อาเซียนจับมือลดอุปสรรคการค้าฟื้นฟูท่องเที่ยว โชว์ 8 เดือนค้าขายโต 16.25%

คณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เผยผลสำเร็จการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ ทั้งการลดอุปสรรคทางการค้า แผนฟื้นฟูการท่องเที่ยว การอำนวยความสะดวกด้านการลงทุน และแผนงาน E-Commerce

23 ต.ค. 2564 นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯ ได้รับมอบหมายจากนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ให้เข้าร่วมการประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Council) ครั้งที่ 20 เพื่อเตรียมการสำหรับการประชุมผู้นำอาเซียน (ASEAN Summit) ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 26–28 ต.ค.2564 โดยที่ประชุมได้รับทราบความสำเร็จการดำเนินงานของอาเซียนในปีนี้ โดยเฉพาะประเด็นเศรษฐกิจ ซึ่งบรูไนดารุสซาลามในฐานะประธานอาเซียนผลักดัน การรับรองเอกสารสำคัญ และการพิจารณาร่างแถลงการณ์ของผู้นำอาเซียนว่าด้วยการยกระดับการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัลของอาเซียน

สำหรับประเด็นด้านเศรษฐกิจที่ผลักดันได้สำเร็จ ได้แก่ 1.การจัดทำเครื่องมือประเมินต้นทุนและประสิทธิภาพการใช้มาตรการที่มิใช่ภาษี (NTM Toolkit) เพื่อลดอุปสรรคต่อการค้าในภูมิภาค 2.การจัดทำแผนฟื้นฟูการท่องเที่ยวอาเซียนหลังสถานการณ์โควิด-19 เพื่อช่วยฟื้นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของภูมิภาคให้ยั่งยืน 3.การจัดทำกรอบการอำนวยความสะดวกด้านการลงทุนของอาเซียน เพื่อส่งเสริมบรรยากาศการลงทุนในภูมิภาค และ 4.การจัดทำแผนดำเนินงานตามความตกลงพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน เช่น การคุ้มครองผู้บริโภคออนไลน์ การชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ การบริหารจัดการของข้อมูล และป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ เป็นต้น
ทั้งนี้ อาเซียนยังได้ติดตามการดำเนินงานตามแผนงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนระยะกลาง เพื่อให้อาเซียนสามารถเดินตามพิมพ์เขียวประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนปี 2568 ได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย

ส่วนการรับรองเอกสารสำคัญ ได้ให้ความเห็นชอบกรอบการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Circular Economy) เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนของภูมิภาค แผนงานสู่ความเป็นดิจิทัลของอาเซียน (แผนงานบันดาร์เสรีเบกาวัน) เพื่อขับเคลื่อนอาเซียนให้เป็นเศรษฐกิจดิจิทัล แผนยุทธศาสตร์อาเซียนในการรับมือกับการปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 (4IR) และกรอบความร่วมมืออาเซียนด้านการสร้างความเข้มแข็งวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (MSMEs) ซึ่งจะมีการนำเสนอที่ประชุมสุดยอดอาเซียนต่อไป นอกจากนี้ รัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจอาเซียนยังได้ประชุมร่วมกับรัฐมนตรีด้านดิจิทัลอาเซียนเป็นครั้งแรก โดยได้ร่วมกันพิจารณาและเห็นชอบร่างแถลงการณ์ของผู้นำอาเซียนว่าด้วยการยกระดับการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัลของอาเซียน ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญในการจัดทำวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนหลังปี 2568 เพื่อกำหนดเป้าหมายให้สอดคล้องกับพลวัตของโลก รวมถึงประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) เพื่อให้เศรษฐกิจของอาเซียนเติบโตได้อย่างยั่งยืน

ในช่วง 8 เดือนของปี 2564 (ม.ค.–ส.ค.) การค้าระหว่างไทยกับอาเซียน มีมูลค่า 72,546 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 16.25% โดยไทยส่งออกไปอาเซียน มูลค่า 42,024.88 ล้านเหรียญสหรัฐ และนำเข้าจากอาเซียน มูลค่า 30,521.12 ล้านเหรียญสหรัฐ ตลาดส่งออกและแหล่งนำเข้าสำคัญของไทยในอาเซียน ได้แก่ มาเลเซีย เวียดนาม อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'พาณิชย์' ชี้เป้าส่งออกอาหารเสริมเจาะตลาดสหรัฐฯ

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) ชี้เป้าส่งออกอาหารเสริมเจาะตลาดผู้บริโภคสหรัฐฯ เน้นกลุ่มคนรักสุขภาพ และคนออกกำลังกาย เน้นสินค้าที่ช่วยฟื้นฟูสุขภาพ ขายส่วนผสมจากสมุนไพรไทย มั่นใจมีโอกาสเติบโต

'ภูมิธรรม' รับลูก 'เศรษฐา' ดึงเจ้าสัวช่วยซื้อผลผลิตทางการเกษตรไปจำหน่าย

“ภูมิธรรม”รับลูก “เศรษฐา” ดึงเจ้าสัว ปตท. ซีพี ไทยเบฟ ห้าง ปั๊มน้ำมัน ช่วยซื้อผลผลิตทางการเกษตรไปจำหน่ายหรือนำไปทำตลาด เพื่อดูแลเกษตรกร 

ตั้ง“จ.อ.ยศสิงห์”เป็นผู้ช่วยเลขานุการ รมว.พาณิชย์ ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการ รมช.สุชาติ ช่วยดูแลปากท้องประชาชน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามที่มีการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคมที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติ/เห็นชอบแต่งตั้ง ข้าราชการและข้าราชการการเมืองหลายตำแหน่ง หลายกระทรวงนั้น

พาณิชย์ ยอมรับภาพรวมค่าบริการขนส่งสินค้าทางถนน ปรับเพิ่มสูงขึ้น

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ เผยว่า ภาพรวมดัชนีค่าบริการขนส่งสินค้าทางถนน ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 ปรับตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2566 หลังจากที่ชะลอตัวตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ปี 2566 และปรับตัวลดลงตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ปี 2566