคารชุดมีจำนวนน้อย
พยากรณ์ 15 วันล่วงหน้า ร้อนจัดพระอาทิตย์ตั้งฉาก ปลายเดือนเจอพายุฤดูร้อน
กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. : (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น. วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.) 15 วันล่วงหน้า ระหว่าง 21 เม.ย. - 5 พ.ค. 68
อุตุฯ เตือน 32 จังหวัด ฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง เหนือร้อนจัด 40 องศา
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไป และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง