ไทยในสายตาต่างชาติ: สมัยรัชกาลที่เจ็ด (ตอนที่ 10: การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ในสายตาผู้ช่วยทูตทหารฝรั่งเศส)

 

(ต่อจากตอนที่แล้ว) ในรายงานวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1932 (พ.ศ. 2475)  ของพันโท อองรี รูซ์ ผู้ช่วยทูตทหารบกและทหารเรือประจำสยาม ประจำสถานอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำสยาม เรื่อง เหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นในเมืองหลวงของสยาม

“สืบเนื่องจากรายงานฉบับที่ 22/A ลงวันที่ 24 มิถุนายนฉบับที่แล้วของข้าพเจ้า (ดูตอนที่ 5/ผู้เขียน) ว่าด้วยการยึดอำนาจโดยทหารในบางกอกเมื่อเช้าวันศุกร์ที่ 24 มิถุนายนที่ผ่านมา ส่งถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ข้าพเจ้ามีความยินดีที่จะรายงานให้ท่านทราบถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในบางกอกหลังจากวันก่อการปฏิวัติ 1 สัปดาห์ 

เรื่องที่จะรายงาน ได้แก่                   

เรื่องที่ 1 – พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยอมรับคำขาดที่ได้รับทูลเกล้าฯถวายและทรงยอมรับรัฐบาล ‘คณะราษฎร’

เรื่องที่ 2 – การประกาศใช้รัฐธรรมนูญปกครองแผ่นดิน (แนบฉบับแปลมา ณ ที่นี้ด้วย)

เรื่องที่ 3 – การแต่งตั้งคณะรัฐบาลชุดใหม่

1.ท่าทีของบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากการทำรัฐประหาร

ในส่วนของพระมหากษัตริย์และท่าที่ของพระบรมวงศานุวงศ์และข้อสังเกตเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญการปกครองแผ่นดินฉบับใหม่ และบางส่วนของ “ข้อสังเกตเกี่ยวกับสถานการณ์ในช่วงที่การปฏิวัติก่อตัวขึ้น”  ผู้เขียนได้กล่าวไปในตอนที่แล้ว  ต่อไปจะได้กล่าวถึง “ข้อสังเกตเกี่ยวกับสถานการณ์ในช่วงที่การปฏิวัติก่อตัวขึ้น”  ต่อไป

“เมื่อวันศุกร์ (วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475/ผู้เขียน) ข้าพเจ้าเชื่อว่าหน่วยทหารทุกหน่วยเห็นพ้องต้องกันเป็นเอกฉันท์ แต่ในความเป็นจริง ผู้ก่อการปฏิวัติแคลงใจต่อหน่วยทหารบางหน่วย ข้าพเจ้าเคยกล่าวไว้แล้วว่ากองทหารภายในจะต่อสู้กับพวกกบฏหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการตัดสินพระทัยของกษัตริย์เท่านั้น ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงสรุปได้ว่า ผู้ก่อกบฏเพิกเฉยต่อหลักความปลอดภัยพื้นฐาน และต้องหยิบยกถ้อยคำที่ข้าพเจ้าเคยพูดกับท่านอัครราชทูตฝรั่งเศสว่า พวกกบฏอาศัยการต่อสู้ในยามสงครามปะปนกับการรักษาความปลอดภัยในยามสงบสุขแน่นอน ทั้งนี้ เพราะถนนสายต่างๆที่มุ่งไปยังพระราชวังดุสิต ซึ่งเป็นที่ทำการของรัฐบาลชุดใหม่ ไม่มีทหารคอยสอดส่องดูแลเลย มีเพียงทหารเรือติดดาบปลายปืนนายหนึ่งและเจ้าหน้าที่ตำรวจอีกนายซึ่งปราศจากอาวุธ ทำหน้าที่ห้ามประชาชนเข้ามาในรัศมี 200 เมตร ไม่มีเครื่องกีดขวางใดๆ และไม่มีรถบรรทุกจอดขวาง กองทหารเรือและทหารม้าที่รักษาการณ์พระราชวังต่างพูดคุยกับพลเรือนอย่างเป็นปกติ และกลุ่มผู้ชายกลุ่มเล็กๆหลายกลุ่ม (ทั้งหมดประมาณ 150 คน) นอนระเกะระกะอยู่บนสนามหญ้า ไม่มีการเฝ้าระวังรถหุ้มเกราะติดปืนกลที่จอดเตรียมพร้อมอยู่บริเวณหน้าพระราชวังแต่อย่างใด กองทหารต่างสวมใส่ชุดธรรมดาโดยไม่ติดเครื่องหมายใหม่ที่ชัดเจน ข้าพเจ้าเชื่อแน่ว่าแค่รุบรรทุกกนึ่งหรือสองคันที่ขนปืนกล 2 กระบอกกับเหล่าทหารจิตใจแน่วแน่สัก 20 นาย ก็สามารถเข้ายึดรถหุ้มเกราะติดปืนกลอันเป็นกุญแจสำคัญของการปฏิวัติได้

จากบทสนทนาที่ได้ยินมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บทสนทนาของทหารปืนใหญ่ที่ข้าพเจ้ากล่าวถึงข้างต้นได้ความว่า พวกทหารไม่รู้เรื่องอะไรเลย ผู้บังคับบัญชาปลุกพวกเขาช่วงกลางคืน จากนั้นก็พาไปยังวังของเหล่าพระบรมวงศานุวงศ์ โดยแจ้งให้ทหารรับรู้วัตถุประสงค์ระหว่างทาง เหล่าทหารก็เชื่อฟัง เพราะเคยชินกับการทำตามคำสั่ง เหมือนกับที่เชื่อฟังผู้บับคับบัญชา ไม่ว่าจะเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ หรือนายทหารระดับนายพล และผู้บัญชาการระดับสูง ซึ่งถูกจับกุมที่วังของพวกเขา มีผู้บอกข้าพเจ้าว่า มีเพียงพลเอกพระยาเสนาสงคราม คนเดียวเท่านั้นที่คิดต่อต้าน จึงถูกทหารหงุดหงิดนายหนึ่งยิงเข้าที่ท้อง จนถึงขณะนี้ เขาคือเหยื่อเพียงรายเดียวของการปฏิวัติ พร้อมกับชาวฮินดูอีกคนที่พยายามปกป้องกรมพระนครสวรรค์วรพินิต    ข้าพเจ้าเคยพบเห็น ‘ความหวาดระแวง’ ของทหารสยามบางนามาแล้ว ข้าพเจ้ามีตัวอย่างหนึ่งของเรื่องนี้ที่จะยกมาเป็นตัวอย่างได้ จากกรณีของบริษัทบรันดต์ (Brandt)  ที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ขณะนั้น พันตรี เดอลาลองด์ ตัวแทนของบริษัทบรัดต์ ยิงปืนออกไป โดยกระสุนต้องตก ณ จุดที่ห่างจากกลุ่มทดลอง 60 เมตร และพันตรี เดอลาลองต์กล่าวว่า เป็นระยะที่ไกลสุดของแรงระเบิดแล้ว คณะกรรมการอยู่หลังบังกอร์กระสอบทราย ขณะที่พลเอกผู้เป็นประธานในการทดลองกำลังเล่าเรื่องอยู่ มีคนตะโกนว่า ‘ลั่นกระสุนแล้ว’ คณะกรรมการทุกคนนอนราบลงกับพื้นหลังกระสอบทราย ทำให้กระสอบทรายร่วงใส่หลังของแต่ละคน

กองทัพสยามถูกปรับปรุงให้ทันสมัย มีอาวุธยุทโธปกรณ์จำนวนมาก อย่างไรก็ตาม การปฏิวัติที่บางกอกทำให้เราวางใจได้ว่าจะไม่มีอันตรายจากฝ่ายสยามดังที่พูดกันในช่วง 2-3 ปีมานี้ นอกจากนั้น หน่วยงานนั้น หน่วยงานต่างๆของกองทัพสยามยังขาดระบบบริหารจัดการที่ดีพอ นับจากนี้ไป เราน่าจะสบายใจได้เรื่องแสนยานุภาพในการรุกรานของกองทัพสยาม นี่เป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่พิสูจน์ว่าอาวุธยุทโธปกรณ์ไม่ได้มีความสำคัญอะไรเลย หากผู้ใช้ไม่มีจิตใจที่หนักแน่นมั่นคง

ข้อเท็จจริงอีกประการหนึ่งซึ่งดูจะเป็นอุปนิสัยเฉพาะของชาติของชาวสยามที่ข้าพเจ้าสังเกตเห็นก็คือ ในคืนวันเสาร์ที่ 25 ขณะเดินผ่านหน้าค่ายทหารกองพลที่ 1 ของผู้ก่อการปฏิวัติ  ข้าพเจ้าได้ยินทหารพากันสวดมนต์ก่อนเข้านอนเหมือนเช่นเคย เพื่อขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ปกปักรักษาองค์พระมหากษัตริย์และชาติไทย (เน้นโดยผู้เขียน)

บทสรุป

หลังการปฏิวัติที่ปราศจากการนองเลือด สยามก็เข้าสู่การปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งอย่างน้อย ก็ถือเป็นช่วงพักเพื่อรอดูผลจากการปกครองระบอบใหม่และเหตุการณ์อื่นๆที่จะตามมา อย่างไรก็ตาม ข้าพเจ้าคิดว่า เรื่องนี้ยังไม่เสร็จสิ้นสมบูรณ์ ตรงกันข้าม ข้าพเจ้าเชื่อว่ายุคสมัยของความยากลำบากเพิ่งเริ่มต้นขึ้น การคาดคะเนถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อจากนี้ยังเป็นไปไม่ได้ แม้แค่การประเมินสถานการณ์ในภาพกว้างก็ตามที สิ่งที่พอจะทำได้ในขณะนี้คือ สรุปประเด็นสำคัญที่มีส่วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้                 

การจะบอกว่า การปฏิวัติทำให้ประชาชนชาวสยามตกใจก็เป็นไปไม่ได้เช่นกัน จริงๆแล้ว ประชาชนดูเหมือนจะเพิกเฉยต่อการปฏิวัติ และยังคงมองว่า เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นต่อหน้าต่อตาและจำกัดวงอยู่แค่รอบๆพระราชวังดุสิต เป็นเพียงตอนหนึ่งของหนังที่พวกเขาชื่นชอบ ถนนหนทางยังคงเป็นปกติ มีผู้คนไม่มากไม่น้อยกว่าธรรมดา ร้านรวงต่างๆยังคงเปิดรถไฟ รถราง ที่ทำการไปรษณีย์ โทรศัพท์ยังคงใช้งานได้ ข้าราชการทุกคนไปทำงานตามเวลา นายทหารกองบัญชาการยังอยู่ประจำโต๊ะ ทว่าไม่มีงานทำแต่อย่างใด

ผู้คนไม่มีปฏิกิริยาตอบสนองกับเสียง ‘ไชโย’ ที่พวกทหารบนรถร้องตะโกน ปราศจากความกระตือรือร้น ทั้งไม่ปรบมือและไม่ตำหนิใดๆ ราวกับไม่รู้ไม่เห็นอะไรเลย พวกเขาค่อยๆหยิบใบปลิวจำนวนมากที่รถทหารโปรยทิ้งไว้ตามถนนมาอ่านเงียบๆ และเก็บใส่กระเป๋าโดยไม่วิพากษ์วิจารณ์อะไร ไม่มีแม้กระทั่งธงหรือสัญญาณใดๆจากส่วนของประชาชนที่จะบ่งบอกถึงเหตุการณ์นี้ แม้จะเป็นเหตุการณ์สำคัญที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ นั่นคือ การประกาศใช้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์ทรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจจะเป็นการสิ้นสุดของราชวงศ์จักรีในไม่ช้า”

(โปรดติดตามตอนต่อไป)


(พันโท อองรี รูซ์มีความสามารถทางด้านภาษา สามารถพูดได้หลายภาษา ได้แก่ เยอรมัน สเปน ลาว เวียดนาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาไทย.   ข้อความทั้งหมดในส่วนของนายพันโท อองรี รูซ์ ข้างต้น มาจาก การปฏิวัติสยาม ๒๔๗๕ ในทัศนะของพันโท อองรี รูซ์, Henri Roux เขียน พิมพ์พลอย ปากเพรียว แปล, (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน: 2564) หน้า 44-46).

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ลูกชายเอนก โบกมือลาพรรครวมไทยสร้างชาติ ขอกลับมาเป็นพลเมืองไทยไร้ฝักฝ่ายเต็มขั้น

ความเคลื่อนไหวพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) วันเดียวกันนี้ นายเขตรัฐ เหล่าธรรมทัศน์ ได้ยื่นลาออกจากสมาชิกพรรค รทสช. โดย นายเขตรัฐ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวระบุว่า “กราบผู้ใหญ่ที่เคารพและสวัสดีเพื่อนมิตรที่รัก

ไทยในสายตาต่างชาติ: สมัยรัชกาลที่เจ็ด (ตอนที่ 23: การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475)

ผู้เขียนขอหยิบยกรายงานจากสถานทูตอื่นๆที่มีต่อเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองต่อจากตอนที่แล้ว โดยผู้เขียนได้คัดลอกมาจากหนังสือ

คมกริบ! 'อ.ไชยันต์' ซัดคนอำมหิตที่แท้จริงคือ ผู้ได้ประโยชน์จากกลุ่มเยาวชนต่อต้านสถาบัน

ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ผู้ที่ให้การสนับสนุน-อยู่เบื้องหลังเยาวชนที่ออกมาประท้วงด้วยอาการและอารมณ์ที่รุนแรง

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 10)

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490

“อนุทิน” เซ็นประกาศคืนชายหาดเลพัง ปิดตำนานกว่า20ปี หลังกรมที่ดินต่อสู้ยืดเยื้อกับผู้บุกรุก พร้อมคืนพื้นที่สาธารณะให้ชาวภูเก็ต

เมื่อวันที่ 9 พ.ค. ที่บริเวณชายหาดเลพัง ต.เชิงทะเล อ.ถลาง จ.ภูเก็ต นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย เปิดกิจกรรม “มหาดไทย มอบความสุข คืนชายหาดเลพัง ให้ชาวภูเก็ต”

ไทยในสายตาต่างชาติ: สมัยรัชกาลที่เจ็ด (ตอนที่ 22: การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475)

(ต่อจากตอนที่แล้ว) ในรายงานวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1932 (พ.ศ. 2475) ของพันโท อองรี รูซ์ ผู้ช่วยทูตทหารบกและทหารเรือประจำสยาม ประจำสถานอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำสยาม มีความว่า