'นพ.ยง' เตือนให้เกาะติดโควิดสายพันธุ์ 'คราเคน-ออร์ธรัส'

'หมอยง' แนะจับตาโควิดสายพันธุ์ 'คราเคน-ออร์ธรัส' ชี้อันตรายหลบหนีระบบภูมิต้านทานที่มีอยู่ และทำให้ติดเชื้อซ้ำได้!

08 ก.พ.2566 - ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต และหัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ “โควิด 19 สายพันธุ์ที่ต้องติดตาม คราเคน (Kraken) และ ออร์ธรัส (Orthrus)” ระบุว่า เชื้อไวรัสก่อโรคโควิด มีการกลายพันธุ์มาตลอด เพื่อหลบหลีกระบบภูมิต้านทานของร่างกาย จึง ทำให้เป็นแล้วเป็นอีกได้ แต่ความรุนแรงไม่ได้เพิ่มขึ้น

สายพันธุ์ที่เฝ้าจับตามองและถือว่าเป็นสายพันธุ์อันตราย เพราะหลบหลีกระบบภูมิต้านทานได้เป็นอย่างดี คือสายพันธุ์ที่มีการเรียกกันว่า คราเคน และ ออร์ธรัส

คราเคน คือสายพันธุ์ XBB.1.5 ที่พบมากในอเมริกาและยุโรปขณะนี้บอกหลีกภูมิต้านทานได้ดี และมีโอกาสที่จะเป็นสายพันธุ์หลักต่อไปได้ มีการตั้งชื่อว่า คราเคน (Kraken) เป็นชื่อของสัตว์ทะเลประหลาด ในตำนาน นิยาย ที่มีการเล่ากันมา ในยุโรปกว่า 300 ปีมาแล้ว ลักษณะเหมือนปลาหมึกยักษ์ คอยจมเรือ การเรียก สายพันธุ์โควิดนี้ ทำให้มองดูเข้าใจได้ว่าสายพันธุ์นี้เป็นสายพันธุ์อันตรายที่ต้องติดตาม

ออร์ธรัส (Orthrus) คือสัตว์ในเทพนิยายของกรีก เป็นสุนัข 2 หัว มีหางเป็นงู ลองจินตนาการดูถึงความน่ากลัวและอันตราย โควิด ออร์ธรัส คือสายพันธุ์ CH.1.1 เป็นสายพันธุ์ ที่มีแนวโน้มจะพบเพิ่มขึ้นและพบว่าหลบหลีกภูมิต้านทานที่เกิดจากการติดเชื้อและวัคซีนในอดีต ในอเมริกาเอง ก็พบสายพันธุ์นี้แต่ยังน้อยกว่าคราเคน

ทั้ง 2 สายพันธุ์ก็ยังจัดอยู่ในโอมิครอน ถ้าดูตามรูปจะอยู่ในลูกหลาน ของ BA.2 (https://doi.org/10.1101/2023.01.16.524244)

สายพันธุ์ทั้งสองพบได้ มีรายงานในธนาคารพันธุกรรมของโควิด GISAID ดังแสดงในรูป มีแนวโน้มพบเพิ่มขึ้น สำหรับประเทศไทยแล้ว แต่ยังไม่ได้ระบาดอย่างกว้างขวางในประเทศไทย โดยพบว่ามีการนำมาจากต่างประเทศ จากการศึกษางานวิจัยของศูนย์ฯ ที่ผมทำอยู่ ในเดือนธันวาคม ถึง มกราคมจำนวนมากกว่า 250 สายพันธุ์ พบว่า 75-88 เปอร์เซ็นต์ เป็นสายพันธุ์ BA.2.75 พบสายพันธุ์ คราเคน 1 ราย ออร์ธรัส 4 ราย ดังแสดงในรูป เราคงต้องเฝ้าระวังติดตาม จากข้อมูลที่มีอยู่นี้ความรุนแรงของโรคยังไม่ได้เพิ่มขึ้น อันตรายของสายพันธุ์นี้คือ หลบหนี ระบบภูมิต้านทานที่เรามีอยู่ และจะทำให้ติดเชื้อซ้ำได้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอธีระวัฒน์' แจง 5 ข้อ พูดเรื่องผลกระทบการวัคซีนโควิดทำไม ในเมื่อมันผ่านไปแล้ว

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า

‘หมอมนูญ’ เตือนโควิดหลังสงกรานต์เปลี่ยนไป ใครมีอาการแบบนี้รีบตรวจ ATK

อาการของโรคโควิดเปลี่ยนไป ส่วนใหญ่เป็นอาการของทางเดินหายใจส่วนบน คอ จมูก มากกว่าทางเดินหายใจส่วนล่าง หลอดลม และปอด

'นิสิตเก่าจุฬาฯ' ตามบี้ 'วิทยานิพนธ์ณัฐพล' อุทธรณ์คำสั่ง ให้จุฬาฯเปิดเผยมติสอบสวน

นางวิรังรอง ทัพพะรังสี ประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อการปฏิรูปประเทศ ในฐานะนิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ รุ่น 30 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก

‘หมอมนูญ’ เผยผลติดตามสถานการณ์ 5 โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ

ข้อมูลของโรงพยาบาลวิชัยยุทธที่ติดตามโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ไวรัสไข้หวัดใหญ่  ไรโนไวรัส (Rhinovirus) อาร์เอสวี (RSV) และ ฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส Human metapneumovirus (hMPV)