
24 ต.ค. 2565 – รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 194,359 คน ตายเพิ่ม 368 คน รวมแล้วติดไป 632,887,656 คน เสียชีวิตรวม 6,582,752 คน
5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ไต้หวัน ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอิตาลี เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 8 ใน 10 อันดับแรก และ 17 ใน 20 อันดับแรกของโลก
จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 93.64 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 95.65
…BQ.1.1 และ XBB
ดังที่ย้ำมาหลายครั้งว่า BQ.1.1 และ XBB ถือเป็นสายพันธุ์ย่อยของ Omicron ที่ได้รับการประเมินจากทั่วโลกว่าจะนำไปสู่การระบาดระลอกใหม่ในปลายปีนี้
เหตุผลหลักที่ได้รับการพิสูจน์มาแล้วคือ การดื้อต่อภูมิคุ้มกัน และความสามารถในการขยายการระบาดสูงกว่าสายพันธุ์ที่ระบาดมาก่อน ทั้ง BA.2 และ BA.5
โดย XBB ดื้อต่อภูมิคุ้มกันมากที่สุด ในขณะที่ BQ.1.1 ก็ดื้อต่อภูมิคุ้มกันมากเช่นกัน
ล่าสุด Cao Y และคณะจากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง เผยแพร่ผลการศึกษาเมื่อคืนนี้ ตอกย้ำให้เห็นว่า ทั้ง BQ.1.1 และ XBB นั้น ดื้อต่อภูมิคุ้มกันอย่างมาก
ทั้งนี้ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบให้เห็นว่า ระดับภูมิคุ้มกันจากคนที่เคยฉีดวัคซีน CoronaVac 3 เข็ม และเคยติดเชื้อโรคโควิด-19 สายพันธุ์ Omicron BA.1 มาก่อนนั้น ไม่เพียงพอที่จะจัดการกับ BQ.1.1 และ XBB ได้
นอกจากนี้แม้คนที่ฉีดวัคซีนและติดเชื้อมาก่อน เมื่อเวลาผ่านไปเกิน 6 เดือน (7.5 เดือน) ระดับภูมิคุ้มกันก็จะลดลงมากอย่างชัดเจน
ผลการศึกษาของทีมมหาวิทยาลัยปักกิ่งนี้ ตอกย้ำให้เราตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอ
หนึ่ง การใส่หน้ากากอย่างถูกต้อง ระหว่างการใช้ชีวิตประจำวัน เป็นเรื่องจำเป็น และจะลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อติดเชื้อลงไปได้มาก
สอง ประเทศต่างๆ ควรจัดหาวัคซีนรุ่นใหม่ชนิด bivalent vaccines ที่กระตุ้นภูมิคุัมกันได้ดีขึ้น เพื่อให้แก่ประชาชนอย่างทันท่วงที
ยืนยันอีกครั้งว่า ไวรัสโควิด-19 ไม่ใช่หวัดธรรมดา ไม่ใช่ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล
ติดเชื้อนั้น ไม่จบแต่ชิลๆ แล้วหาย แต่มีโอกาสป่วยรุนแรงและเสียชีวิตได้ และที่สำคัญคือเสี่ยงต่อปัญหา Long COVID ระยะยาว
การฉีดวัคซีนจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการป่วยรุนแรง เสียชีวิต และ Long COVID ไปได้บ้าง แต่ประสิทธิภาพจะลดลงตามเวลาที่ผ่านไป
ดังนั้นพฤติกรรมป้องกันตัว ใส่ใจสุขภาพของตนเอง อย่างเป็นกิจวัตร เป็นเรื่องที่จำเป็นต้องทำ ควบคู่ไปกับการไปรับวัคซีนเข็มกระตุ้นที่มีประสิทธิภาพ การป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อย่อมดีที่สุด.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ต่างชาติแห่โอนห้องชุดในไทยในปี 65 พุ่งกระฉูด 11,561 ยูนิต เพิ่มขึ้น 41% จีนนำโด่ง
รายงานสถานการณ์การโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดของคนต่างชาติ ไตรมาส 4 ปี 2565 มูลค่าการโอนเพิ่มขึ้น 95.8 % จากปี 2564 สูงสุดในรอบ 20 ไตรมาส
ผลวิจัยชี้ Long COVID จะทำให้ลางานมากกว่าปกติ 1.4 เท่า
'หมอธีระ' เผยแดนกิมจิยังคองแชมป์ประเทศที่มีผู้ติดเชื้อโควิดใหม่สูงสุด ชี้ผลวิจัย Long COVID เมืองผู้ดีที่ศึกษาประชากร 2 แสนรายพบผู้ป่วยจะมีปัญหาลางานมากกว่ากว่าปกติ 1.4 เท่า
เดี๋ยวรักเดี๋ยวชังในสัมพันธภาพระหว่าง 'รัสเซีย' และ 'จีน'
ในช่วงสงครามเย็น ทั้งสองประเทศเคยยืนหยัดต่อสู้ที่เส้นพรมแดนเดียวกัน ก่อนจะหมางเมินกัน จนมาถึงตอนนี้รัสเซียและจีนได้กลายเป็นหุ้นส่วนทาง
'ฮอนดูรัส' คือสัญญาณเตือนการเลือกข้างของไต้หวัน
ฮอนดูรัสเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ต้องการผูกสัมพันธไมตรีกับจีน และเป็นสัญญาณส่งถึงไต้หวันที่ยังเลือกข้างอยู่ฝ่ายสหรัฐอเมริกา ซึ่งนับวันจะสูญเสียอิทธิพลทางการเมืองในละตินอเมริกามากขึ้นเรื่อยๆ
จีนแสบแอบปลอม 'ข้าวหอมมะลิไทย'วางจำหน่าย
กรมการค้าต่างประเทศประสานทูตพาณิชย์ในจีน ลงพื้นที่ตรวจสอบการจำหน่ายข้าวหอมมะลิไทยเข้มข้นขึ้น หลังทางการจีนจับ 3 โรงงาน ปลอมข้าวใส่สารปรุงแต่งให้มีกลิ่นเหมือนข้าวหอมมะลิไทย ป้องกันการแอบอ้าง และทำชื่อเสียงข้าวไทยเสียหายเพิ่มขึ้นอีก พร้อมเร่งประชาสัมพันธ์รายชื่อผู้ส่งออกที่ได้รับตรารับรอง แนะนำชาวจีนซื้อข้าวที่มีตรารับรอง และดึงผู้ซื้อ ผู้นำเข้าใช้ตรารับรอง เผยทั้ง 3 โรงงาน เจอโทษหนัก และจีนสั่งปิดโรงงานไปแล้ว