
ขณะนี้ทางศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทย์ จุฬาฯ ได้เข้าร่วมเป็นหนึ่งในกำลังสำคัญของการพัฒนาวิจัยวัคซีนต่อเชื้อที่ก่อโรคสำคัญในภูมิภาคเอเชีย ทั้งของ SEA Vaccine R&D ขององค์การอนามัยโลก และ ของ UK-SEA Vax manufacturing research Hub กับ Sheffield University, UK โดยคาดว่าภายในปีหน้า 2568 น่าจะมีวัคซีนอย่างน้อย 1 ชนิดที่พัฒนาหรือร่วมพัฒนาเข้าสู่การต่อยอดทดสอบในอาสาสมัครต่อไป
6 พ.ค.67 -รายงานข่าวจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สรุปรายงานความคืบหน้า “โครงการพัฒนาวัคซีน ChulaCov19” ณ วันที่ 3 พ.ค.67 โดยตลอดสามปีที่ผ่านมา การศึกษาพัฒนาวัคซีน Chula COV 19 ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากทั้งเงินบริจาคและงบประมาณของรัฐบาลนั้น ทางศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ได้มีการวิจัยพัฒนา ดำเนินการผลิต และทำการทดสอบมาอย่างต่อเนื่อง
โดยการพัฒนาวัคซีน ChulaCov19 มีจำนวน 2 รุ่น ประกอบด้วย 1. วัคซีนรุ่นที่หนึ่ง (First generation) Monovalent ใช้เชื้อดั้งเดิม ได้ดำเนินการทดสอบวัคซีนรุ่นที่หนึ่ง Phase1- 2 อาสาสมัครประมาณ 220 คน จากการฉีดในอาสาสมัครที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อนสองเข็ม ผลการศึกษาพบว่าสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มสูงกว่าวัคซีนคู่เทียบและไม่พบว่ามีผลข้างเคียงรุนแรงใดๆ และ 2. วัคซีนรุ่นที่สอง (Second generation) เมื่อไวรัสกลายพันธุ์จึงต้องทำการวิจัยพัฒนาและผลิตวัคซีนรุ่นที่สอง Bivalent Wuhan/Omicron BA.4/.5
จากประสบการณ์ของการวิจัยพัฒนาและการผลิตวัคซีนรุ่นที่หนึ่งทำให้กระบวนการทั้งหลายในวัคซีนรุ่นที่สองทำได้รวดเร็วขึ้น ซึ่งจะเป็นพื้นฐานศักยภาพของประเทศไทยในอนาคตเมื่อเจอโรคระบาดครั้งใหม่ หากกระบวนการสนับสนุนต่างๆในระดับมีความคล่องตัวและรวดเร็ว คาดว่าจะสามารถคิดค้นผลิตวัคซีนและทำการทดสอบเพื่อใช้จริงได้ในเวลาที่รวดเร็วขึ้นอย่างเหมาะสมต่อไป
ปัจจุบันนี้ได้ทำการศึกษาในเฟส 1 และ 2 ของ วัคซีนรุ่นที่สองเสร็จสิ้นแล้ว ใน 2 ประเทศ และขอสรุปผล ดังนี้1.ในประเทศไทยเฟส 2 จำนวน 450 คน 2.ประเทศ Australia เฟส 2 จำนวน 150 คน 3.เป็นการศึกษา เข็มกระตุ้นหนึ่งเข็ม (booster vaccine) 4.ผลการศึกษาไม่พบผลข้างเคียงที่รุนแรงใดๆ และสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันในระดับที่สูงเป็นที่พอใจ ไม่ด้อยกว่าวัคซีนคู่เทียบ และ5.ส่วนการตรวจภูมิคุ้มกันในอาสาสมัครที่เหลืออีกส่วนหนึ่งของโครงการในออสเตรเลีย กำลังดำเนินการอยู่คาดว่าจะได้ผลครบถ้วนประมาณเดือนมิถุนายนนี้ เพื่อให้ได้ข้อมูลครบถ้วนก่อนที่จะมีการแถลงผลการดำเนินการให้ทางสาธารณะได้ทราบต่อไป
ทั้งนี้ในการบริหารทุนวิจัยมีกรรมการจากคณะและมหาวิทยาลัยควบคุมดูแลและติดตาม ได้มีการประสานงานกับทางจุฬาฯ สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม สถาบันวัคซีน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) จากการปรับโครงการวิจัยตามสถานการณ์ ทำให้มีค่าใช้จ่ายเป็นไปตามจริง และไม่จำเป็นต้องใช้ค่าใช้จ่ายให้ครบกรอบทุนวิจัยที่ได้รับการอนุมัติ
โดยเหตุผลสำคัญที่ทางคณะและมหาวิทยาลัยตัดสินใจไม่ดำเนินการต่อระยะที่สามและขึ้นทะเบียน และได้ดำเนินการคืนเงินรัฐบาล 1,700 ล้านบาท จาก 2,300 ล้านบาทที่รัฐอนุมัติมา ทั้งๆที่วัคซีน ChulaCov19 ทั้งรุ่น 1 และรุ่น 2 มีประสิทธิภาพกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี และไม่มีปัญหาผลข้างเคียงแต่อย่างใด สรุปเหตุผลที่สำคัญดังนี้
1.ความจำเป็นที่ต้องใช้ วัคซีนโควิดลดลงอย่างมาก เนื่องจากคนส่วนใหญ่ได้รับวัคซีนแล้วอย่างน้อยสองเข็มและทำให้มีการติดเชื้อมีและภูมิเสริมจากธรรมชาติแล้ว ดังนั้น คำแนะนำด้านการฉีดวัคซีนในระดับนานาชาติและในระดับประเทศได้ปรับเปลี่ยนไป กล่าวคือ ในคนที่อายุน้อยกว่า 75 ปี และไม่มีโรคประจำตัวไม่มีความจำเป็นต้องฉีดวัคซีนประจำปี ดังนั้นความต้องการใช้วัคซีนในระดับประเทศจึงลดลงไป และขาดความจำเป็นต้องผลิตในประเทศ แต่ให้มุ่งเน้นไปพัฒนาวัคซีนที่จำเป็นอื่นๆแทน
2.วัคซีนรุ่นที่ 2 หากขึ้นทะเบียน ก็ไม่ตอบโจทย์ เชื้อสายพันธุ์ปัจจุบัน แผนการศึกษามีการปรับตามสถานการณ์ที่คาดการณ์ไม่ได้ เช่น ลักษณะเชื้อที่มีการระบาด ความรุนแรงของโรค
3.บัดนี้ประเทศไทยได้พิสูจน์ให้เห็นแล้ว ศักยภาพและความสามารถในการวิจัยพัฒนาของคณะแพทย์ และ โรงงานผลิตวัคซีนไทย มีความพร้อมที่ดำเนินการได้รวดเร็ว สำหรับการเผชิญกับโรคระบาดครั้งต่อไป และสามารถพัฒนาวัคซีนอื่นๆที่จำเป็นต่อการการป้องกันรักษาโรคอื่นได้ ซึ่งขณะนี้กำลังดำเนินการอยู่หลายชนิด ได้แก่ วัคซีนรักษามะเร็งปากมดลูกจากเชื้อ HPV, วัคซีนไข้เลือด, วัคซีนไข้ฉี่หนู และวัคซีนไข้หวัดนกเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการระบาด เป็นต้น
สำหรับแผนการและทิศทางระยะยาวของการวิจัยพัฒนาวัคซีนทางคณะมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างความสามารถและศักยภาพในการขับเคลื่อนการคิดค้นพัฒนาวัคซีนอย่างต่อเนื่องจากงบบริจาคที่ผ่านมาและลงทุนของคณะและโรงพยาบาล ตลอดจนทุนวิจัยจากรัฐบาล เพื่อเป็นส่วนร่วมกับนานาชาติในความพยายามที่จะทำให้วัคซีนที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยสำหรับป้องกันรักษาโรคที่สำคัญสามารถเข้าถึงประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศไทยและประเทศรายได้ต่ำและรายได้ปานกลางให้มากที่สุด ทั้งโรคที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง และในกรณีโรคระบาดในอนาคต
ขณะนี้ทางศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทย์ จุฬาฯ ได้เข้าร่วมเป็นหนึ่งในกำลังสำคัญของการพัฒนาวิจัยวัคซีนต่อเชื้อที่ก่อโรคสำคัญในภูมิภาคเอเชีย ทั้งของ SEA Vaccine R&D ขององค์การอนามัยโลก และ ของ UK-SEA Vax manufacturing research Hub กับ Sheffield University, UK โดยคาดว่าภายในปีหน้า 2568 น่าจะมีวัคซีนอย่างน้อย 1 ชนิดที่พัฒนาหรือร่วมพัฒนาเข้าสู่การต่อยอดทดสอบในอาสาสมัครต่อไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โลกตะลึง! ‘หมอธีวัฒน์’ เผยการเสียชีวิตจากวัคซีนโควิดที่มีการรายงานจากระบบของสหรัฐ อาจจะสูงถึง 706,480 ราย
ศ.นพ. ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศูนย์ความเป็นเลิศ ด้านการแพทย์บูรณาการและสาธารณสุข และ ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก
‘หมอยง’ ระบายผลพวงวันซีนโควิด 19 โดน AI ปั่นอ้างชื่อหากิน แถมบอกเจอบริษัทยาฟ้อง
หลังจากที่โควิด เริ่มสงบ ก็มีการเอารูปของเรา ไปโฆษณาขายของกันมากมาย อ้างว่าเป็นคนบอกว่ามีสรรพคุณที่ดี เช่นโรคหัวใจ โรคต่างๆมากมาย ทั้งที่เราไม่เชี่ยวชาญเลย และไม่เป็นความจริง
สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ชี้แจงข้อเท็จจริง 'ลิ่มเลือดสีขาว' ไม่เกี่ยวฉีดวัคซีนโควิด
สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ชี้แจงข้อเท็จจริง เรื่อง ลิ่มเลือดสีขาว (White clot) และวัคซีนโควิด 19 ชนิด mRNA จากกรณีที่มีการเผยแพร่และส่งต่อข้อมูลเกี่ยวกับการพบสิ่งแปลกปลอมซึ่งมีลักษณะเป็นลิ่มเลือดสีขาว (White clot) ในหลอดเลือดผู้เสียชีวิตที่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด 19
'หมอยง' ไขข้อข้องใจ 'วัคซีนโควิด' กับผลได้ผลเสีย
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19 วัคซีนโควิด 19