'นพ.ธีระ' ชี้คนที่เคยติดเชื้อโควิดจะมีอาการคงค้างสูงถึง 20-40%

'หมอธีระ' เผยคนติดโควิด-19 ทะบุ 338 ล้านคนไปแล้ว เผยโอมิครอนในยุโรปและอเมริกาเป็นขาดลง แต่เอเชียและอเมริกาใต้เป็นขาขึ้น เตือน Long COVID ส่งผลกระทบต่อร่างกาย

20 ม.ค.2565 - รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์โควิด-19 ประจำวันที่ 20 มกราคม 2565 ว่าทะลุ 338 ล้านไปแล้ว เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่มสูงถึง 3,209,137 คน ตายเพิ่ม 8,149 คน รวมแล้วติดไปรวม 338,878,325 คน เสียชีวิตรวม 5,582,064 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ อเมริกา ฝรั่งเศส อินเดีย บราซิล และอิตาลี จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ ซึ่งรวมกันคิดเป็นร้อยละ 83.92 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 84.36 ล่าสุดจำนวนติดเชื้อใหม่จากทวีปยุโรปนั้นคิดเป็นร้อยละ 46.4 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 41.35

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปครอง 5 ใน 10 อันดับแรก และ 11 ใน 20 อันดับแรกของโลก
...ภาพรวมทวีปยุโรปและอเมริกากำลังขาลง แต่ทวีปเอเชีย และอเมริกาใต้ตอนนี้ดูเป็นขาขึ้นมากหลายประเทศ
แถบเอเชียอย่างอินเดีย ติดเพิ่มกว่าสามแสนคน ในขณะที่ตุรกี อิสราเอล ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ ก็เพิ่มขึ้นหลายหมื่นในแต่ละวัน

ที่น่าสังเกตคือ แอฟริกาใต้ที่โดนระลอก Omicron ไปตั้งแต่ปลายปีก่อน ติดเชื้อจำนวนมาก โดยจำนวนเสียชีวิตที่รายงานในช่วงนั้นน้อยมาก แต่ปัจจุบันที่จำนวนการติดเชื้อลดเหลือหลักพัน เป็นขาลงชัดเจน โดยกลับมีรายงานจำนวนเสียชีวิตที่เป็นขาขึ้นชัดเจน สะท้อนความเป็นไปได้ของระยะเวลาที่เหลื่อมกันมากของระบบรายงาน

...ใส่หน้ากากนะครับ สองชั้น ชั้นในเป็นหน้ากากอนามัย ชั้นนอกเป็นหน้ากากผ้า พบคนน้อยลง สั้นลง เท่าที่จำเป็น และอยู่ห่างคนอื่นเกินหนึ่งเมตร เลี่ยงการกินดื่มร่วมกับผู้อื่น ไม่แชร์ของกินของใช้

การติดเชื้อ Omicron แม้จะรุนแรงน้อยกว่าเดลตา แต่หลักฐานวิชาการจนถึงปัจจุบันชี้ให้เห็นว่าคนที่เคยติดเชื้อโควิดมาก่อน จะมีภาวะอาการคงค้าง หรือ Long COVID ได้สูงถึง 20-40% และภาวะ Long COVID นั้น จะส่งผลต่อระบบต่างๆ ในร่างกาย มีปัญหาระยะยาวได้ ทั้งเรื่องระบบสมอง ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบทางเดินอาหาร ระบบภูมิคุ้มกัน ฯลฯ นอกจากนี้ในเด็ก ยังส่งผลให้เสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานชนิดที่ 1 ซึ่งจะเรื้อรังไปตลอดชีวิตได้ด้วย ไม่ติดเชื้อย่อมดีที่สุด

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอธีระวัฒน์' แจง 5 ข้อ พูดเรื่องผลกระทบการวัคซีนโควิดทำไม ในเมื่อมันผ่านไปแล้ว

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า

‘หมอมนูญ’ เตือนโควิดหลังสงกรานต์เปลี่ยนไป ใครมีอาการแบบนี้รีบตรวจ ATK

อาการของโรคโควิดเปลี่ยนไป ส่วนใหญ่เป็นอาการของทางเดินหายใจส่วนบน คอ จมูก มากกว่าทางเดินหายใจส่วนล่าง หลอดลม และปอด

'นิสิตเก่าจุฬาฯ' ตามบี้ 'วิทยานิพนธ์ณัฐพล' อุทธรณ์คำสั่ง ให้จุฬาฯเปิดเผยมติสอบสวน

นางวิรังรอง ทัพพะรังสี ประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อการปฏิรูปประเทศ ในฐานะนิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ รุ่น 30 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก