ศึกทหารพม่ากับฝ่ายต่อต้าน ที่ยะไข่เพิ่มความรุนแรงต่อเนื่อง

ยิ่งวันการสู้รบในเมียนมาก็ยิ่งขยับเข้าไปในจุดที่ตั้งของประชาชนเพราะฝ่ายกองทัพพม่ากำลังเพลี่ยงพล้ำ และต้องการจะกดดันให้ฝ่ายต่อต้านยอมถอยออกจากแนวรบที่กำลังได้เปรียบฝ่ายทหารประจำการ

ล่าสุดการถล่มตลาดที่ผู้คนพลุกพล่านในยะไข่กลายเป็นโศกนาฏกรรมรอบล่าสุดที่ยิ่งจะสร้างความโกรธแค้นให้กับชาวบ้านพม่าที่ต่อต้านรัฐบาลทหารพม่าหนักขึ้นอีก

กระสุนปืนใหญ่หลายชุดของทางการพม่าตกลงในตลาดที่คึกคักที่สุดในภาคตะวันตกของรัฐยะไข่ มีพลเรือนตาย 12 และบาดเจ็บไม่น้อยกว่า 80 คน

ฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายต่อต้านต่างชี้นิ้วกล่าวโทษซึ่งกันและกันว่าเป็นผู้ริเริ่มการโจมตี

ฝ่ายต่อต้านหลักในย่านนี้คือกองทัพอาระกัน (Arakan Army - AA) ซึ่งปักหลักปฏิบัติการในรัฐยะไข่อันมีพรมแดนติดกับบังกลาเทศ

กองทัพ AA ยืนยันว่าหน่วยทหารจากเรือรบของกองทัพเมียนมา ที่ลอยลำอยู่ที่เมืองท่าซิตตเว เมืองหลวงของยะไข่ฝ่ายผู้ยิงปืนใหญ่เข้าใส่ตลาดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา

รัฐบาลทหารออกแถลงการณ์ในช่องโทรทัศน์เมียวดีอันเป็นกระบอกเสียงทางการ กล่าวว่ากองทัพอาระกันคือฝ่ายผู้ยิงปืนใหญ่ใส่ตลาด

แต่ไม่มีรายละเอียดที่จะยืนยันยอดความเสียหายในพื้นที่ให้มีความน่าเชื่อถือว่ามีสาระที่มีการตรวจสอบแล้วแต่อย่างใด

นี่เป็นภาพล่าสุดของสกานการณ์สู้รบในเมียนมาที่ยังตกอยู่สภาพของสงครามกลางเมืองตั้งแต่มิน อ่อนหล่ายก่อรัฐประหารโค่นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของอองซานซูจีตั้งเมื่อปี 2021

กองทัพพม่าเริ่มจะตกเป็นฝ่ายตั้งรับตั้งแต่เดือนตุลาคมปีที่แล้ว เพราะกลุ่มต่อต้านหลายกลุ่มผนึกกำลังกันโจมตีป้อมค่ายทางทหารและตำรวจหลายแห่งในพื้นที่หลายภาคส่วนทั่วประเทศ

ที่น่าสังเกตคือระดับการสู้รบในรัฐยะไข่นั้นได้ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

การสู้รบส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในบริเวณพื้นที่ใกล้กับเมืองซิตตเวซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐนี้

จุดนี้คือที่ตั้งของศูนย์การค้าและพาณิชย์เพราะมีตั้งท่าเรือในอ่าวเบงกอลที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ทั้งด้านความมั่นคงและเศรษฐกิจอย่างยิ่ง

กลุ่มกองกำลังติดอาวุธชาติพันธุ์กองทัพอาระกันสามารถยกระดับการสู้รบจนสามารถผลักดันกองทหารฝั่งรัฐบาลให้ออกจากเขตเมืองแล้วอย่างน้อย 5 แห่ง

รวมถึงเมืองการค้าสำคัญอย่างปาเลตวาที่อยู่ใกล้ชายแดนอินเดียและบังกลาเทศด้วย

สร้างความหวั่นไหวให้กับเพื่อนบ้านด้านตะวันตกมากพอ ๆ กับที่จีนทางเหนือได้แสดงความกังวลจนต้องเข้ามาไกล่เกลี่ยให้มีการหยุดยิงซึ่งยังไม่ถือว่าได้ผลนัก                 

สำนักข่าวอิระวดีรายงานว่าฐานทัพเรือและฐานทัพอื่นๆ รอบๆ เมืองซิตตเว ได้ทำการระดมโจมตีเมืองอย่างไม่เลือกหน้าตั้งแต่ช่วงเย็นวันพุธของสัปดาห์ที่ผ่านมา

ชาวบ้านคนหนึ่งเล่าว่า “เวลาประมาณ 8.00 น. ระเบิดร่วงลงมาในตลาด มันมาจากกองทัพเรือ กองกำลังรัฐบาลทหารทำการยิงตามอำเภอใจตั้งแต่เย็นวานนี้ (วันพุธ)”

หน่วยรบจากกองทัพโจมตีเมืองซิตตเวด้วยการสุ่มโจมตีบริเวณที่อยู่อาศัยและเป้าหมายอื่นๆ ที่ไม่ใช่ทางทหารเพื่อสกัดไม่ให้ AA เข้ามายึดเมืองนี้

ชาวบ้านบอกว่าทหารฝ่ายต่อต้าน AA มีเป้าหมายที่จะยึดครองทั้งรัฐในปีนี้

AA ได้ประกาศก่อนหน้านี้ว่าสถานที่ที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับชาวยะไข่อยู่ในพื้นที่ในรัฐยะไข่ซึ่งปัจจุบันอยู่ภายใต้การควบคุมของตน

เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ทางกลุ่มได้เรียกร้องให้ประชาชนและชนกลุ่มน้อยอื่นๆ ออกจากเมืองต่างๆ ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาล เช่น ย่างกุ้ง และมัณฑะเลย์ และย้ายไปยังดินแดนที่ AA ควบคุม

ผู้บาดเจ็บที่ตลาดสดถูกส่งตัวส่งโรงพยาบาล Sittwe General โดยกองกำลังของรัฐบาลทหารเข้ายึดครองโรงพยาบาลและต่อมาได้เคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ 5 คนที่อาการสาหัสไปยังโรงพยาบาลในย่างกุ้งด้วยเฮลิคอปเตอร์ทหาร

ในเมืองซิตตเว เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ส่วนใหญ่ออกจากรัฐยะไข่ไปยังสถานที่ที่ปลอดภัยกว่า

และเพราะความขัดแย้งที่นำไปสู่การสู้รบในรัฐนี้ก็ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์

“ป้าของฉันถูกตีที่ศีรษะระหว่างการโจมตีและเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในเมืองซิตตเว จำนวนพลเรือนที่เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บมีเพิ่มมากขึ้น เมื่อช่วงบ่ายวันนี้ คาดว่ามีผู้เสียชีวิตประมาณ 15 ราย และบาดเจ็บเกือบ 80 ราย” ชาวบ้านอีกคนแจ้งกับสื่อท้องถิ่น

ในรัฐยะไข่นี้เองที่กองทัพของรัฐบาลทหารต้อเผชิญกับความพ่ายแพ้อย่าต่อเนื่อง

โดยสูญเสียไปแล้ว 7 เมือง ฐานทัพหลัก ด่านหน้า และเรือรบหลายลำ นับตั้งแต่ AA เปิดฉากรุกในรัฐเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายนที่ผ่านมา

และนับแต่นั้นเป็นต้นมา รัฐบาลทหารก็ได้ข่มเหงพลเรือนยะไข่ด้วยวิธีต่างๆ

รวมถึงการจับกุมชาวยะไข่ในเมืองต่างๆ เช่น ย่างกุ้งและมัณฑะเลย์ จำกัดสิทธิการเดินทางของพวกเขาทั่วประเทศ และโจมตีพื้นที่ที่อยู่อาศัยในรัฐยะไข่

สำนักงานประสานงานด้านมนุษยธรรมและการพัฒนาของ AA (HDCO) ประกาศเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ว่าการโจมตีของทหารรัฐบาลทหารทำให้มีพลเรือนบาดเจ็บ 468 ราย เสียชีวิต 111 รายและบาดเจ็บ 357 ราย และทำให้ผู้คน 268,731 รายกลายเป็นผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ (IDP) นับตั้งแต่การโจมตีเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน

โศกนาฏกรรมของพม่ายังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยยังไม่มีสัญญาณว่าจะมีช่องทางของการเจรจาสงบศึกได้เมื่อใด...และใครจะเป็นผู้ไกล่เกลี่ยที่ประสบความสำเร็จได้...ถ้าไม่ใช่อาเซียนที่มีประเทศไทยเป็นหนึ่งในแกนสำคัญของการประสานและผลักดันให้เกิดสันติภาพจริง ๆ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เมียวดี: สงคราม, ทุนสีเทา, กาสิโน, มาเฟียและยาเสพติด

สงครามในเมียวดีตรงข้ามแม่สอดของจังหวัดตากของไทยซับซ้อนกว่าเพียงแค่การสู้รบแย่งชิงพื้นที่ระหว่างฝ่ายกองทัพพม่ากับฝ่ายต่อต้านเท่านั้น

งบมะกันก้อนใหม่จะช่วยยูเครน พลิกสถานการณ์สู้รบได้แค่ไหน?

แม้ว่ารัฐสภาสหรัฐฯจะเปิดไฟเขียวให้งบประมาณช่วยเหลือทางทหารก้อนใหม่ แต่ยูเครนก็ยังต้องดิ้นรนไม่ให้แพ้สงครามกับรัสเซีย

ทิม คุกบินไปเวียดนาม-อินโดฯ ทำไมไม่แวะประเทศไทย?

สัปดาห์ก่อน ทิม คุก ซีอีโอของ Apple บินข้ามไทยไปเวียดนาม, อินโดนีเซียและสิงคโปร์ เพื่อสรุปแผนการลงทุนหรือเพิ่มกิจกรรมในประเทศเหล่านั้น

มะกันทุ่ม 3.5 ล้านล้านบาท ให้ยูเครน, อิสราเอล, ไต้หวัน!

งบประมาณก้อนใหญ่ที่สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ อนุมัติเพื่อช่วยยูเครน, อิสราเอล และไต้หวันเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา จะช่วยลดความกังวลของยูเครนว่ากำลังจะแพ้สงครามได้หรือไม่...ยังต้องคอยดูของจริงในสมรภูมิรบต่อไป

เชื่อไหม:อิสราเอลกับ อิหร่านเคยรักกัน?

อิสราเอลกับอิหร่านเปิดศึกสงครามที่สร้างความสั่นสะเทือนไปทั่วโลกวันนี้ มีคำถามว่าทั้ง 2 ชาตินี้กลายเป็นศัตรูคู่อาฆาตกันอย่างรุนแรงเช่นนี้มาตั้งแต่เมื่อไหร่ และมีเหตุผลแห่งความบาดหมางกันอย่างไร