อึ้ง! 38 สถาบันวิจัยเมืองผู้ดีชี้ตรงกันผู้ป่วยโควิดมักนอนหลับไม่สนิท

หมอธีระอัปเดตข้อมูลการฉีดวัคซีนของดินแดนมะกันยุคปัจจุบัน ตอกย้ำให้ฉีดเข็มกระตุ้น อึ้ง! 38 สถาบันวิจัยเมืองผู้ดีชี้ตรงกันผู้ป่วยโควิดมักนอนไม่หลับ

19 เม.ย.2566 - รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์โควิด-19 ประจำวันที่ 19 เมษายน 2566 ว่าเมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 53,511 คน ตายเพิ่ม 296 คน รวมแล้วติดไป 685,779,254 คน เสียชีวิตรวม 6,843,245 คน 5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส รัสเซีย และสหรัฐอเมริกา

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 9 ใน 10 อันดับแรก และ 17 ใน 20 อันดับแรกของโลก จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 95.27 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 93.24

...อัปเดตแนวทางการฉีดวัคซีนของ US FDA เมื่อวานนี้ทาง US FDA ออกประกาศแนวทางการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด Bivalent สาระสำคัญโดยสรุปคือ

1.คนส่วนใหญ่ที่เคยฉีดวัคซีนแบบ monovalent (รุ่นดั้งเดิม) มาก่อน ควรได้รับวัคซีน Bivalent เป็นเข็มกระตุ้นหนึ่งเข็ม

2.คนที่เคยได้รับ Bivalent vaccine ไปแล้วหนึ่งเข็ม ยังไม่ต้องรับเข็มกระตุ้นซ้ำ ให้รอติดตามแนวทางการฉีดวัคซีนในอนาคต

3.สำหรับคนสูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ถ้าเคยได้รับ Bivalent vaccine มาแล้ว ควรได้รับการฉีดกระตุ้นหลังจากเข็มก่อน 4 เดือน

4.สำหรับคนที่ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ถ้าเคยได้รับ Bivalent vaccine มาแล้ว ควรได้รับการฉีดกระตุ้นหลังจากเข็มก่อน 2 เดือน และเข็มถัดๆ ไป ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้ดูแลรักษา

5. คนที่ยังไม่เคยฉีดวัคซีน แนะนำให้รับวัคซีน Bivalent หนึ่งเข็ม แทนที่จะรับวัคซีนแบบเดิมที่เป็น monovalent mRNA vaccine หลายเข็ม

6.เด็กอายุ 6 เดือนถึง 5 ปี ซึ่งยังไม่ได้รับวัคซีน ควรได้รับ Moderna bivalent vaccine 2 เข็ม หรือ Pfizer bivalent vaccine 3 เข็ม ส่วนเด็กในช่วงอายุดังกล่าว หากเคยได้รับวัคซีนแบบ monovalent มาก่อน ก็สามารถรับ Bivalent vaccine ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนเข็มและชนิดวัคซีนที่เคยฉีดมาก่อน

...ข้อมูลความรู้ข้างต้น เพื่อให้เราทราบสถานการณ์แนวทางการฉีดวัคซีนของสหรัฐอเมริกา

...ปัญหาการนอนหลับในผู้ป่วยโรคโควิด-19 งานวิจัยจาก 38 สถาบันในสหราชอาณาจักร นำเสนอในงานประชุมวิชาการแพทย์ด้านโรคติดเชื้อและจุลชีววิทยาของยุโรป the European Congress of Clinical Microbiology & Infectious Diseases ที่เดนมาร์กในช่วง 15-18 เมษายนที่ผ่านมา ศึกษาในผู้ป่วยที่เคยติดเชื้อโรคโควิด-19 และต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลกว่า 700 คน เปรียบเทียบกับคนที่เคยนอนรักษาตัวโดยภาวะอื่นๆ

พบว่า กลุ่มผู้ป่วยโรคโควิด-19 มีปัญหาด้านการนอนหลับถึง 62% โดยเฉลี่ยแล้ว หลังออกจากโรงพยาบาลไป ใช้เวลาในการนอนหลับมากขึ้นราว 1 ชั่วโมง แต่การนอนหลับนั้นมีคุณภาพไม่ดี นอนหลับไม่สนิท โดยประเมินจาก sleep regularity scale ซึ่งมีคะแนนลดลงถึง 19% ทั้งนี้ปัญหาเรื่องการนอนหลับนั้นจัดเป็นอาการหนึ่งในภาวะ Long COVID และคณะวิจัยพบว่า ผู้ป่วยที่มีปัญหาการนอนหลับนี้มีแนวโน้มที่จะยาวนานอย่างน้อย 12 เดือน
นอกจากนี้ยังวิเคราะห์พบว่า ปัญหาการนอนหลับยังสัมพันธ์กับอาการผิดปกติอื่นๆ เช่น หอบเหนื่อย อ่อนแรง วิตกกังวล ฯลฯ อีกด้วย

...การป้องกันตัว ไม่ให้ติดเชื้อ หรือไม่ติดซ้ำ ย่อมดีที่สุด ใช้ชีวิตอย่างมีสติ ไม่ประมาท ป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอ เลี่ยงที่แออัด ไม่แชร์ของกินของใช้ร่วมกับผู้อื่น ระบายอากาศในที่บ้าน ที่ทำงาน ที่กินดื่ม ที่เที่ยว ให้ดี การใส่หน้ากากอย่างถูกต้อง จะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก

อ้างอิง
1. Coronavirus (COVID-19) Update: FDA Authorizes Changes to Simplify Use of Bivalent mRNA COVID-19 Vaccines. US FDA. 18 April 2023.
2. Disturbed sleep may partially explain Long COVID breathlessness, find researchers. The University of Manchester. UK. 16 April 2023.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอธีระวัฒน์' แจง 5 ข้อ พูดเรื่องผลกระทบการวัคซีนโควิดทำไม ในเมื่อมันผ่านไปแล้ว

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า

‘หมอมนูญ’ เตือนโควิดหลังสงกรานต์เปลี่ยนไป ใครมีอาการแบบนี้รีบตรวจ ATK

อาการของโรคโควิดเปลี่ยนไป ส่วนใหญ่เป็นอาการของทางเดินหายใจส่วนบน คอ จมูก มากกว่าทางเดินหายใจส่วนล่าง หลอดลม และปอด

'นิสิตเก่าจุฬาฯ' ตามบี้ 'วิทยานิพนธ์ณัฐพล' อุทธรณ์คำสั่ง ให้จุฬาฯเปิดเผยมติสอบสวน

นางวิรังรอง ทัพพะรังสี ประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อการปฏิรูปประเทศ ในฐานะนิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ รุ่น 30 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก

‘หมอมนูญ’ เผยผลติดตามสถานการณ์ 5 โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ

ข้อมูลของโรงพยาบาลวิชัยยุทธที่ติดตามโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ไวรัสไข้หวัดใหญ่  ไรโนไวรัส (Rhinovirus) อาร์เอสวี (RSV) และ ฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส Human metapneumovirus (hMPV)