10 เทรนด์เทคโนโลยีเฮลท์แคร์ 2023

ปัจจุบันเทคโนโลยี โดยเฉพาะปัญญาประดิษฐ์เข้ามามีบทบาทสำคัญกับทุกภาคส่วน ทั้งการดำเนินชีวิต ภาคการผลิตและอุตสาหกรรม รวมไปถึงทางด้านสาธารณสุขและการแพทย์ ประกอบกับปัญหาการขาดแคลนบุคลากรและความผันผวนทางเศรษฐกิจ เป็นปัจจัยที่ท้าทายผู้ให้บริการทางสาธารณสุขทั่วโลกในการพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงาน และคิดค้นรูปแบบการดูแลรักษาผู้ป่วยใหม่ๆ

ในขณะที่วงการเฮลท์แคร์ยังตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น จึงหันมาให้ความสำคัญกับการยกระดับความเท่าเทียมด้านการเข้าถึงระบบสาธารณสุข ตลอดจนความจำเป็นในการลดก๊าซคาร์บอนในอุตสาหกรรมเพื่อการรักษาสุขภาพของโลกเช่นกัน

เพื่อเป็นการตอบสนองต่อความท้าทายข้างต้น ฟิลิปส์จึงได้รวบรวม 10 เทรนด์เทคโนโลยีเฮลท์แคร์ที่คาดจะมาแรงในปี ค.ศ.2023 นี้ 1.การนำเทคโนโลยีด้านระบบการทำงานอัตโนมัติและปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI มาใช้เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้วย รายงานจาก Philips Future Health Index 2022 report พบว่า ปัญหาด้านบุคลากรเป็นเรื่องสำคัญอันดับแรกๆ ดังนั้นการได้นำ AI เข้ามาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและขีดความสามารถของบุคลากรทางการแพทย์

2.การนำ AI มาใช้กับการพัฒนาและเพิ่มทักษะด้านดิจิทัลผ่านการฝึกอบรมและการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์ยังจำเป็นต้องได้รับความรู้และการฝึกอบรมที่เหมาะสมเพื่อให้ทันกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ในอนาคตจะเห็นความต้องการบริการด้านการศึกษาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 3.ใช้ AI ในการปฏิบัติงานทางไกล หรือผ่านการทำงานร่วมกันแบบออนไลน์ ซึ่งหลังจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้เทคโนโลยีกลายเป็นปัจจัยหนึ่งในวงการเฮลท์แคร์ 4.โซลูชันด้านสารสนเทศ เพื่อเป็นสื่อกลางและทำให้สามารถทำงานร่วมกับหลากหลายเครื่องมือหรือหลายระบบ

5.เฮลท์แคร์กำลังย้ายไปอยู่บนคลาวด์ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่สำคัญในการเชื่อมต่อและบูรณาการโครงสร้างพื้นฐานไอทีด้านเฮลท์แคร์ โดยการประยุกต์ใช้คลาวด์ในวงการเฮลท์แคร์เติบโตอย่างรวดเร็ว และได้รับการยอมรับมากขึ้น ซึ่งน่าจะได้เห็นการนำคลาวด์ไปใช้ทั่วทุกมุมโลกในปี 2023 นี้ และน่าจะได้เห็นการเพิ่มขึ้นของโซลูชัน software-as-a-service (SaaS) ที่ส่งผ่านระบบคลาวด์ตามมา

6.การติดตามอาการผู้ป่วยอย่างไร้รอยต่อทั้งในและนอกโรงพยาบาล สร้างรากฐานของระบบสาธารณสุขที่สามารถเชื่อมต่อจากโรงพยาบาลไปสู่บ้านผู้ป่วยและชุมชน จากรายงาน Philips Future Health Index 2022 report ระบุว่า ในวงการเฮลท์แคร์เล็งเห็นว่า การดูแลรักษาผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลเป็นสิ่งที่ต้องหันมาให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ รองจากความพึงพอใจและการรักษาบุคลากรทางการแพทย์ในองค์กร การให้การดูแลรักษาอย่างถูกต้องในสถานที่และเวลาที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยสร้างประสบการณ์แบบไร้รอยต่อให้กับผู้ป่วยได้

7.มุ่งเน้นการส่งมอบบริการทางสาธารณสุขที่ครอบคลุมและเท่าเทียมกันมากขึ้น การแพร่ระบาดของโควิด-19 เร่งให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลด้านเฮลท์แคร์เร็วขึ้น เพื่อเพิ่มการเข้าถึงด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลและพื้นที่ชนบท 8.การหมุนเวียน ในเทคโนโลยีเฮลท์แคร์นั้น 'การหมุนเวียน' เกี่ยวข้องกับกระบวนการใช้เครื่องมือแพทย์ การนำสมาร์ทดิจิทัลมาใช้ยังช่วยให้ระบบดูแลสุขภาพสามารถลดการใช้ทรัพยากรการผลิต

9.ลดคาร์บอนในวงการเฮลท์แคร์ให้สอดคล้องกับการตั้งเป้าตามหลัก Science-based ซึ่งผู้ประกอบการในวงการเฮลท์แคร์ตระหนักถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการปล่อยก๊าซคาร์บอน โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโลก และพยายามลงมือทำบางอย่างเพื่อรับผิดชอบต่อปัญหาดังกล่าว โดยบริษัทเครื่องมือแพทย์และบริษัทเทคโนโลยีด้านเฮลท์แคร์มีการตั้งเป้ากำหนดเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนตามหลัก Science-based และ 10.สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ที่มีต่อสุขภาพของประชากร.

 

บุญช่วย ค้ายาดี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

หวังรัฐแก้ปมค้าชายแดน

การผลักดันเศรษฐกิจของประเทศให้ดีนั้น จำเป็นต้องมองในทุกมิติและพัฒนาให้ครอบคลุม จะทิ้งใครหรืองานใดงานหนึ่งไว้ข้างหลัง จะเป็นตัวฉุดรั้งให้การเติบโตนั้นไม่ไปไหน

เร่งแก้ “แต่ไร้ผล”

ปัญหาฝุ่น PM 2.5 เป็นประเด็นที่พูดถึงกันมานานหลายปี โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว ที่เมื่อความกดอากาศสูง มีกำลังอ่อนลง และเมื่อลมสงบ ประกอบกับการผกผันกลับของอุณหภูมิในอากาศ จะส่งผลทำให้เกิดสภาพอากาศร้อนด้านบนกดทับอากาศเย็นเหมือนมีฝาครอบ

จับตาบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง

ช่วงนี้หลายคนกำลังสงสัยว่าเพราะเหตุใดค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าเอา อ่อนค่าเอา ตอนนี้ราคาหลุดทะลุ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว แม้จะมีการแกว่งตัวแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในแนวโน้มอ่อนค่า

Digital Walletกระตุ้นค้าปลีกไม่แรง

“โครงการ Digital Wallet” เรียกว่ามีความชัดเจนจากฝั่งรัฐบาลพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไขทั้งในส่วนของประชาชนและร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการ รวมไปถึงแหล่งเงินที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ แต่ก็ต้องยอมรับว่าความชัดเจนในส่วนนี้ก็ยังมีการตั้งคำถาม ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะเร่งหาวิธีการเพื่อพิสูจน์ความชัดเจน และเดินหน้าโครงการตามขั้นตอนและวิธีการภายใต้กรอบของกฎหมายที่ได้ยืนยันมาโดยตลอด

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

เร่งกระตุ้นอสังหาฯ

อสังหาริมทรัพย์เป็นเครื่องยนต์สำคัญของเศรษฐกิจไทย เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่มีห่วงโซ่ยาว ตั้งแต่ภาคการผลิตต่างๆ เช่น เหล็ก ซีเมนต์ การท่องเที่ยว ตลอดจนการเงิน หากภาพรวมอสังหาฯ ดีย่อมส่งผลบวกต่ออุตสาหกรรมใกล้เคียง แต่หากลบก็กระทบธุรกิจอื่นๆ ได้เช่นกัน แม้ว่าจะมีปัจจัยบวกที่ผลักดันให้เศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น แต่ความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ และภาวะหนี้ครัวเรือนที่บั่นทอนกำลังซื้อในประเทศ ส่งผลกับภาคอสังหาฯ อย่างเห็นได้ชัด