
11 ก.ค.2565-ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ไบโอเทค โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana ระบุว่า ทีมวิจัยในออสเตรเลียได้เปรียบเทียบคุณสมบัติของไวรัส BA.5 เทียบกับ BA.1 และ BA.2 ในห้องปฏิบัติการ และ พบว่าไวรัส BA.5 มีการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างออกไปจากเดิมโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลไกการเข้าสู่เซลล์เจ้าบ้านซึ่งก่อนหน้านี้หลายทีมวิจัยพบว่า โอมิครอน โดยเฉพาะ BA.1 อาจจะติดเซลล์ปอดได้น้อยกว่าเดลต้าเพราะโอมิครอนใช้วิธีเข้าเซลล์ไม่เหมือนเดลต้า ซึ่งเซลล์ปอดจะเข้ายากกว่าเดิมด้วยกลไกที่ BA.1ใช้… เป็นการเปลี่ยนแปลงของไวรัสที่ช่วยให้ความรุนแรงของไวรัสลดลงได้ในระดับนึง
ผลการศึกษาของทีมออสเตรเลียพบว่า BA.5 อาจจะปรับตัวเองให้กลับมาใช้กลไกเดิมเหมือนเดลต้า หรือ ใช้กลไกใหม่ที่ผสมๆกันระหว่างเดลต้ากับโอมิครอน ที่ส่งผลให้เข้าเซลล์อย่างเซลล์ปอดได้ง่ายขึ้น…เป็นข้อมูลที่บอกว่า BA.1 เปลี่ยนได้ BA.5 ก็เปลี่ยนกลับได้ ไม่มีอะไรที่คาดการณ์ได้กับไวรัสที่มีโอกาสติดโฮสต์ได้มหาศาลขนาดนี้ กลไกใดๆที่ช่วยให้ไวรัสอยู่รอด เพิ่มจำนวนได้ดีที่สุด ไวรัสจะปรับตัวเองไปทางนั้น ความรุนแรงเป็นของแถมจะมากขึ้นหรือน้อยลงตอบอะไรไม่ได้
อีกข้อมูลที่น่าสนใจคือ ทีมวิจัยเทียบปริมาณไวรัสที่ติดเชื้อได้ต่อค่า RT-PCR ที่นิยมวัดกันเป็น Ct (จำนวนรอบของปฏิกิริยาที่จำเป็นต้องใช้ในการให้ผลบวก) ตัวเลขง่ายๆนะครับสำหรับ BA.2 (จุดสีเขียว) ค่า Ct ที่ 20 อาจจะมีไวรัสที่ติดเชื้อไปต่อได้ 100 อนุภาค(ที่เหลือ RNA อาจจะมาจากซากเชื้อ) แต่ BA.5 (จุดสีม่วง) ค่า Ct ที่ 20 เหมือนกัน อนุภาคไวรัสที่ยังคงความสามารถในการติดเชื้อได้มีสูงถึง 10,000 อนุภาค หรือมากกว่าเดิม 100 เท่า ซึ่งเป็นลักษณะใกล้เคียงกับไวรัสตัวก่อนเกิดโอมิครอน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งคุณลักษณะของไวรัสที่ปรับตัวย้อนกลับไปเหมือนสายพันธุ์เก่ากว่าโอมิครอน
ตั้งแต่โควิดอุบัติมาทำให้ผมเชื่อว่าการทำนายหรือคาดการณ์ไวรัสในอนาคตว่าจะเป็นแบบนั้นแบบนี้คงจะเป็นการใช้องค์ความรู้เดิมจากไวรัสตัวอื่นมาใช้ เมื่อองค์ความรู้ใหม่เกิดขึ้นทุกวันและขัดจากความเชื่อเดิมๆว่าไวรัสจะปรับเปลี่ยนไปแบบเดิมที่เชื่อกัน ถ้าเราปรับทันจะช่วยให้ตั้งรับกับการเปลี่ยนแปลงได้ทัน แต่ถ้ายังยึดติดกับอะไรเดิมๆบางครั้งอาจจะไม่มีประโยชน์ที่จะยอมรับอะไรภายหลังครับ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ผงะ! อาจารย์หมอจุฬาเผยฝุ่นพิษไม่ได้ทำร้ายแค่ปอดแต่เสี่ยงหัวใจวายด้วย
นพ.ธีระวัฒน์เผยPM 2.5 ไม่ได้ทำร้ายปอดอย่างเดียว แต่มีผลต่อหัวใจ ซ้ำร้ายเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญอันดับสี่ ในการเสียชีวิตมากกว่าไขมันสูง-ความอ้วน และไตแปรปรวนด้วยซ้ำ
คณะแพทย์ศาสตร์ รพ.รามาธิบดีอธิบายต้นตอทำไม WHO ยังเตือนเรื่องโควิด
คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีไขข้อข้องใจทำไม WHO ยังเตือนเรื่องโควิด19 เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข เหตุมาจากการกลายพันธุ์จำนวนมาก แต่ยังดีวัคซีนทั้งแบบฉีดและกินเอาอยู่
'นพ.ธีระ' ชี้โควิดระลอกใหม่ๆ เด็กโตติดมากกว่าเด็กเล็ก!
หมอธีระเผยผลวิจัยโควิดเด็กทั่วโลก ชี้อัตราติดเชื้อกระโดดสูงโดยเฉพาะในระลอกใหม่ เด็กโตติดมากกว่าเด็กเล็ก วัคซีน mRNA ฉีดในเด็กอายุ 5-11 ปีให้ผลดี
WHOเปิดตัวเลขสังเวยโควิด 2 เดือนดับแล้ว 1.7 แสนรายทั่วโลก!
หมอธีระยกตัวเลขเสียชีวิตโควิดจาก WHO ชี้ 2 เดือนที่ผ่านมาสังเวยแล้ว 170,000 คน เฉลี่ย 10,000-30,000 รายถือว่ายังน่าวิตก พร้อมแนะแนวทางตรวจการติดเชื้อด้วยตนเองล่าสุด
'ศ.นพ.ยง' ย้ำไทยจะไม่กลับมาปิดบ้านปิดเมืองอีกแล้ว
'หมอยง' เตรียมบรรยายออนไลน์เรื่องโควิด 19 ในปี 2023 และชีวิตปกติใหม่ ย้ำเราจะไม่ย้อนกลับมาปิดบ้านปิดเมืองอีกแล้ว
โควิดรายวันทั่วโลก ติดเชื้อเพิ่ม 1.6 แสนคน เสียชีวิต 678 คน
ทั่วโลกติดเพิ่ม 160,451 คน ตายเพิ่ม 678 คน รวมแล้วติดไป 672,993,312 คน เสียชีวิตรวม 6,743,006 คน 5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน รัสเซีย และสหรัฐอเมริกา