ปิดประสบการณ์ท่องเที่ยวในมุม LGBTQ+

ประสบการณ์อันน่าจดจำ การได้ออกผจญภัยและการออกไปเพลิดเพลินกับโลกกว้าง คือนิยามของ “การเดินทาง” แต่ในความเป็นจริงแล้วผู้เดินทาง LGBTQ+ ทั่วโลกต่างพบเจอประสบการณ์ที่แตกต่างไปจากนิยามอันแสนสุขของการเดินทาง โดยผลการสำรวจล่าสุดของ Booking.com จากการสอบถามผู้เดินทาง LGBTQ+ ใน 25 ประเทศทั่วโลก เผยว่า 82% ของผู้เดินทาง LGBTQ+ ทั่วโลก และ 87% ของผู้เดินทาง LGBTQ+ ชาวไทยรู้สึกไม่ได้รับการต้อนรับ และเคยสัมผัสประสบการณ์ที่ชวนให้อึดอัดหรือไม่ค่อยเป็นมิตรนักเมื่อเดินทาง

การสำรวจข้อมูลนี้เผยให้เห็นถึงอุปสรรคในการเดินทางอย่างเท่าเทียมที่ผู้เดินทาง LGBTQ+ ยังต้องเผชิญ โดย 75% ของผู้เดินทาง LGBTQ+ ชาวไทยเปิดเผยว่า

พวกเขาเคยเผชิญการเลือกปฏิบัติระหว่างเดินทางท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นการถูกตัดสินหรือถูกเหมารวม 34% การโดนจ้องมอง หัวเราะเยาะ หรือทำร้ายจิตใจด้วยวาจาจากผู้เดินทางคนอื่น 29% และจากคนในท้องถิ่น 23% ด้วยเหตุนี้เองผู้เดินทาง LGBTQ+ จึงมีความกังวลใจในการตัดสินใจออกเดินทางในแต่ละครั้ง ตั้งแต่การเลือกจุดหมายปลายทาง ไปจนถึงการเลือกกิจกรรมที่พวกเขาจะเข้าร่วมระหว่างเดินทาง 

โดยข้อพิจารณาของพวกเขามีดังนี้ คือ 74% ของผู้เดินทาง LGBTQ+ ชาวไทยกล่าวว่า การเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน LGBTQ+ ส่งผลต่อการตัดสินใจของพวกเขาเมื่อวางแผนออกเดินทาง ส่วน 73% ระบุว่าพวกเขาต้องพิจารณาเรื่องความปลอดภัย และความเป็นอยู่ที่ดีในฐานะผู้เดินทาง LGBTQ+ ขณะที่ LGBTQ+ ชาวไทยกว่าครึ่ง 58% รู้สึกว่าการเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน LGBTQ+ มีผลต่อเลือกหรือจัดอันดับ “จุดหมายปลายทางในฝัน” ที่ต้องไปเยือนสักครั้งในชีวิต และ 58% รู้สึกว่าการเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน LGBTQ+ มีผลต่อการเลือกผู้ร่วมเดินทาง

แม้ผู้ที่เป็นส่วนหนึ่งในชุมชน LGBTQ+ จะต้องเผชิญอุปสรรคมากมายบนเส้นทางของการเดินทางอย่างเท่าเทียม แต่ก็ยังมีพื้นที่อีกมากที่พร้อมต้อนรับและมอบประสบการณ์อันน่าประทับใจให้กับทุกคน โดย 85% ของผู้เดินทาง LGBTQ+ ชาวไทย เห็นพ้องตรงกันกับผู้เดินทาง LGBTQ+ ทั่วโลกว่า ประสบการณ์การเดินทางส่วนใหญ่ที่พวกเขาเคยเผชิญถือเป็นเรื่องราวที่น่าประทับใจและน่าจดจำ และ 83% ระบุว่าการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม LGBTQ+ ทำให้พวกเขารู้สึกมั่นใจมากยิ่งขึ้นในฐานะผู้เดินทาง 

นอกจากนั้นพวกเขายังแชร์เรื่องราวน่ายินดีที่พบเจอระหว่างออกทริป เช่น 31% ของผู้เดินทาง LGBTQ+ ชาวไทยได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นมิตร และได้รับข้อมูลที่จำเป็นจากผู้ให้บริการที่พัก, 29% เผยว่า พวกเขาได้รับคำแนะนำที่ดี อีกทั้งยังได้ข้อมูลเกี่ยวกับท้องถิ่นที่เป็นประโยชน์ในการท่องเที่ยวระหว่างที่เข้าพัก และ 34% ได้รับความประทับใจแรกพบจากที่พัก ทั้งการได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากพนักงาน หรือการได้เครื่องดื่มต้อนรับ 

ผลสำรวจของ Booking.com ยังเผยให้เห็นอีกว่า การให้ความสำคัญกับชุมชน LGBTQ+ ของผู้คนที่อยู่ในจุดหมายปลายทางนั้นๆ คือกุญแจสำคัญที่ทำให้ผู้เดินทาง LGBTQ+ ตัดสินใจเลือกสถานที่ดังกล่าวเป็นปลายทางในการเดินทางท่องเที่ยว โดยกว่า 75% ของผู้เดินทาง LGBTQ+ ชาวไทยมีแนวโน้มที่จะเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางที่ให้การสนับสนุนชุมชนและประวัติศาสตร์ของ LGBTQ+ ในท้องถิ่น นอกจากนี้ผู้เดินทาง LGBTQ+ เลือกที่จะเดินทางไปยังจุดหมายที่สนับสนุนชุมชน LGBTQ+ และพวกเขายังคงมองหาบริการจากผู้ให้บริการหรือแบรนด์ที่สนับสนุน LGBTQ+ อีกด้วย 

โดย 75% ของผู้เดินทาง LGBTQ+ ชาวไทยเผยว่า พวกเขามีแนวโน้มที่จะมองหาสิ่งที่น่าสนใจหรือกิจกรรมที่เหมาะกับกลุ่ม LGBTQ+ โดยเฉพาะ ขณะที่ 71% ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับที่พัก แบรนด์ และผู้จัดกิจกรรมต่างๆ ก่อนทำการจองที่พัก เพื่อให้เข้าใจถึงบทบาทของที่พักและผู้ให้บริการด้านการเดินทาง รวมไปถึงแบรนด์เหล่านั้นในการสนับสนุนกลุ่ม LGBTQ+ เหตุนี้เอง 82% ของผู้เดินทาง LGBTQ+ ชาวไทยจึงมีแนวโน้มที่จะเลือกที่พัก หรือแบรนด์ใดๆ ที่มีความทุ่มเทในการสนับสนุนชุมชน LGBTQ+ มากกว่า

อย่างไรก็ดี เนื่องจากการเดินทางที่จะต้องเข้าถึงได้โดยเท่าเทียมและเป็นมิตรสำหรับทุกคน ผลสำรวจล่าสุดนี้จึงเผยให้เห็นถึงโอกาสสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมการเดินทางและผู้เดินทาง ในการร่วมมือกันสร้างโลกแห่งความเท่าเทียมที่ทุกคนสามารถเป็นตัวเองได้อย่างแท้จริง โดยในส่วนของ Booking.com หนึ่งในผู้ร่วมขับเคลื่อนแวดวงการเดินทาง ทราบดีว่าที่พักมีบทบาทสำคัญในการมอบประสบการณ์ที่เท่าเทียมให้กับผู้เดินทางทุกคน จึงดำเนินการเชิงรุกเพื่อให้ทุกคนออกเดินทางโดยเป็นตัวของตัวเองได้อย่างง่ายดายยิ่งขึ้น. 

รุ่งนภา สารพิน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

Gen AI ความท้าทายยุคใหม่

การก้าวตามเทคโนโลยีใหม่อย่าง Generative AI ที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วอาจเป็นเรื่องที่ท้าทายและน่ากลัว โดยไม่มีใครรู้เลยว่าบริษัทที่ใช้แนวทาง "รอดูไปก่อน" จะถูกทิ้งไว้ข้างหลังในขณะที่ระบบดิจิทัลเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเริ่มต้นของโควิด-19

'หนี้ครัวเรือน'แนวโน้มชะลอแต่สัดส่วนยังสูง

“หนี้ครัวเรือน” เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา โดยจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท

เศรษฐกิจไทยจะไปทางไหนต่อ

ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยเวลานี้เหมือนคนป่วยโรคเรื้อรัง ที่อาการแค่ดีขึ้นเล็กน้อย แต่รักษายังไม่หายขาด ส่งผลให้การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ยังคงติดๆ ขัดๆ นับตั้งแต่ผ่านพ้นจากวิกฤตโควิดมากว่า 2 ปี

ไทยจะเป็นฮับเอทานอล

ประเทศไทยหลังจากที่ผลัดเปลี่ยนรัฐบาลชุดนี้ ก็ตั้งเป้าการทำงานที่หลากหลายและแปลกตามากขึ้น แน่นอนว่าหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแล

เดินให้สุดทำอย่างจริงจัง

ปัจจุบันพบปัญหาถังก๊าซหุงต้มในท้องตลาดเสื่อมสภาพและหมดอายุตกค้างอยู่ในระบบจำนวนมาก อีกทั้งยังมีการลักลอบนำถังก๊าซหุงต้มมาเติมในสถานีบริการ LPG เป็นระยะ ซึ่งนอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว