ศบค. เปิดผลสำรวจเผยสาเหตุไม่ยอมฉีดวัคซีน อันดับ 1 'คิดว่าไม่เสี่ยงติดเชื้อ'

8 ธ.ค.2564 - ที่ทำเนียบรัฐบาล พญ.สุมนี วัชรสินธุ์ ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค ในฐานะผู้ช่วยศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. แถลงสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศไทยว่า สำหรับจังหวัดที่มีการฉีดวัคซีนครอบคลุมประชาชนทั่วไปน้อยที่สุด 10 จังหวัดได้แก่ หนองบัวลำภู สุรินทร์ บึงกาฬ นครพนม สกลนคร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด สมุทรสงครามพิษณุโลก และศรีสะเกษ

ส่วนการฉีดครอบคลุมประชากรกลุ่มเสี่ยงผู้สูงอายุและมีโรคประจำตัวน้อยที่สุด 10 จังหวัดได้แก่ ราชบุรี นครนายก ปัตตานี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี สระบุรี แม่ฮ่องสอนนราธิวาส สมุทรสาคร ลพบุรี จึงขอให้ประชาชนในจังหวัดเหล่านี้เร่งฉีดวัคซีน

อย่างไรก็ตาม จากผลการฉีดวัคซีนที่ผ่านมาพบว่าจำนวนผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนเริ่มชะลอตัวและลดจำนวนลง ทางกระทรวงสาธารณสุขโดยกรมควบคุมโรคและกรมสุขภาพจิต จึงได้สำรวจสาเหตุและปัจจัยในผู้ที่ไม่มารับบริการฉีดวัคซีน จาก 5 จังหวัดคือกรุงเทพฯ และจังหวัดหัวเมืองภาคต่างๆ ได้แก่ ขอนแก่นชลบุรี เชียงใหม่ สงขลา ในช่วงวันที่ 20-21 พ.ย. ที่ผ่านมาพบว่า 80.9% ของประชาชนที่ไปสอบถามได้ฉีดครบสองเข็มแล้ว ,20.6% ได้ฉีดเข็มกระตุ้นเข็มที่สามแล้ว และ 8.5% ยังไม่ได้ฉีด จึงได้มีการสอบถามเพิ่มเติมพบว่าสาเหตุที่ตัดสินใจไม่ไปฉีดเนื่องจาก 7.2% ของผู้ที่ตอบแบบสำรวจอยู่ในพื้นที่ที่อาศัยได้รับวัคซีนที่ต้องการมีน้อย ,15.5% จองคิวยาก , 20% ไม่มีวัคซีนที่ต้องการ ,22.8% กลัวผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน และอีก 32.8% หรือ 1 ใน 3 ของผู้ที่ไม่ไปฉีดวัคซีนไม่ได้มีอุปสรรคใดๆ แต่คิดว่าตนเองไม่ได้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ

พญ.สุมนี กล่าวอีกว่า นอกจากนี้มีการลงไปสำรวจอีก 10 จังหวัดที่ฉีดวัคซีนได้น้อย ได้แก่แม่ฮ่องสอน สมุทรสงคราม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ นครพนม สกลนคร บึงกาฬ สุรินทร์ หนองบัวลำภูยโสธร ซึ่งเมื่อสอบถามผู้ที่ไม่ได้ไปฉีดวัคซีนส่วนใหญ่กว่า 80% เป็นผู้สูงอายุ และกว่าครึ่งเป็นผู้ที่มีโรคประจำตัว ซึ่งได้ตอบแบบสำรวจมาพบว่าสาเหตุที่ไม่ได้ไปฉีดวัคซีน 5 อันดับแรกคือ กลัวมีอาการอ่อนแรงและทำงานไม่ได้ 75.38% , กลัวเป็นอัมพฤกษ์อัมพาต 74.62% , กลัวว่าจะเกิดมีอาการข้างเคียง เช่น เป็นไข้ ปวดหัว ปวดตัว 72.31% , 64.62% ไม่แน่ใจถึงประสิทธิภาพของการฉีดวัคซีน , 50.08% คิดว่าตัวเองไม่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ ซึ่งนั่นคือครึ่งหนึ่งเลย จึงไม่ได้ไปรับวัคซีน และเมื่อสอบถามต่อว่าแล้วจะไปฉีดวัคซีนหรือไม่ 42.3% ตอบว่าขอคิดดูก่อนและรอดูข้อมูล อีก 1 ใน3 หรือ 30.77% ไม่ไปฉีดแน่นอน และ 26.93% จะไปฉีดเมื่อมีโอกาส

พญ.สุมนี กล่าวว่า อย่างไรก็ตามจากผลการสำรวจ ผู้ที่ตอบแบบสำรวจและไม่มาฉีดวัคซีนส่วนใหญ่ยังเป็นผู้ที่คิดว่าตนเองไม่มีความเสี่ยง โดยพบว่าผู้ที่ตอบแบบสอบถามนี้เป็นกลุ่มผู้สูงอายุและเป็นผู้ที่มีโรคประจำตัว ดังนั้นถ้าจะมีการติดเชื้อก็ยังคงเป็นกลุ่มผู้เสี่ยงสูง จึงต้องขอฝากนักวิชาการ สื่อมวลชน และบุตรหลานของผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัวในกลุ่มนี้ให้เข้าใจเรื่องการได้รับวัคซีนที่ถูกต้องและเห็นถึงประโยชน์ของการเข้ารับการฉีดวัคซีนให้เพิ่มขึ้น ถ้าเป็นไปได้ขอให้พาผู้สูงอายุมารับบริการฉีดวัคซีนในจุดที่ให้บริการทั่วประเทศ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ชี้แจงข้อเท็จจริง 'ลิ่มเลือดสีขาว' ไม่เกี่ยวฉีดวัคซีนโควิด

สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ชี้แจงข้อเท็จจริง เรื่อง ลิ่มเลือดสีขาว (White clot) และวัคซีนโควิด 19 ชนิด mRNA จากกรณีที่มีการเผยแพร่และส่งต่อข้อมูลเกี่ยวกับการพบสิ่งแปลกปลอมซึ่งมีลักษณะเป็นลิ่มเลือดสีขาว (White clot) ในหลอดเลือดผู้เสียชีวิตที่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด 19

'หมอยง' ไขข้อข้องใจ 'วัคซีนโควิด' กับผลได้ผลเสีย

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19 วัคซีนโควิด 19

โควิดยังไม่แผ่ว! 'กลุ่มเสี่ยง' ยังต้องฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิฯ

โควิดยังอยู่ แพทย์ชี้กลุ่มเสี่ยงยังต้องฉีดวัคซีนโควิด เน้นฉีดกระตุ้นภูมิฯ โดยสามารถฉีดฟรีได้ที่โรงพยาบาลตามสิทธิการรักษา

'รัดเกล้า' สรุปความก้าวหน้าการวิจัยและผลิตวัคซีนโควิด 4 ชนิดในประเทศไทย

นางรัดเกล้า อินทวงค์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ (กวช.) เสนอความก้าวหน้าการวิจัยพัฒนาและผลิตวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ศูนย์จีโนมฯ อัปเดตผลทดลอง 'วัคซีนโควิด' รุ่นล่าสุด 'XBB.1.5 โมโนวาเลนต์'

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า องค์การอนามัยโลกระบุวัคซีนโควิด-19 เจนเนอเรชั่นล่าสุด “XBB.1.5 โมโนวาเลนต์”