ผลทดลองวัคซีน ChulaCov19 พบป้องกันได้ 70%กระตุ้นT cell ได้สูงกว่าไฟเซอร์ราว 2 เท่าใช้เป็นเข็ม3และ4 ช้าสุดมิ.ย.65

18 พ.ย.2564 จุฬาฯ จัดเสวนา CHULA the Impact ครั้งที่ 5 “ความคืบหน้าวัคซีนโควิด-19 ของจุฬาฯ นวัตกรรมของไทย ความหวังของคนไทย โดย ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้อำนวยการบริหารโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ให้ข้อมูลความคืบหน้า วัคซีนวัคซีน ChulaCov19 ว่า ตั้งแต่เริ่มมีการทดลองในสัตว์พบว่าสามารถกระตุ้นภูมิได้ถึง 40,000 ไตเตอร์ แต่ด้วยกระบวนการผลิตต่างๆต้องอาศัยจากต่างประเทศและด้วยสถานการณ์โควิดทำให้มีความล่าช้า แต่ในระหว่างรอการผลิตนั้น ก็ได้มีการพัฒนาวัคซีน รุ่น 2 รุ่น 3 เพื่อทดลองต่อไปด้วย อีกทั้งยังสามารถมีอายุได้ถึง 3 เดือน ทำให้สะดวกในการเคลื่อนย้ายไปฉีดสะดวก สำหรับการทดลองในอาสาสมัครเฟส 1/2 ระยะแรก จำนวน 72 คน แบ่งเป็นอายุ 18-55 ปี และอายุ 56-75 ปี ในระยะที่ 2 อายุ 18-55 ปี อีก 150 คน ผลสรุปเบื้องต้นวัคซีนปลอดภัย เข็มที่ 2 อาจจะพบอาการเป็นไข้ แต่หายได้ในน 1-2 วัน ไม่พบผลข้างเคียงอันตรายใดๆ และจากการตรจสอบพบว่าสามารถกระตุ้นภูมิใน B cell และ T Cell ได้สูงมาก ถึงแม้ว่าภูมิจะตกลงมาเมื่อพบเชื้อกลายพันธุ์แต่ก็ยังสามารถป้องกันได้ในคนจริงๆ

ศ.นพ.เกียรติ กล่าวอีกว่า ผลจากการทดลองในแล็บ ม.มหิดล โดยมีการเพาะเลี้ยงเชื้อ และใส่เลือดของไข้ที่ได้รับวัคซีนในหลอดทดลอง ตั้งแต่โดส 22 , 29 และ 50 พบว่า เมื่อเทียบกับวัคซีนที่ได้ขึ้นทะเบียนในไทยสามารถกระตุ้นภูมิได้มากกว่า 70% และเมื่อเทียบกับวัคซีนไฟเซอร์ก็ไม่ด้อยกว่า อีกทั้งเมื่อเทียบกับผลของผู้ติดเชื้อจริงก็ยังคงสูงมาก อีกทั้งยังสามารถป้องกันการข้ามสายพันธุ์ได้ดี และยืนยันจากการทดลอง Pseudovirus จากแล็บของ สวทช.ว่าสามารถป้องกันการข้ามสายพันธุ์ได้

ศ.นพ.เกียรติ กล่าวถึงในการทดลองเฟสที่ 2 ว่า คณะกรรมการอิสระทางวิชาการ ได้มีการตัดสินใจใช้ChulaCov19 ในปริมาณ โดส 50 ไมโครกรัม ซึ่งผ่านการรับรอง อย. เนื่องจาก ในการระบาดหนักหากใช้โดสต่ำอาจจะต้องมีการมาบูสเตอร์หลายรอบ โดยเป็นการเปรียบเทียบระหว่างการฉีดวัคซีนChulaCov19 และน้ำเกลือในอาสาสมัคร พบในเข็มที่ 1 ผุ้ที่ได้รับน้ำเกลือมีอาการปวดศีรษะ 2 เท่าของผู้ที่ฉีด ChulaCov19 และในเข็มที่ 2 พบว่ามีไข้ 1 ใน 5 ซึ่งหลังจากนั้น 1เดือน ยังพบผลแอนติบอดี้ขึ้นถึงหลักหมื่น ที่น่าสนใจคือ กระตุ้น T cell ได้สูงกว่าไฟเซอร์ ประมาณ 2 เท่า แม้ว่าภูมิจะตกลงในช่วง 4 สัปดาห์ก็ยังอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับไฟเซอร์

ส่วนการทดลองในระยะ 3 ตามมาตรฐานทั่วโลกต้องใช้อาสาสมัครอย่างน้อย 20,000-30,000 คน พร้อมกับเทียบคู่กับการฉีดน้ำเกลือ แต่ด้วยสถานการณ์ที่มีการขึ้นทะเบียนวัคซีนจำนวนมากแล้ว ซึ่งเราได้หารือกับ อย.ในเรื่องทดลองระดับนานาชาติ ซึ่งอย.เห็นว่าสามารถให้ทดลองวัคซีนระยะ 3 ได้ในอาสาสมัครระดับหลักพันคน โดยอังกฤษ เป็นประเทศแรกที่นำหลักการนี้ไปทำ ขณะนี้ทางอย.ไทยก็เห็นชอบด้วย ในส่วนการขึ้นทะเบียนหากขึ้นทะเบียนแค่ในไทย ก็ไม่ต้องมีการทดลองในอาสาสมัครหลายเชื้อชาติ แต่หลักการขององค์การอนามัยโลก(WHO) หากต้องการให้วัคซีนขึ้นทะเบียนEmergency Use Listing (EUL) จะต้องมีการทดลองในอาสาสมัคร 3 เชื้อชาติ ดังนั้น หากจะให้วัคซีนไทยผ่านการรับรองอาจจะต้องมีการทดลองในหลายเชื้อชาติ เช่น เอเชีย ลาติโน แอฟริกา คอร์เคเชีย ซึ่งก็ได้มีการทาบทามอินโดนีเซีย แต่อาจจะไม่เห็นผลต่าง อาจจะต้องเบนเข็มไปทางละตินอเมริกา แต่ทั้งนี้ต้องผ่านการขึ้นทะเบียนจากไทย อาเซียน สู่ระดับโลก

“ขณะนี้เตรียมเข้าสู่ระยะที่ 3 โดยวัคซีนที่ผลิตในไทย 100% เสร็จเรียบร้อยแล้ว รอการรับรองตรวจประกันคุณภาพ พร้อมทดลองในอาสาสมัครในต้นปี 2565 ซึ่งอย.เห็นด้วยในหลักการทดลองในอาสาสมัครหลักพันคน หลังจากอังกฤษได้มีการทดลองไปก่อนหน้านี้ ทั้งนี้ จะมีการรวบรวมข้อมูลเสร็จสิ้นในเดือนมี.ค.65 เพื่อขึ้นทะเบียนในภาวะฉุกเฉิน และคาดว่าคนไทยได้ฉีดจริงประมาณ มิ.ย.65 แต่เนื่องจากมีการฉีดวัคซีนกันไปจำนวนมากในพื้นที่กรุงเทพฯก็มากถึง 80% ดังนั้น สิ่งที่ทำคู่ขนานคือการทำวิจัยในการฉีดเข็มกระตุ้นในโดสต่ำและกลาง ซึ่งจะต้องมีการติดตามผลข้างเคียงจำนวนผู้ฉีดจำนวน 30,000 คนในระยะที่ 4 ทั้งนี้ก็ต้องมีการปรึกษากับทางอย.” ศ.นพ.เกียรติ กล่าว

ศ.นพ.เกียรติ กล่าวอีกว่า ChulaCov19 คงต้องใช้ในเข็ม 3และเข็ม 4 เพราะคนไทยมีการฉีดวัคซีนกันไปเยอะแล้ว แต่การเดินหน้าโครงการต่อ เนื่องจาก วัคซีนในโลกนี้ไม่ควรจะมีเทคโนโลยีเพียงแพลตฟอร์มเดียว ต้องมีมากกว่า 1 เพราะจะทำให้มีทางเลือก เพื่อรองรับการเกิดของโรคที่อาจจะเหมาะสมกับเทคโนโลยีที่มีอยู่ บทเรียนจากการมีโรคระบาดทั่วโลก จะเห็นได้ว่าในประเทศที่ไม่มีเทคโนโลยีด้านการผลิตวัคซีนของตัวเอง ต้องรอซื้อเพียงอย่างเดียวนั้น อาจจะส่งผลกระทบต่อประชาชน ดังนั้นในอีก 10 ปีข้างหน้า เราอาจจะต้องมีจุดยืนด้านDeep Tech Economy เพื่อเป็นฐานการพัฒนาเศรษฐกิจ หนึ่งในนั้นคือ ด้านการแพทย์ ประเทศไทยต้องมีความสามารถในการคิดค้น ผลิตและพัฒนา จำหน่ายวัคซีน อย่างประเทศเกาหลีที่ได้วางแผนด้านไบโอเทคโนโลยีมา 15 ปี ลงทุนกว่าหมื่นล้านบาท ในขณะที่หลายประเทศเร่งลงทุนเทคโนโลยีไบโอในช่วงโควิดแค่ 1-2 ปีนี้ เกาหลีกลับสร้างรายได้มหาศาล ติด 1 ใน 5 ประเทศของโลก เพราะเมื่อเกิดโควิด เกาหลีสามารถรับมือได้ทันที เนื่องจากมีเทคโนโลยีอยู่แล้ว ดังนั้นในระยะยาวไทยต้องสร้างเทคโนโลยีด้านดีฟเทคอย่างยั่งยืน ทั้งในด้านงบสนุบสนุน เพราะประชาชนเองก็ตื่นตัวกล้าที่จะบริจาคเงินเพื่อลงทุนด้านการแพทย์มากขึ้น

“สำหรับ การได้รับงบประมาณอนุมัติจำนวน 2,300 ล้านบาท จากทางรัฐบาลแบ่งเป็น 1,300 ล้านบาท ใช้พัฒนาวัคซีนในอาสาสมัคร อีก 1,000 ล้านบาท ใช้ในเรื่องวัตถุดิบและการผลิต ซึ่งทำให้การวิจัยพัฒนาก้าวหน้าได้เร็วและมั่นคง วัคซีนอาจจะเป็นส่วนสำคัญในการส่งออกด้านการแพทย์ในอีก 10 ปีข้างหน้า”ศ.นพ.เกียรติกล่าว

ด้าน ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ CEO บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด กล่าวว่า วัคซีนใบยา ได้นำวัคซีนล็อตแรกที่ผลิตเองมาทดสอบในระยะที่1 ในอาสาสมัครช่วงเดือนก.ย. ที่ผ่านมาจำนวน 96 คน อายุ 18-60 ปี เรียบร้อยแล้ว ขณะนี้ได้มีการติดตามผลของการฉีดวัคซีนพบว่า มีความปลอดภัย และรอผลการติดตามกระตุ้นภูมิคุ้มกันหลังจากฉีดไปแล้ว 50 วัน ในช่วงนี้ จึงได้มีการเปิดรับอาสาสมัครกลุ่มผู้สูงอายุ ตั้งแต่ 61-75 ปี แต่เนื่องจากคนในกรุงเทพฯได้รับวัคซีนไปจำนวนมากก็พบความยากในการหาอาสามัครซึ่งยังไม่ครบตามเป้าหมาย ทั้งนี้วัคซีนรุ่นที่ 2 ได้มีการพัฒนาและผลิตเรียบร้อยแล้วคาดว่าจะทดลองในอาสาสมัครระยะที่ 1 ช่วงเดือน ม.ค.65 คาดว่าในเดือนก.พ.65 จะมีการตัดสินใจเลือกวัคซีนที่ดีที่สุดเข้าสู่การทดลองในระยะที่ 2 ในอาสาสมัครต่อไป ในส่วนงบประมาณเห็นชอบจำนวน 1,000 ล้านบาทจากรัฐบาล ในการดำเนินงานในเฟส 3 หากในระยะที่ 2 ผ่านเรียบร้อย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ชี้แจงข้อเท็จจริง 'ลิ่มเลือดสีขาว' ไม่เกี่ยวฉีดวัคซีนโควิด

สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ชี้แจงข้อเท็จจริง เรื่อง ลิ่มเลือดสีขาว (White clot) และวัคซีนโควิด 19 ชนิด mRNA จากกรณีที่มีการเผยแพร่และส่งต่อข้อมูลเกี่ยวกับการพบสิ่งแปลกปลอมซึ่งมีลักษณะเป็นลิ่มเลือดสีขาว (White clot) ในหลอดเลือดผู้เสียชีวิตที่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด 19

'หมอยง' ไขข้อข้องใจ 'วัคซีนโควิด' กับผลได้ผลเสีย

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19 วัคซีนโควิด 19

โควิดยังไม่แผ่ว! 'กลุ่มเสี่ยง' ยังต้องฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิฯ

โควิดยังอยู่ แพทย์ชี้กลุ่มเสี่ยงยังต้องฉีดวัคซีนโควิด เน้นฉีดกระตุ้นภูมิฯ โดยสามารถฉีดฟรีได้ที่โรงพยาบาลตามสิทธิการรักษา

'รัดเกล้า' สรุปความก้าวหน้าการวิจัยและผลิตวัคซีนโควิด 4 ชนิดในประเทศไทย

นางรัดเกล้า อินทวงค์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ (กวช.) เสนอความก้าวหน้าการวิจัยพัฒนาและผลิตวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)