'หมอธีระ' ยกผยวิจัยเยอรมนีตอกย้ำ การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นช่วยลดการนอนใน รพ.หากติดโควิด ซัดอย่าหลงเชื่อการหยุดใส่หน้ากาก ชี้ยังเป็นเรื่องจำเป็นเพื่อตัวเองและคนรอบข้าง
11 ม.ค.2565 - รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์โควิด-19 ประจำวันที่ 11 มกราคม 2566 ว่าเมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 222,337 คน ตายเพิ่ม 998 คน รวมแล้วติดไป 669,213,081 คน เสียชีวิตรวม 6,717,170 คน
5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 7 ใน 10 อันดับแรก และ 12 ใน 20 อันดับแรกของโลก จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 89.07 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 69.63
...ระยะเวลาของประสิทธิภาพลดป่วยนอน รพ.ของวัคซีน
หากจำกันได้ ในช่วงเดือนตุลาคมปีก่อน มีงานวิจัยจากอเมริกา ชี้ให้เห็นว่าประสิทธิภาพของวัคซีนหลังฉีดเข็มกระตุ้นไปแล้ว น่าจะช่วยลดความเสี่ยงป่วยรุนแรงได้นานเฉลี่ยราว 7 เดือน (ยกเว้นบางกลุ่มเช่น คนอายุน้อยกว่า 50 ปี อาจคงอยู่ได้นานถึง 11 เดือน)
ล่าสุด Stoliaroff A และคณะ จากประเทศเยอรมนี ทำการเผยแพร่ผลการศึกษาแบบ case-control ใน medRxiv เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา โดยศึกษาในกลุ่มประชากรตั้งแต่ 18-90 ปี จาก 13 โรงพยาบาลใน 5 รัฐของประเทศเยอรมัน ในช่วงธันวาคม 2564 ถึงกันยายน 2565 เปรียบเทียบจำนวนผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลจากการติดเชื้อโควิด-19 โดยดูลักษณะของการฉีดวัคซีน
สาระสำคัญพบว่า การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นนั้นจะช่วยลดความเสี่ยงที่จะป่วยจนต้องนอนโรงพยาบาลได้นานกว่าการไม่ฉีดเข็มกระตุ้น และประสิทธิภาพในการลดความเสี่ยงนั้นจะคงอยู่ไปนาน 6-12 เดือน ทั้งนี้ผลการศึกษาจากเยอรมันนี้ก็ดูจะสอดคล้องกับงานวิจัยของอเมริกาที่ศึกษามาก่อนหน้านี้ โดยต้องเน้นย้ำให้ทราบว่า ทั้งสองงานวิจัยนั้นเกิดขึ้นในอเมริกาและยุโรป ซึ่งใช้วัคซีนประเภท mRNA (เป็นหลัก) และวัคซีน viral vector
...สถิติการเดินทางท่องเที่ยวของทั่วโลกจะบ่งถึงความเสี่ยงที่ต้องระวัง หากดูข้อมูลจาก Ourworldindata จะพบว่าทวีปยุโรป และเอเชีย เป็นจุดหมายที่นักท่องเที่ยวเดินทางไปกันมากกว่าทวีปอื่น ดูในเอเชียก็จะพบว่า ไทยเราเป็นจุดหมายสำคัญ ซึ่งเป็นข้อดีที่จะทำให้เกิดรายได้ทางเศรษฐกิจตามมา
อย่างไรก็ตาม หากดูอัตราส่วนระหว่างนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามา และคนในประเทศที่ออกไปเที่ยวต่างประเทศนั้น ก็จะพบว่า ไทยเราเองมีขาเข้ามากกว่าขาออก คล้ายกับญี่ปุ่น แตกต่างจากอีกหลายประเทศ เช่น จีน อเมริกา และบางประเทศในยุโรป ที่ขาออกมากกว่าขาเข้า
สะท้อนให้ทราบได้ว่า หลังจากเปิดรับเสรีท่องเที่ยวแล้ว ย่อมมีแนวโน้มที่นักท่องเที่ยวจากประเทศที่มีการระบาดสูงเข้ามาในประเทศได้มากขึ้น ความหนาแน่นของประชากรในพื้นที่รับท่องเที่ยวนั้นก็จะมากขึ้นตาม ยังไม่นับเรื่องสายพันธุ์ไวรัสจากต่างถิ่นที่จะเข้ามา จำนวน ความหนาแน่น และความหลากหลายของสายพันธุ์ รวมถึงกิจกรรมการพบปะ บริการ คลุกคลีใกล้ชิดที่มากขึ้น ย่อมเป็นความเสี่ยงต่อการระบาดที่สูงขึ้นแน่นอน
การป้องกันตัวระหว่างใช้ชีวิตประจำวัน ทำงาน เรียน หรือเดินทางไปที่ต่างๆ จึงเป็นเรื่องสำคัญ และควรปฏิบัติอย่างเป็นกิจวัตร และควรไปฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นให้ครบตามกำหนดและตามเงื่อนเวลาที่สอดคล้องกับข้อมูลวิชาการแพทย์
หัวใจสำคัญยิ่งคือ การใส่หน้ากากอย่างถูกต้องสม่ำเสมอระหว่างใช้ชีวิตนอกบ้าน จะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก และเป็นปัจจัยที่จะช่วยให้เราประคับประคอง ปกป้องสวัสดิภาพและความปลอดภัยของเรา ควบคู่ไปกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในยุคที่การระบาดยังเป็นไปอย่างต่อเนื่อง อย่าหลงเชื่อการหยุดใส่หน้ากาก ไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่ เพราะสุดท้ายแล้วเวลาเกิดปัญหาขึ้นมา คนที่ต้องเผชิญกับปัญหาคือตัวท่าน และคนใกล้ชิด ใช้ชีวิตอย่างมีสติ ไม่ควรประมาท.
อ้างอิง
Stoliaroff A et al. Vaccine effectiveness against severe COVID-19 during the Omicron wave in Germany: Results from the COViK study. medRxiv. 9 January 2023.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
จุฬาฯ อันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย Top ของประเทศ 34 สาขา โดย QS University Rankings by Subject 2025
ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก โดย QS University Rankings by Subject 2025 ซึ่งประกาศผลเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2568 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของไทยมากที่สุดถึง 34 สาขา
เปิดเบื้องลึกสภาสูงตีตกชื่อ 'สิริพรรณ-ชาตรี' หลุดเก้าอี้ตุลาการศาล รธน.
เบื้องหลังห้องประชุมลับสภาสูง สว.สีน้ำเงิน สอยร่วง 'สิริพรรณ-ชาตรี'ปม 112 พ่นพิษ ทำ 'นกสวน จุฬาฯ' วืดตุลาการศาล รธน. เหตุหวั่นทัศนคติต่อสถาบันมีปัญหา ปล่อยให้ขึ้นนั่งบัลลังก์ไม่ได้
สสส. ร่วมกับ จุฬาฯ ร่วมรณรงค์ World Kidney Day สร้างการรับรู้ควบคู่การดูแล เร่งสื่อสารการใช้ยาเพื่อลดความเสี่ยงโรคไต
“วันไตโลก ปี 68” คนไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังเพิ่มขึ้นจาก 9.8 แสนคน เป็น 1.13 ล้านคน สูญเสียปีสุขภาวะเร็วขึ้น 3.14 เท่า! เหตุบริโภคเค็ม-ใช้ยาไม่ถูกต้อง-เกินความจำเป็น เผยประชาชนเข้าใจเรื่องการใช้ยาที่ถูกต้องแค่ 64.9% สสส. สานพลัง จุฬาฯ สร้างการรับรู้ควบคู่การดูแล เร่งสื่อสารการใช้ยาเพื่อลดความเสี่ยงโรคไต
อาจารย์หมอจุฬาฯ เตือนไข้หวัดใหญ่ระบาดหนัก ฉีดวัคซีนไม่พอ ต้องป้องกันตัวเองด้วย
วัคซีนอย่างเดียวไม่พอที่จะยับยั้งการระบาด แต่พฤติกรรมป้องกันตัว ใส่ใจสุขภาพ มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าวัคซีน
‘หมอยง’ ระบายผลพวงวันซีนโควิด 19 โดน AI ปั่นอ้างชื่อหากิน แถมบอกเจอบริษัทยาฟ้อง
หลังจากที่โควิด เริ่มสงบ ก็มีการเอารูปของเรา ไปโฆษณาขายของกันมากมาย อ้างว่าเป็นคนบอกว่ามีสรรพคุณที่ดี เช่นโรคหัวใจ โรคต่างๆมากมาย ทั้งที่เราไม่เชี่ยวชาญเลย และไม่เป็นความจริง
กัลฟ์ จับมือ ทันตะ จุฬาฯ สานต่อโครงการ GULF Sparks Smiles ปีที่ 5 มอบรอยยิ้มให้คนพิเศษในวันแห่งความรัก ตอกย้ำความมุ่งมั่นสร้างโอกาสอย่างเท่าเทียม
บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ กัลฟ์ ร่วมกับ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย