ม. มหานคร ผนึกรัฐและเอกชน หนุน "อาชีวะ" รุกพัฒนากำลังคนรองรับตลาด EV

จากการเติบโตมาในครอบครัว วิศวกร นักวิชาการ และทหาร จึงหล่อหลอมและจุดประกายให้ ผศ. ดร. ภานวีย์  โภไคยอุดม หรือ อาจารย์ตั้ว ก้าวสู่เส้นทางในบทบาทของความเป็นวิศวกร และอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ จนปัจจุบันดำรงตำแหน่ง อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร (MUT) ด้วยความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาบุคลากรด้านวิศวกรรมและผลิตนักนวัตกรที่มีคุณภาพ เพื่อช่วยกันพัฒนาประเทศและยกระดับจากประเทศกำลังพัฒนาให้ขยับขึ้นมาเป็นประเทศพัฒนาแล้ว


ผศ. ดร. ภานวีย์  โภไคยอุดม อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลากว่า 33 ปี MUT ขึ้นชื่อว่าเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่มีความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี นักศึกษาที่จบจาก MUT จึงเป็น “บัณฑิตพร้อมใช้” ซึ่งเป็นที่ต้องการและยอมรับของผู้ประกอบการในภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ มากมาย ทั้งนี้ เพราะแนวการเรียนการสอนของ MUT ไม่ใช่แค่การให้องค์ความรู้ที่เป็นทฤษฎีอยู่ในตำราเรียนเท่านั้น แต่ได้ทำการศึกษาวิจัยและพัฒนาหลักสูตรการศึกษาให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน รวมถึงมีการนำแนวคิดเชิงอุตสาหกรรมเข้ามาประยุกต์ใช้ในหลักสูตรเพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้และฝึกทักษะภาคปฏิบัติเหมือนอยู่ในสถานการณ์การทำงานจริง โดยในปี 2563 MUT ได้เปิด Mahanakorn Institute of Innovation (MII) และ "บริษัทนวัตกรรมมหานคร"  ขึ้น เพื่อเป็นศูนย์ปฏิบัติการแห่งการจัดการด้านงานวิจัยและนวัตกรรม ที่ผลิตผลงานต่าง ๆ ทั้งในเชิงวิชาการและเชิงพาณิชย์ร่วมกับองค์กรภาครัฐและเอกชนมาอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน  

กระแสการใช้รถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกมีแนวโน้มเติบโตอย่างรวดเร็ว รวมถึงในประเทศไทย รัฐบาลก็ให้การสนับสนุนการใช้รถยนต์/รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าและผลักดันให้ไทยเป็นฐานการผลิต EV ในภูมิภาคนี้  MUT จึงเล็งเห็นว่า ประเทศไทยจำเป็นต้องผลิตช่างยานยนต์สายนี้ขึ้นมาเพื่อรองรับอุตสาหกรรมยานยนต์ในอนาคต ในปลายปี 2564 MUT ได้ร่วมกับสมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ทำ “โครงการพัฒนาระบบนวัตกรรม” ทำการวิจัยและออกแบบชุดฝึกยานยนต์เพื่อสร้างทักษะระดับเริ่มต้น ให้กับวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนทั่วประเทศ เพื่อให้นักเรียนนักศึกษาเหล่านี้ ได้มีความรู้และทักษะที่พร้อมปฏิบัติงานได้จริงในอนาคต MUT ยังคงทำการวิจัยและพัฒนาชุดฝึกยานยนต์ EV อย่างต่อเนื่อง และได้มีการหารือกับบริษัท เกรท วอลล์ มอเตอร์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำด้านยานยนต์ไฟฟ้าของไทย (BEV และ xEV Leader) ที่มีความชำนาญอย่างสูงในการพัฒนาผลิตช่างยานยนต์สายนี้ และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จนนำไปสู่การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ที่ผ่านมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ออกแบบ และผลิตอุปกรณ์ชุดฝึกยานยนต์สมัยใหม่จากรถยนต์จริงในระดับ Advance และพัฒนาชุดบทเรียน บททดสอบเพื่อสร้างทักษะให้แก่นักเรียน นักศึกษา ในสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษาภาครัฐ ที่เรียนในสาขาวิชาชีพนี้ เรื่องนี้มีผลทำให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่เรียนมาไปต่อยอดให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน ซึ่งอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ใช้ระบบเครื่องยนต์สันดาปภายในกำลังเปลี่ยนถ่ายไปสู่รถยนต์พลังงานไฟฟ้า 100 % หรือ EV (Electric Vehicle) นวัตกรรมรักษ์โลกที่ทุกคนรอคอย

การลงนาม MOU ครั้งนี้ เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐบาลและเอกชน เพื่อพัฒนาและยกระดับความรู้และทักษะของผู้เรียนในสถาบันอาชีวศึกษาของรัฐให้ทันกับเทคโนโลยียานยนต์ยุค EV ในปัจจุบันและอนาคต โดยหน้าที่หลักของ MUT คือการพัฒนาออกแบบและสร้างชุดฝึกยานยนต์ EV ระดับ Advance ดังนั้น MUT จึงเป็นตัวกลางในการประสานงานกับทั้งเกรท วอล มอเตอร์ และ สอศ. เราได้ส่งทีมนักวิจัยและคณาจารย์ของ MUT เข้าร่วมหารือเพื่อเก็บข้อมูลต่างๆ ตลอดจนทักษะที่ต้องติดตั้งให้กับช่างเทคนิคและเข้าฝึกอบรมกับทีมช่างผู้ชำนาญการด้านยานยนต์ไฟฟ้า และวิศวกรของเกรท วอล มอเตอร์  และนำข้อมูลเหล่านั้นมาหารือกับ สอศ. อีกทางหนึ่ง เมื่อตกผลึกแนวคิดทั้งหมดแล้ว MUT จึงออกแบบและสร้างชุดฝึกให้   เหมะสมและสอดคล้องกับการสร้างทักษะมืออาชีพ เพื่อใช้สำหรับนักเรียน นักศึกษาที่เรียนในสาขานี้ ได้มีองค์ความรู้และทักษะที่จำเป็นในการประกอบอาชีพช่างยานยนต์ไฟฟ้าได้ต่อไปในอนาคต และยังสามารถใช้เป็นพื้นฐานความรู้เพื่อศึกษาต่อเพื่อเป็นวิศวกรต่อไป


ชุดฝึกยานยนต์เพื่อสร้างทักษะระดับเริ่มต้นที่ MUT ออกแบบ ได้ถูกนำไปใช้กับ วิทยาลัยเทคนิคของรัฐแล้วขณะนี้จำนวน 10 แห่ง MUT คาดว่าชุดฝึกยานยนต์เพื่อสร้างทักษะระดับเริ่มต้นที่ MUT ออกแบบ จะมีการนำไปใช้เพิ่มอีก ในอนาคตอันใกล้ นอกจากนี้ยังมีโครงการอื่น ๆ ที่จะนำนวัตกรรมด้านยานยนต์ไฟฟ้าไปต่อยอดและสร้างสรรค์ทางด้านวิชาการและเชิงพาณิชย์ เพื่อสนับสนุนองค์กรของภาครัฐและเอกชน อาทิ โครงการชุบชีวิตแบตเตอรี่เก่ารถยนต์ไฮบริดกลับมาใช้ใหม่ ซึ่ง MUT ได้ทำการทดสอบประสิทธิภาพหลังกระบวนการแล้ว สามารถกลับมามีประสิทธิภาพการใช้งานได้สูงสุด 80% (ขึ้นอยู่กับสภาพแบตเตอรี่ที่นำมาเข้ากระบวนการ) โครงการเปลี่ยนรถยนต์เครื่องยนต์สันดาบกลุ่มพาณิชย์ (เช่น รถตู้ รถกระบะ รถสองแถวเล็ก) ไปเป็นรถยนต์ไฟฟ้า ประชาชนจะประหยัดต้นทุนและค่าใช้จ่ายในยุคที่เชื้อเพลิงมีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนอกจากผลิตภัณฑ์ด้านยานยนต์ไฟฟ้าแล้ว ยังมีงานวิจัยและนวัตกรรมด้านการทหาร เช่น การผลิตหุ่นยนต์เพื่อเก็บกู้วัตถุระเบิดขนาดเล็ก D-EMPIR version 4 ให้กับ กอ.รมน. ภาค 4 ส่วนหน้า  นำไปใช้ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และชุดฝึกจำลองการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว เป็นต้น

MUT ยังให้ความสำคัญในการพัฒนาชุมชน โดยมีแนวคิดที่จะเปิดหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น ๆ เกี่ยวกับเรื่องแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อเสริมสร้างทักษะความรู้ให้กับผู้ประกอบการธุรกิจอู่ซ่อมรมยนต์ ช่างซ่อมรถ หรือบุคคลที่สนใจ แบตเตอรี่ เป็นหัวใจสำคัญของยานยนต์ไฟฟ้าทุกประเภท ซึ่งในอนาคตอีก 5 ปี ข้างหน้าแนวโน้มของตลาดรถยนต์ไฟฟ้าจะมาแทนที่รถยนต์เครื่องสันดาปอย่างแน่นอน ดังนั้น การพัฒนาความรู้และทักษะของบุคลากรเพื่อเตรียมพร้อมรับกระแสการเติบโตของตลาด EV ได้อย่างยั่งยืน เป็นภารกิจสำคัญที่ MUT ภูมิใจทำอย่างยิ่ง MUT มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี เรามีการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนให้ทันยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วควบคู่ไปกับตอบโจทย์ความต้องการของตลาดแรงงาน ท่ามกลางกระแสยานยนต์ไฟฟ้าที่กำลังมาแรง MUT ได้มีการเพิ่มหลักสูตรเสริมทักษะความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านยานยนต์ไฟฟ้า เข้าไปในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็น วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมเครื่องกล และวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ดังนั้น นักศึกษาที่เรียนในสาขาเหล่านี้สามารถประกอบอาชีพเป็น EV Engineer ได้ โดยไม่ต้องเจาะจงเรียนด้านวิศวกรรมยานยนต์เท่านั้น  ความคาดหวังในอนาคตของผมคือ อยากให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เป็นมหาวิทยาลัยขนาดเล็กที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง แต่เต็มเปี่ยมด้วยคุณภาพและ เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำยอดนิยมด้านวิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของประเทศไทย


 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เรเว่ คอมเมอร์เชียล วีฮิเคิลส์ ทดสอบรถบัสไฟฟ้า BYD B70 ให้บริการรับ - ส่ง ย่านทองหล่อ

เรเว่ คอมเมอร์เชียล วีฮิเคิลส์ จำกัด ผู้แทนจัดจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้า (EV) เพื่อการพาณิชย์จาก BYD อย่างเป็นทางการ ภายใต้กลุ่มธุรกิจเรเว่

ฟอร์ดส่งเรนเจอร์ วี 6 ประเดิมสนามไทยแลนด์ ซูเปอร์ ซีรี่ส์ 2024

ฟอร์ด ไทยแลนด์ เรซซิ่ง หรือ FTR ประกาศความพร้อม ส่งรถฟอร์ด เรนเจอร์ ขุมพลังใหม่เครื่องยนต์ดีเซล 3.0 ลิตร วี 6 ลงสนามแข่งครั้งแรกในนัดเปิดฤดูกาล

มิตซูบิชิ แต่งตั้งผู้บริหารใหม่ เสริมทัพสร้างความเติบโตต่อเนื่อง

บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศแต่งตั้ง นายสาโรจน์ มะอาจเลิศ ขึ้นดำรงตำแหน่ง กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ สายงานขาย