จับตาเศรษฐกิจปี 65

เหลือเวลาอีกเพียงเดือนกว่า ปี 2564 ก็จะผ่านพ้นไป ต้องยอมรับว่าปีนี้ถือเป็นปีที่เศรษฐกิจมีความยากลำบากที่สุดนับย้อนไปกว่า 20 ปีตั้งแต่เกิดวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่า วิกฤตโรคระบาดอย่างโควิด-19 ได้ส่งผลต่อวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ อาชีพการงานอย่างใหญ่หลวง ในปีนี้เราเจอการระบาดถึง 2 ระลอก ต้องปิดเมือง หยุดกิจกรรมทางเศรษฐกิจไปหมด และจนถึงตอนนี้ก็ยังมีหลายอาชีพที่ยังไม่สามารถออกมาทำมาหากินได้ตามปกติ

แต่อย่างไรก็ดีในช่วง 2 เดือนสุดท้ายนี้บรรยากาศและเศรษฐกิจต่างๆ น่าจะกลับมาฟื้นตัวดีขึ้น ทั้งจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดต่างๆ

รวมถึงการเปิดให้นักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเข้ามาเที่ยวในไทยมากขึ้น ซึ่งเชื่อว่าจะส่งผลดีต่อภาพรวมทางเศรษฐกิจในช่วงท้าย

โดยหลายฝ่ายประเมินกันว่า เศรษฐกิจในปี 64 จะโตอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 1% และจะเพิ่มขึ้นมากกว่านี้หากรัฐบาลมีการออกมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายเพิ่มเติม ซึ่งตอนนี้เอกชนโดยเฉพาะกลุ่มค้าปลีกก็เฝ้ารอว่าปีนี้จะมีมาตรการช้อปช่วยชาติออกมาเพิ่มเติมหรือไม่

ส่วนทิศทางในปี 2565 นั้นหลายฝ่ายมองตรงกันว่า เศรษฐกิจไทย มีสิทธิ์ขยายตัวได้มากกว่าปีนี้ โดยล่าสุด อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.การคลัง ได้กล่าวในงานสัมมนาออนไลน์ WEALTH VIRTUAL FORUM ลงทุนอย่างไร...ให้รวย? ระบุว่า เศรษฐกิจไทยในปีหน้าจะเติบโตได้ที่ระดับ 4% เป็นผลมาจากภาคการส่งออกที่ยังมีขีดความสามารถในการแข่งขัน รวมถึงนโยบายที่ชัดเจนของโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) รวมไปถึงเม็ดเงินจากภาครัฐที่จะเข้าสู่ระบบไม่น้อยกว่า 3.7-4 ล้านล้านบาท

ขณะที่ ทางสภาพัฒน์ก็ระบุแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2565 จีดีพีไทยจะขยายตัวในช่วง 3.5-4.5% ค่ากลาง 4% โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก 1.การฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศและภาคการผลิตตามสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ที่มีแนวโน้มคลี่คลายลง และความคืบหน้าของการกระจายวัคซีน 2.การฟื้นตัวอย่างช้าๆ ของภาคท่องเที่ยวระหว่างประเทศภายใต้นโยบายการเปิดประเทศของภาครัฐ 3.การขยายตัวในเกณฑ์ดีของการส่งออกสินค้า 4.การขับเคลื่อนจากการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ 5.ฐานการขยายตัวที่ยังอยู่ในระดับต่ำ

ด้านสถาบันเอกชน อย่าง ttb analytics เผยเศรษฐกิจไทยปี 2565 มีแนวโน้มขยายตัว 3.6% จากทุกองค์ประกอบที่มีแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจมากขึ้น โดยเฉพาะปัจจัยการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่ฟื้นตัวกลับมาได้เร็วใกล้เคียงช่วงก่อนเกิดสถานการณ์โควิด-19 ส่วนการลงทุนภาครัฐยังขยายตัวเพิ่มขึ้น การส่งออกเติบโตต่อเนื่อง ขณะที่การท่องเที่ยวทยอยฟื้นตัว และใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 2 ปีในการกลับสู่ระดับปกติ

ทั้งนี้ประเมินปัจจัยการลงทุนภาครัฐ ก็จะเป็นพระเอกสำคัญสำหรับทิศทางการขยายตัวของปีหน้า เห็นได้จากเม็ดเงินที่มีมหาศาลถึง 3-4 ล้านล้านบาท ส่วนหนึ่งจะมาจากโครงการลงทุนในอีอีซี ทั้งโครงการรถไฟความเร็วสูง สนามบินอู่ตะเภา และท่าเรือแหลมฉบัง รวมถึงการสร้างอุตสาหกรรมใหม่ 12 อุตสาหกรรมซึ่งเกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์ ดิจิทัล ปัญญาประดิษฐ์ และระบบอัตโนมัติต่างๆ จะเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย

แต่ถึงจะมีความหวังว่าเศรษฐกิจในปี 65 จะโต 3-4% ก็ยังต้องคำนึงถึงปัจจัยที่สำคัญมากอีกประการ คือ การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งยังถือเป็นตัวแปรสำคัญ เห็นบทเรียนได้จากประเทศในแถบยุโรปที่ขณะนี้โควิด-19 ได้กลับมาระบาดอย่างรุนแรงใหม่ และในบางประเทศก็มีความจำเป็นที่จะต้องกลับมาใช้มาตรการล็อกดาวน์อีกครั้ง นี่คือความเสี่ยงที่เกิดขึ้นแน่ๆ และสิ่งนี้จะกลายเป็นต้นทุนด้านเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นไปอีก และเป็นตัวฉุดการเติบโตอย่างแน่นอน.

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จับตาบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง

ช่วงนี้หลายคนกำลังสงสัยว่าเพราะเหตุใดค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าเอา อ่อนค่าเอา ตอนนี้ราคาหลุดทะลุ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว แม้จะมีการแกว่งตัวแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในแนวโน้มอ่อนค่า

Digital Walletกระตุ้นค้าปลีกไม่แรง

“โครงการ Digital Wallet” เรียกว่ามีความชัดเจนจากฝั่งรัฐบาลพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไขทั้งในส่วนของประชาชนและร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการ รวมไปถึงแหล่งเงินที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ แต่ก็ต้องยอมรับว่าความชัดเจนในส่วนนี้ก็ยังมีการตั้งคำถาม ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะเร่งหาวิธีการเพื่อพิสูจน์ความชัดเจน และเดินหน้าโครงการตามขั้นตอนและวิธีการภายใต้กรอบของกฎหมายที่ได้ยืนยันมาโดยตลอด

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

'หนี้ครัวเรือน'แนวโน้มชะลอแต่สัดส่วนยังสูง

“หนี้ครัวเรือน” เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา โดยจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท

เศรษฐกิจไทยจะไปทางไหนต่อ

ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยเวลานี้เหมือนคนป่วยโรคเรื้อรัง ที่อาการแค่ดีขึ้นเล็กน้อย แต่รักษายังไม่หายขาด ส่งผลให้การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ยังคงติดๆ ขัดๆ นับตั้งแต่ผ่านพ้นจากวิกฤตโควิดมากว่า 2 ปี

ไทยจะเป็นฮับเอทานอล

ประเทศไทยหลังจากที่ผลัดเปลี่ยนรัฐบาลชุดนี้ ก็ตั้งเป้าการทำงานที่หลากหลายและแปลกตามากขึ้น แน่นอนว่าหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแล