
เยาวชนจากโปรตุเกสและผู้สูงวัยจากสวิตเซอร์แลนด์พากันฟ้องร้องให้มีการปกป้องสภาพภูมิอากาศเพิ่มขึ้น เรื่องนี้ศาลเพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปจะเป็นผู้ตัดสิน
ศาลเพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรป (ECHR) ได้สรุปคดีฟ้องร้องเรื่องสภาพภูมิอากาศและต้องตัดสินหลายคดี นับเป็นครั้งแรกที่ศาลให้ความสำคัญกับคำถามที่ว่า ความบกพร่องด้านการปกป้องสภาพภูมิอากาศยังหมายถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้วยหรือไม่ คำตัดสินของศาลอาจส่งสัญญาณที่ครอบคลุมมากขึ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสามคดีซึ่งมีการพิจารณาในสตราสบูร์กเมื่อปีที่แล้ว ในจำนวนนั้นมีคดีที่กลุ่มสตรีอาวุโสจากสวิตเซอร์แลนด์ได้ฟ้องร้อง พวกเธอมองว่าเป็นสิทธิในการมีชีวิต สิทธิในชีวิตส่วนตัวและครอบครัวที่ถูกละเมิดโดยนโยบายปกป้องสภาพภูมิอากาศของประเทศของตน สวิตเซอร์แลนด์อาจไม่ได้ดำเนินการเพียงพอที่จะควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สร้างความเสียหายต่อสภาพภูมิอากาศ กลุ่มสตรีอาวุโสจึงเรียกร้องให้ตุลาการอิสระทบทวนนโยบายของรัฐ
กลุ่มอาวุโสโต้แย้งว่าได้รับผลกระทบโดยตรงจากนโยบายของรัฐ คลื่นความร้อนที่ถี่ขึ้นนั้นส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้หญิงสูงวัยเป็นพิเศษ ก่อนหน้านี้กลุ่มดังกล่าวเคยฟ้องร้องต่อศาลสวิส แต่ไม่ประสบความสำเร็จ
เยาวชนชาวโปรตุเกส 6 คนซึ่งมีอายุระหว่าง 11-24 ปีก็ไปเคลื่อนไหวที่สตราสบูร์กด้วยเช่นกัน การฟ้องร้องของพวกเขามุ่งเป้าไปที่ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปทั้งหมด รวมถึงนอร์เวย์ รัสเซีย สวิตเซอร์แลนด์ ตุรเกีย และสหราชอาณาจักร ต้นเหตุของการฟ้องร้องคือเหตุการณ์ไฟป่าที่รุนแรงในโปรตุเกสเมื่อปี 2017
พวกเขาโต้แย้งว่า การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศกำลังส่งผลเสียต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตของพวกเขา อีกทั้งยังส่งผลให้สิทธิมนุษยชนของพวกเขาถูกละเมิดด้วย
ผู้ฟ้องร้องทั้งสองกลุ่มได้รับการสนับสนุนจากองค์กรที่มีชื่อเสียง รวมถึงกรีนพีซ และเครือข่ายปฏิบัติการทางกฎหมายระดับโลก ในการพิจารณาคดี ศาลเพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปกำลังสร้างแนวทางใหม่ และเผชิญกับคำถามที่ว่า มีสิทธิมนุษยชนในการปกป้องสภาพภูมิอากาศหรือไม่ หากศาลตอบคำถามดังกล่าวด้วยการตอบรับ คำตัดสินของศาลจะถือเป็นแนวทางพื้นฐาน
อย่างไรก็ตามผลของการพิจารณาคดียังเปิดอยู่ มีอุปสรรคทางกฎหมายหลายประการที่อาจทำให้การยื่นอุทธรณ์ล้มเหลว หากว่าศาลไม่ได้ตัดสินในเรื่องนี้ ตัวอย่างเช่น ในกรณีของการฟ้องร้องเรื่องสภาพภูมิอากาศของโปรตุเกส ปัญหาคือมีการยื่นฟ้องต่อศาลเพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปโดยตรง โดยไม่ได้ส่งศาลระดับชาติล่วงหน้า ดังที่สันนิษฐานกันโดยทั่วไป
คดีทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับนโยบายสภาพภูมิอากาศได้เพิ่มขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา คำตัดสินของศาลแขวงในกรุงเฮกเมื่อเดือนมิถุนายน 2015 มีผลให้รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในเดือนพฤษภาคม 2021 ศาลเนเธอร์แลนด์สั่งให้เชลล์-บริษัทน้ำมันรายใหญ่ที่สุดในยุโรป-ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง คำตัดสินที่คล้ายกันนี้ก็มีในเบลเยียมเหมือนกันในเวลานี้
เมื่อวันอังคาร ศาลเพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปที่สตราสบูร์กได้อ่านคำตัดสินให้กลุ่มสตรีอาวุโสจากสวิตเซอร์แลนด์ชนะคดีสภาพภูมิอากาศ ส่วนอีกสองคดีที่ฟ้องร้องโดยเยาวชนชาวโปรตุเกส 6 คน และอดีตนายกเทศมนตรีฝรั่งเศสคนหนึ่ง ศาลได้ยกฟ้อง.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'นางแบก' ฟาด 'เกรียนคีย์บอร์ด' ทนเห็นหน้านายกฯไม่ได้ เป็นวิธีคิดคล้ายพวก 'ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์'
นางสาวลักขณา ปันวิชัย หรือ คำ ผกา หรือ แขก ผู้ดำเนิน รายการคุยคลายข่าว ออกอากาศผ่านสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT) กรมประชาสัมพันธ์ และเป็นผู้สนับสนุนพรรคเพื่อไทย ได้แชร์โพสต์ดังกล่าว และโพสต์ข้อความตอบโต้ ว่า
นายกฯ สั่งโชว์ความจริงสิทธิมนุษยชนไทยให้โลกเห็นในการไปดูชีวิตชาวอุยกูร์
'จิรายุ' เผย 'ภูมิธรรม' ยกคณะบินเยี่ยมอุยกูร์แล้ว นายกฯกำชับสื่อสารความจริงด้านสิทธิมนุษยชน ของไทยให้นานาประเทศเห็น
'ภูมิธรรม' ไม่เห็นชื่อจนท.รัฐบาลไทย ถูกสหรัฐระงับวีซ่า เผยไปจีนพบผู้นำอิสลามด้วย
นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวถึงรายชื่อเจ้าหน้าที่ที่ทางสหรัฐอเมริกาจะงดออกวีซ่า จากกรณีประเทศไทยส่งกลับชาวอุยกูร์ไปยังประเทศจีนว่า ตนยังไม่เห็นเลย เห็นแค่คำแถล
'สภายุโรป' ประณาม 'ไทย' เขย่า FTA นักวิชาการมธ. ชี้น่ากังวลมาก ยกเคส 'ยึดอำนาจ' ทำเจรจาการค้าสะดุด
นักวิชาการธรรมศาสตร์ ชี้ “รัฐสภายุโรป” ประณาม “ไทย” กรณีการส่งตัวอุยกูร์กลับจีน มีความน่ากังวลอย่างมาก เหตุ EU ยึดสิทธิมนุษยชน-ประชาธิปไตย เป็นหลักการเจรจาทางการค้า ยกเคสปี 57 การทำกรอบความตกลง PCA เคยสะดุดจากรัฐประหาร ชี้บรรยากาศพูดคุยที่ดีกับกรรมาธิการยุโรปด้านการค้า อาจไม่เพียงพอสำหรับบรรลุ FTA เพราะรัฐสภายุโรปมีสิทธิในการตัดสินใจด้วย
'ทักษิณ' ชี้สหรัฐฯไม่อัปเดตข้อมูล ประณามไทยส่งอุยกูร์กลับจีน ไม่ใช่เรื่องใหญ่อย่าตกใจ
นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กรณีสหรัฐอเมริกาจ่องดออกวีซ่าเจ้าหน้าที่ไทย ตอบโต้ผู้เกี่ยวข้องส่งชาวอุยกูร์กลับจีน ว่า เรื่องนี้เกิดจากสหรัฐฯ ไม่มีข้อมูลที่อัพเ
'ทวี' ยันส่งอุยกูร์กลับจีน ตัดสินใจถูกต้องยึดประโยชน์ประชาชน เมินโต้ต่างชาติประณาม
พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีสภายุโรปลงมติประณามไทยส่งกลับอุยกูร์กลับว่า ขอให้รอฟังกระทรวงต่างประเทศชี้แจง ทั้งนี้ประเทศไทยเรามีเอกราชและอธิปไตย