25 ก.ค.2565 - ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงรายงานความคืบหน้าการเฝ้าระวังสายพันธุ์เชื้อโควิด-19 ในประเทศไทย ว่า การตรวจรหัสพันธุกรรมสายพันธุ์โควิด-19 สัปดาห์ที่ผ่านมา ตรวจไปได้ 468 ราย พบว่า เป็นสายพันธุ์ย่อยโอมิครอน BA.4 และ BA.5 และแซงสายพันธุ์ BA.2 ที่มีอยู่เดิมเรียบร้อยแล้ว
นพ.ศุภกิจ กล่าวว่าโดยพบสายพันธุ์ BA.4 และ BA.5 จำนวน 320 ราย BA.2 จำนวน 143 ราย BA.1 จำนวน 5 ราย กราฟแนวโน้มเห็นชัดเจนว่า การติดเชื้อ BA.4 และ BA.5 ในผู้เดินทางจากต่างประเทศเกือบ 100% เพราะเราตรวจเฉพาะผู้ที่มีอาการป่วย ส่วนในประเทศขึ้นไปที่ ร้อยละ 67 ทำให้ภาพรวมเป็น ร้อยละ 68 ทั้งนี้ หากแยกสัดส่วนพบว่า เป็นกรุงเทพมหานคร มีความชุกของ BA.4 และ BA.5 ร้อยละ 80 ส่วนต่างจังหวัด ร้อยละ 60 ซึ่งกราฟก็จะขึ้นไปเรื่อยๆ บอกได้ว่า BA.4 และ BA.5 เมื่อเทียบกับ BA.1 และ BA.2 แพร่ได้เร็วกว่า ซึ่งสอดคล้องกับตัวเลขติดเชื้อมากขึ้น” นพ.ศุภกิจ กล่าว
นพ.ศุภกิจ กล่าวอีกว่า สำหรับการตรวจพันธุกรรมทั้งตัว (Whole genomes sequencing) พบว่า BA.5 มีมากกว่า BA.4 ประมาณ 3 ต่อ 1 ฉะนั้น อนุมานได้ว่า ตรวจพบ BA.5 เป็นส่วนใหญ่ โดยจังหวัดที่พบผู้ติดเชื้อ BA.4 และ BA.5 เกิน 50 ราย คือ กรุงเทพฯ และ จ.เชียงใหม่ ส่วนความรุนแรงของสายพันธุ์ ได้ตรวจตัวอย่างจากผู้ป่วยที่อาการรุนแรงจากข้อมูลที่ได้ ซึ่งยังมีความจำกัดเนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มอาการน้อย ไม่ได้มีการตรวจหาสายพันธุ์ โดยสัปดาห์ที่ผ่านมา วันที่ 16-22 กรกฎาคม 2565 พบว่า ผู้ป่วยในกรุงเทพฯ อาการไม่รุนแรง 122 ราย พบเป็น BA.4 และ BA.5 ประมาณ ร้อยละ 77 ส่วนอาการรุนแรง 54 ราย พบเป็น BA.4 และ BA.5 ประมาณร้อยละ 87
“ฉะนั้น สัดส่วน BA.4 และ BA.5 พบในกลุ่มไม่รุนแรงสูงกว่ากลุ่มอาการรุนแรง พอจะอนุมานเบื้องต้นได้ว่า รุนแรงกว่าของเดิมบ้าง ขณะที่ ผู้ป่วยในต่างจังหวัด พบว่ากลุ่มที่อาการไม่รุนแรงเจอเป็น BA.4 และ BA.5 ประมาณ ร้อยละ 55 ส่วนอาการรุนแรงเจอประมาณ ร้อยละ 73 พออนุมานได้ว่า หากติดเชื้อ BA.4 และ BA.5 มีโอกาสรุนแรงมากกว่า แต่ไม่สามารถบอกได้ว่า จริงๆ รุนแรงกี่เปอร์เซ็นต์ เพราะเราไม่ได้ตรวจกับกลุ่มที่อาการน้อย หรือไม่มีอาการ แต่เป็นการเปรียบเทียบระหว่างเชื้อเท่านั้น ความแตกต่างประมาณร้อยละ 10 โอกาสที่ BA.2 เดิม มีอาการรุนแรง 2 คน พอมาเจอ BA.5 ก็เพิ่มเป็น 3 คนนิดๆ ฉะนั้น ไม่ได้ต่างกันมาก แต่การติดเชื้อมากขึ้น ก็จะพบสัดส่วนผู้ป่วยอาการรุนแรงมากขึ้น” นพ.ศุภกิจ กล่าว
นพ.ศุภกิจ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับเชื้อ BA.2.75 ขณะนี้ในประเทศไทยมีรายงานเพียง 1 ราย แต่คงมีมากกว่านี้ แต่ตอนนี้การตรวจสายพันธุ์นี้จะต้องดำเนินการด้วยการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตัว การตรวจเบื้องต้นยังระบุตรงๆว่าเป็น BA.2.75 ไม่ได้ แต่ถ้าใครตรวจแล้วไม่เข้ากับสายพันธุ์ BA.1, BA.2, BA.4 และ BA.5 จะต้องส่งตัวอย่างไปตรวจโดยเร็วว่าเป็น BA.2.75 หรือไม่ และอีกราว 1 สัปดาห์ จะสามารถส่งน้ำยาเฉพาะเพื่อให้ห้องปฏิบัติการ (แล็บ) ในต่างจังหวัดสามารถตรวจได้เลย และข้อมูลจาก GISAID มีรายงาน 538 ราย ขึ้นมาจากเมื่อวันที่ 20 ก.ค. 2565 บ้าง แต่ไม่ได้มาก ต้องจับตาดูต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'หมอยง' ชี้สถานการณ์โควิดเปลี่ยนตามกาลเวลา ปีนี้ยุติแล้ว แต่ไวรัสยังอยู่ต่อไป
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า 5 ปี โควิด 19 กาลเวลาเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน
ไทยติดโควิดใหม่รอบสัปดาห์ 549 ราย ดับเพิ่ม 1 คน
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 27 ตุลาคม - 2 พฤศจิกายน 2567
โควิดกลับมาระบาดใหม่ ‘หมอมนูญ’ ขออย่าตื่นตระหนก รักษาตามอาการหายได้
เวลาผ่านไปโรคโควิดลดความรุนแรงลง โรคโควิดไม่น่ากลัวหมือนเมื่อ 3-4 ปีก่อน คนไทยไม่ต้องตื่นตระหนกตกใจกลัวโรคโควิดมากเกินไป
สายการบิน 'ลุฟท์ฮันซา' ต้องจ่ายค่าปรับกรณีเลือกปฏิบัติต่อผู้โดยสารชาวยิว
สายการบินลุฟท์ฮันซาต้องจ่ายค่าปรับจำนวน 4 ล้านดอลลาร์ในสหรัฐอเมริกา เหตุเพราะในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดขอ
ไทยติดโควิดรอบสัปดาห์ 353 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 6 - 12 ตุลาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่