2 ก.ค.2566-พล.อ.อกนิษฐ์ หมื่นสวัสดิ์ สมาชิกวุฒิสภาและประธานคณะกรรมาธิการการบริหารราชการแผ่นดิน วุฒิสภา ในฐานะอดีตนายทหารที่เคยมีประสบการณ์ทำงานในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้มาหลายปี กล่าวถึงการแก้ปัญหาภาคใต้ในระยะยาวในช่วงที่กำลังจะมีรัฐบาลชุดใหม่เข้ามาว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องคิดใหม่ เคยมีคนถามผมว่าถ้ามีอำนาจจะแก้ปัญหาอย่างไร ก็ให้ความเห็นไปว่า ต้องแก้ที่ตัวเองก่อน ฝ่ายเรา วิธีคิดฝ่ายเรา ต้องแก้กระบวนทัศน์ก่อน ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย
พล.อ.อกนิษฐ์ กล่าวว่า เรื่องนี้พูดมาตั้งแต่สมัยรับราชการทหารว่า พื้นที่ดังกล่าว มีสนามรบสองสนามซ้อนกันอยู่ คือ สนามรบทางทหาร เช่น ซุ่มยิง วางระเบิด กับสนามรบทางวัฒนธรรม การต่อสู้ทางวัฒนธรรม เพื่อดำรงอัตลักษณ์ของความเป็นมลายู-ปัตตานีแม่ทัพเป็นแม่ทัพในสนามรบทางทหารได้ แต่ในสนามรบทางวัฒนธรรม ไม่ใช่ เริ่มตั้งแต่อะไร ก็ความขัดแย้งทางประวัติศาสตร์ ใครจะไปแก้ กระทรวงวัฒนธรรมหรือกระทรวงศึกษาธิการ
“ผมเสนอให้มีการสังคายนา ประวัติศาสตร์ปัตตานี พูดไว้นานแล้วตั้งแต่รับราชการ ไม่ใช่ว่าใครอยากศึกษาประวัติศาสตร์ปัตตานี ต้องไปแอบหาหนังสืออ่าน ก็ควรให้มีการมานั่งพูดคุยกัน โดยมีผู้รู้ นักวิชาการต่างๆ ให้มีความหลากหลาย มองประวัติศาสตร์ปัตตานี แล้วสรุปให้มีเรื่องเดียว มีฉบับเดียว ไม่ใช่มีหลายฉบับแล้วเอาประวัติศาสตร์ไปบิดเบือน ไปปลุกระดม บอกว่า ปาตานี ผมไม่เคยเห็น ไม่มี ประเทศไทย ไม่เคยมีปาตานี มีแต่จังหวัดปัตตานี ประเทศไทยอาจมีประวัติศาสตร์หลายฉบับก็ได้ ประวัติศาสตร์ของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประวัติศาสตร์ของภาคเหนือล้านนา ประเทศหนึ่งมีหลายประวัติศาสตร์ได้ แต่จะยอมรับกันได้ไหม นี้คือเรื่องกระบวนทัศน์”
พล.อ.อกนิษฐ์กล่าวว่า เรื่องลักษณะดังกล่าว ไม่ใช่เรื่องของแม่ทัพ แต่เป็นเรื่องของเวทีประชาชน คณะพูดคุยฯ ที่เป็นจุดอ่อน ตรงนี้คือไม่ยึดโยงกับประชาชน ทั้งที่ประชาชนคือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เป็นผู้ได้รับผลกระทบ เป็น stakeholder ใหญ่ ส่วนว่าจะให้ประชาชนมีบทบาท เปิดพื้นที่ให้เขาแสดงความคิดเห็นอย่างไร ค่อยมาหารือกันว่าจะมีวิธีการอย่างไร
ถามว่า โมเดลการมีคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล คณะทำงานลักษณะดังกล่าวยังมีความจำเป็นอยู่หรือไม่ พล.อ.อกนิษฐ์ กล่าวว่า ต้องถามว่าคณะดังกล่าว เป็นพันธะกรณีหรือไม่ บางคนที่เคยอยู่ในคณะแบบนี้ไปลงนาม เป็นพันธะกรณีหรือไม่ คือหากเป็นพันธะกรณี ยังไง เราก็ต้องปฏิบัติตาม เปลี่ยนรัฐบาลยังไง ก็ต้องปฏิบัติตาม แต่อันนี้ไม่ใช่พันธะกรณี เพราะการเป็นพันธะกรณีคือต้องมีลักษณะแบบสนธิสัญญา มีการลงนามกัน ต้องส่งเรื่องมาที่รัฐสภา ถามว่าจะเลิกเมื่อไหร่ได้หรือไม่ ก็ตอบว่าเลิกได้ เพราะไม่ใช่พันธะกรณี แต่จะเลิกตอนนี้เลยได้หรือไม่ เลิกนะเลิกได้ แต่ผลคืออะไร ก็คือทั่วโลกที่เขาสนใจ จะมองว่าประเทศไทยไม่ยอมใช้สันติวิธี
พล.อ.อกนิษฐ์ กล่าวถึงความเคลื่อนไหวที่มีการจัดตั้งขบวนการนักศึกษา มีการจัดกิจกรรมทางความคิดเรื่องแยกดินแดนที่ปัตตานีว่า เป็นเรื่องที่มีมานานแล้ว และมีไม่รู้กี่ขบวนการ บางกลุ่มหายไป ก็มีกลุ่มใหม่ขึ้นมา มองว่าเป็นเรื่องธรรมดา ส่วนที่มีบางพรรคการเมืองที่กำลังจะเข้าไปเป็นรัฐบาลบอกว่า มีนโยบายจะให้ ทหารด้านความมั่นคงออกจากพื้นที่หรือการยกเลิกการใช้กฎหมายพิเศษในพื้นที่นั้น ต้องบอกว่า เรื่องให้ทหารออกจากพื้นที่ ในความเป็นจริง ในปีพ.ศ. 2570 กำลังทหารด้านความมั่นคงก็จะไม่มีในพื้นที่แล้ว เรื่องนี้อยู่ในแผนลดทหารในพื้นที่ ส่วนการปรับบทบาทกอ.รมน. ก็มีการปรับอยู่แล้ว เขามีการทำอยู่แล้วเรื่องพวกนี้ มันไม่ใช่เรื่องใหม่ เป็นการเอาเรื่องที่เขาทำอยู่แล้วมาพูด เพราะอย่างตามแผนที่ทราบมา ในปีพ.ศ. 2570 กองทัพภาคที่ 4 ก็จะถอนทหารออกหมด ส่วนหากจะมีการทำอะไรกันก่อนหน้าปี 2570 ก็ต้องดูว่าเขาจะมีมาตราการมารองรับสถานการณ์หรือไม่ และรัฐบาลจะรับผิดชอบหรือไม่ หากมีเหตุการณ์อะไรขึ้นมา
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
แม่ทัพทัพภาคที่ 4 มอบถุงยังชีพให้ชาวปัตตานีที่ได้รับความเดือนร้อนจากอุทกภัย
เมื่อวันที่ 9 ธ.ค. พลโท ไพศาล หนูสังข์ แม่ทัพภาคที่ 4 / ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 พร้อมด้วย พลเอก มณี จันทร์ทิพย์ ที่ปรึกษา
“สส.คอซีย์“ เผย สถานการณ์น้ำท่วมปัตตานีลดลง แต่ยังมีน้ำท่วมขัง กระทบการผลิตน้ำประปาเพื่ออุปโภคบริโภค ทำ ปชช.เดือดร้อน ขาดแคลนน้ำดื่มหนัก
นายคอซีย์ มามุ สส.ปัตตานี เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ กล่าวถึงสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ว่า ขณะนี้ประชาชนยังได้รับความเดือดร้อนจากภัยน้ำท่วม โดยเฉพาะปัญหาการขาดแคลนน้ำดื่ม ถึงแม้จะได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชนในการจัดส่งน้ำเข้าพื้นที่ แต่ยังไม่เพียงพอ
เทศบาลเมืองปัตตานีน้ำแห้งแล้ว ชาวบ้านเร่งทำความสะอาด หมู่บ้านรอบนอกยังท่วมหนัก
สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ยังไม่คลี่คลาย ยังคงมีพื้นที่ถูกน้ำท่วม โดยเฉพาะพื้นที่ต.ปะกาฮารัง อ.เมือง มีน้ำท่วมสูง 1 เมตร ซึ่งลดลงเล็กน้อย ส่วนพื้นที่
'เปิ้ล-นาคร'ปักหลักปัตตานี 'แชมป์-แบงค์'แชมป์โลก'ลงยะลา-ตากใบ นักกีฬาเจ็ตสกีผนึกกำลัง
นักกีฬาเจ็ตสกีทั่วประเทศผนึกกำลังกันอีกครั้ง สนับสนุนการปฏิบัติภารกิจช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งสถานการณ์ล่าสุด ทีมนักกีฬาเจ็ตสกีจิตอาสา ของสมาคมกีฬาเจ็ตสกีแห่งประเทศไทย ในพระอุปถัมภ์ของทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ แบ่ง 2 ทีมปฏิบัติการ ทีมพี่เปิ้ล-นาคร น้องออก้า พี่ปู พี่อาร์ม เจ็ตสกี 6 ลำ ลงพื้นที่พร้อมท่านผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี ช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วมที่ อ.หนองจิก จังหวัดปัตตานี ส่วน ทีม “แชมป์” กษิดิศ “แบงค์แชมป์โลก” และพัทธดนย์ วัฒนศิลป์ เข้าช่วยเหลือที่ยะลาและพร้อมลำเลียงข้าวสาร อาหารแห้ง น้ำ ยารักษาโรค ให้พี่น้องชาวตากใบ
ปัตตานียังวิกฤต! ดับแล้ว 7 ราย ปะกาฮารังจมบาดาลทั้งหมู่บ้าน
สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดปัตตานียังคงเป็นพื้นที่สีแดง หลายพื้นที่ยังมีท่วมสูง แม้ว่าในช่วงกลางดึกน้ำลดลงไปบ้างแล้ว ประมาณ 20 %
น้ำท่วมใหญ่ปัตตานี หนักสุด 30 ปี มวลน้ำยะลา-นราธิวาสไหลบ่า จังหวัดเดียวรับน้ำเต็มๆก่อนลงทะเล
สถานการณ์ท่วมปัตตานียังไม่มีทีท่าว่าน้ำจะลดลง มวลน้ำจากยะลา และนราธิวาสยังคงไหลมาจังหวัดปัตตานีต่อเนื่อง ทำให้ปัตตานีเป็นจังหวัดเดียวที่รับน้ำเต็มๆ