'นักไวรัสวิทยา' ชี้โลกถึงเวลา update วัคซีนโควิด-19 ใหม่

21 มิ.ย.2565- ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ไบโอเทค โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana ระบุว่างานวิจัยชิ้นหนึ่งเพิ่งลงตีพิมพ์ในวารสาร Nature Medicine โดยทีมวิจัยของฮ่องกง เกี่ยวกับสูตรการทำนายประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของวัคซีนโควิด-19 สูตรปัจจุบัน (สายพันธุ์ Wuhan) กับการเปลี่ยนแปลงของไวรัสที่เกิดขึ้นตรงจุดยุทธศาสตร์สำคัญของโปรตีนหนามสไปค์ โดยการเก็บข้อมูลของงานวิจัยเรื่องประสิทธิภาพและประสิทธิผลของวัคซีน จากงานวิจัย 49 ชิ้น จำนวนตัวอย่างรวมเกือบ 2 ล้านคน จาก 31 พื้นที่ในหลายประเทศ โดยทีมวิจัยบอกว่า ถ้าใช้สูตรที่พัฒนาขึ้นจะพบว่า ประสิทธิภาพของวัคซีน mRNA ต่อเดลต้าคำนวณออกมาได้ 82.8% ซึ่งใกล้เคียงกับตัวเลขของจริงที่ 83%

ถ้านำสูตรดังกล่าวมาคิดกับวัคซีนใน platform ต่างๆ ทีมวิจัยพบว่า ค่าประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของวัคซีนจะลดลงตามไวรัสที่เปลี่ยนไปไม่เท่ากัน โดยวัคซีนที่ลดลงไวที่สุดคือ วัคซีนกลุ่มเชื้อตาย และ วัคซีนกลุ่มโปรตีนซับยูนิต โดยความชันของกราฟใกล้เคียงกัน แต่ประสิทธิภาพของวัคซีนกลุ่มเชื้อตายเริ่มต้นน้อยกว่ากลุ่มโปรตีนซับยูนิต ทำให้กลุ่มเชื้อตายดูเหมือนเสียประสิทธิภาพต่อการเปลี่ยนแปลงของไวรัสได้ไวที่สุด ส่วนกลุ่ม Viral vector มีความชันของกราฟใกล้เคียงกับกลุ่ม mRNA แต่ค่าประสิทธิภาพของ mRNA เริ่มต้นมีสูงกว่ากลุ่ม Viral vector จึงทำให้ mRNA สามารถทนต่อการเปลี่ยนแปลงของไวรัสได้สูงกว่าวัคซีนรูปแบบอื่นๆ

ทีมวิจัยนำสูตรการทำนายนี้มาใช้กับไวรัสโอมิครอนที่กำลังเปลี่ยนแปลงหนีวัคซีนไปเรื่อยๆ และพบว่า เชื้อตายและโปรตีนซับยูนิตไม่มีประสิทธิภาพต่อโอมิครอนทุกตัว ขณะที่ Viral vector เหมือนจะมีประสิทธฺภาพต่อ BA.1 ที่ประมาณ 10+% แต่พอไวรัสเปลี่ยนเป็น BA.1.1, BA.2 และ BA.3 ประสิทธิภาพออกมาต่ำกว่า 0 วัคซีนกลุ่ม mRNA เป็นกลุ่มเดียวที่ยังมีประสิทธิภาพเหลืออยู่ในโอมิครอนทุกกลุ่มที่นำมาคำนวณ แต่ลดลงจาก 33% ต่อ BA.1 เหลือ 11.9% ต่อ BA.2 และ อื่นๆ คาดว่าตัวเลขต่อ BA.4/5 คงอาจทำให้ mRNA หล่นต่ำกว่านั้นอีก

เป็นข้อมูลที่น่าสนใจครับ และ ทำให้เห็นว่า วัคซีนอาจจะจำเป็นต้อง update กันซะที และ ถ้ามีเครื่องมือแบบนี้ช่วยทำนายก็จะช่วยในการออกแบบวัคซีนได้ไวขึ้นกว่าเดิมอีกเยอะครับ

https://www.nature.com/articles/s41591-022-01877-1

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อึ้ง! นักไวรัสวิทยายกผลงานวิจัยไอร์แลนด์ชี้ 'อัลไซเมอร์' อาจเกิดจากจุลินทรีย์ที่อยู่ในลำไส้

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค)

'ศูนย์จีโนม' ผวา! พบโอมิครอน 'กลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว' เพิ่มอีกตำแหน่ง

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า น่ากังวล! กลุ่มโอมิครอนกลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว “L455F + F456L”

งานวิจัยแดนปลาดิบชี้สารใน 'ชาเขียว-ดำ' ช่วยยับยั้งโอมิครอนได้ดี!

ข่าวดีเล็กๆ นักไวรัสวิทยาเผยมีการวิจัยสัญชาติปลาดิบเพิ่งตีพิมพ์ สารที่อยู่ในชาเขียวและชาดำช่วยยับยั้งไวรัสโอมิครอนได้ดี ลองผลิตเป็นลูกอมทดสอบแล้วแต่ใช้ได้แค่ 15 ปีเมื่อหมดก็สิ้นฤทธิ์

นักไวรัสวิทยาแนะทำตัวเหมือนป้องกันโควิดสกัดไข้หวัดใหญ่ที่พุ่งช่วงนี้ได้

นักไวรัสวิทยาแจงรายละเอียดข้อมูลไข้หวัดใหญ่ไทยกับ WHO เตือนช่วงนี้ตัวเลขไทยพุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง แนะใช้ช่องป้องกันตัวเหมือนโควิด

ผวา! โอมิครอน BA.2.86 ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกยกระดับเฝ้าใกล้ชิด

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ผลการทดลองจากหลายห้องปฏิบัติได้ออกมายืนยันตรงกันว่าโอมิครอน BA.2.86