หนาว! นพ.ธีระยกผลวิจัยซาอุฯ บอก Long COVID ส่งผลปัญหาจิตเวชได้

หมอธีระยกผลงานวิจัยโควิดต่างชาติเรื่อง Long COVID จีนพบอาการคงค้างแม้ห่างมา 2 ปี อังกฤษพบความผิดปกติในหลอดเลือด ส่วนซาอุฯ มีความผิดปกติทางจิตประสาท

12พ.ค.2565 - รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์โควิด-19 ประจำวันที่ 12 พฤษภาคม 2565 ว่าเมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 552,113 คน ตายเพิ่ม 1,441 คน รวมแล้วติดไปรวม 518,980,114 คน เสียชีวิตรวม 6,281,875 คน 5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ เยอรมัน สหรัฐอเมริกา ไต้หวัน ออสเตรเลีย และเกาหลีใต้

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 6 ใน 10 อันดับแรก และ 13 ใน 20 อันดับแรกของโลก จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 67.64 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 63.91 การติดเชื้อใหม่ในทวีปเอเชียนั้นคิดเป็นร้อยละ 30.27 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 13.67

...สถานการณ์ระบาดของไทย จากข้อมูล Worldometer เช้านี้พบว่า เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่ รวม ATK สูงเป็นอันดับ 10 ของโลก และอันดับ 4 ของเอเชีย ในขณะที่จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 8 ของโลก ถึงแม้ไทยจะปรับระบบรายงานตั้งแต่ 1 พ.ค.เป็นต้นมาจนทำให้จำนวนเสียชีวิตที่รายงานนั้นลดลงก็ตาม ทั้งนี้จำนวนเสียชีวิตของไทยเมื่อวานนั้นคิดเป็น 28.42% ของการเสียชีวิตทั้งหมดที่รายงานของทวีปเอเชีย

...อัพเดตงานวิจัยโควิด-19
1. การศึกษาจากประเทศจีนโดย Huang L และคณะพบว่า คนที่ติดเชื้อแล้วป่วยจนต้องนอนรักษาตัวในรงพยาบาล มีอาการคงค้าง Long COVID อย่างน้อย 1 อาการ มากถึง 55% แม้ติดตามยาวมาถึง 2 ปี

2. งานวิจัยโดย Prasanan N และคณะ จาก UCL สหราชอาณาจักร พบว่ากลุ่มคนที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 แล้วมีอาการคงค้าง Long COVID จะตรวจพบว่ามีความผิดปกติของสารเคมีในเลือดที่อาจนำไปสู่การแข็งตัวของเลือดได้ง่าย ทั้งนี้ในกลุ่มผู้ป่วย Long COVID ในการศึกษานั้น มีถึง 1/3 ที่ตรวจพบว่ามีอัตราส่วนของสาร Von Willebrand Factor (VWF) Antigen (Ag):ADAMTS13 สูงขึ้นกว่า 1.5 เท่า นอกจากนี้หากเจาะลึกในกลุ่มที่เป็น Long COVID และมีสมรรถนะในการออกกำลังกายที่จำกัด (impaired exercise capacity) จะตรวจพบความผิดปกติข้างต้นได้ถึง 55% และมากกว่ากลุ่มที่ไม่มีปัญหาสมรรถนะในการออกกำลังกาย ถึง 4 เท่า งานวิจัยนี้ชี้ให้เห็นถึงปัญหา Long COVID ว่าอาจสัมพันธ์กับเรื่องความผิดปกติระยะยาวในระบบเลือดและหลอดเลือดขนาดเล็ก ที่เกิดหลังจากติดเชื้อโรคโควิด-19

3. การศึกษาโดย Alghamdi HY และคณะจากประเทศซาอุดิอาระเบีย พบว่ากลุ่มคนที่เคยติดเชื้อโรคโควิด-19 แล้ว จะเกิดปัญหา Long COVID ที่มีอาการผิดปกติของระบบประสาท และปัญหาจิตเวชได้ เกิดได้ตั้งแต่ปัญหาด้านความคิดความจำที่ถดถอยลง ปัญหาด้านการนอนหลับ ซึมเศร้า ความผิดปกติทางอารมณ์ ไปจนถึงการสูญเสียสมรรถนะการรับรสหรือดมกลิ่น โดยจากการสำรวจพบว่ามีผู้ที่ประสบอาการต่างๆ ตั้งแต่ 18.9-63.9% ทั้งนี้ความผิดปกติทางอารมณ์ (mood alteration) ที่คงอยู่ยาวนานกว่า 6 เดือนนั้นพบได้สูงถึง 7.6%

...สำหรับไทยเรา ผลลัพธ์ในด้านการควบคุมป้องกันโรคระบาดนั้นสะท้อนให้เห็นได้ทั้งในเรื่องจำนวนผู้ติดเชื้อแต่ละวัน จำนวนเสียชีวิตแต่ละวัน ซึ่งยังติดอันดับ Top 10 ของโลก การใช้ชีวิตประจำวันจำเป็นต้องมีความระมัดระวัง ป้องกันตัวเสมอ ทั้งการทำงาน ทำมาค้าขาย ศึกษาเล่าเรียน การใส่หน้ากากนั้นสำคัญมาก เพราะเป็นด่านสุดท้ายที่จัดการตนเองได้ ใส่หน้ากากควรปิดปากปิดจมูก ไม่ใช่ใส่ๆ หลุดๆ การใส่แล้วพูด หากหน้ากากหลุดลงมา แปลว่าหน้ากากนั้นไม่เหมาะ ต้องปรับเปลี่ยนชนิดหน้ากาก หรือวิธีการใส่ และหน้ากากอนามัยที่ใช้ควรแนบชิดกับใบหน้า ถ้ามีร่องข้างแก้มข้างจมูก ควรกดให้แนบชิด หรือใส่หน้ากากผ้าทับด้านนอกเพื่อช่วยกดหน้ากากอนามัยด้านในให้แนบกับใบหน้ายิ่งขึ้น


อ้างอิง
1. Huang L et al. Health outcomes in people 2 years after surviving hospitalisation with COVID-19: a longitudinal cohort study. The Lancet Respiratory Medicine. 11 May 2022.
2. Prasannan N et al. Impaired exercise capacity in post-COVID syndrome: the role of VWF-ADAMTS13 axis. Blood Advances. 11 May 2022.
3. Alghamdi HY et al. Neuropsychiatric symptoms in post COVID-19 long haulers. Acta Neuropsychiatr. 11 May 2022.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอธีระวัฒน์' แจง 5 ข้อ พูดเรื่องผลกระทบการวัคซีนโควิดทำไม ในเมื่อมันผ่านไปแล้ว

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า

‘หมอมนูญ’ เตือนโควิดหลังสงกรานต์เปลี่ยนไป ใครมีอาการแบบนี้รีบตรวจ ATK

อาการของโรคโควิดเปลี่ยนไป ส่วนใหญ่เป็นอาการของทางเดินหายใจส่วนบน คอ จมูก มากกว่าทางเดินหายใจส่วนล่าง หลอดลม และปอด

'นิสิตเก่าจุฬาฯ' ตามบี้ 'วิทยานิพนธ์ณัฐพล' อุทธรณ์คำสั่ง ให้จุฬาฯเปิดเผยมติสอบสวน

นางวิรังรอง ทัพพะรังสี ประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อการปฏิรูปประเทศ ในฐานะนิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ รุ่น 30 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก

‘หมอมนูญ’ เผยผลติดตามสถานการณ์ 5 โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ

ข้อมูลของโรงพยาบาลวิชัยยุทธที่ติดตามโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ไวรัสไข้หวัดใหญ่  ไรโนไวรัส (Rhinovirus) อาร์เอสวี (RSV) และ ฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส Human metapneumovirus (hMPV)