นพ.ธีระเผย 2 ปัจจัยที่กำหนดทิศทางการอยู่กับโควิด-19

'หมอธีระ' ชี้ 2 ปัจจัยที่จะทำให้ไทยอยู่กับโควิดได้ คือ การมีวัคซีนคุณภาพสูงและความเข้าใจทางการแพทย์ที่โควิดมีผลในระยะยาว

03 ก.พ.2565 - รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์โควิด-19 ว่า ทะลุ 384 ล้านไปแล้ว เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่มสูงถึง 2,916,531 คน ตายเพิ่ม 10,858 คน รวมแล้วติดไปรวม 384,960,111 คน เสียชีวิตรวม 5,716,637 คน 5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ฝรั่งเศส เยอรมัน อเมริกา บราซิล และอินเดีย จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ ซึ่งรวมกันคิดเป็นร้อยละ 86.89 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 79.07
ล่าสุดจำนวนติดเชื้อใหม่จากทวีปยุโรปนั้นคิดเป็นร้อยละ 55.63 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 35.1 เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปครอง 6 ใน 10 อันดับแรก และ 12 ใน 20 อันดับแรกของโลก

...ดูสถิติรายสัปดาห์ของ Worldometer ทั่วโลกมีจำนวนติดเชื้อใหม่ลดลง 7% และเสียชีวิตเพิ่มขึ้น 14%

มองดูสถิติของไทยเรา สถานการณ์ระบาดยังไม่ดีนัก สวนกับกระแสโลก โดยจำนวนติดเชื้อใหม่เพิ่มขึ้น 6% และเสียชีวิตเพิ่มขึ้น 27%

...ปัจจัยหลักที่กำหนดทิศทางในการอยู่กับโควิด-19 มีอยู่ 2 เรื่องหลัก ได้แก่

หนึ่ง การเข้าถึงวัคซีนที่มีคุณภาพสูงของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และคนที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง หากประเทศใด ยังไม่สามารถทำให้เข้าถึงวัคซีนที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุม ครบถ้วน แต่ไปดำเนินมาตรการเปิดเสรีการใช้ชีวิตเร็วเกินไป ย่อมเกิดผลกระทบทั้งด้านการติดเชื้อ ป่วย และตายตามมา และจะทำให้ระยะเวลาการระบาดยืดยาวออกไปมากขึ้น

สอง ความรู้ความเข้าใจทางการแพทย์เกี่ยวกับ Long COVID ผลกระทบระยะยาว และการเตรียมระบบสุขภาพเพื่อรองรับดูแลและให้คำปรึกษา

...การระบาดของไทยเรายังเยอะ กระจายไปต่อเนื่อง จำเป็นต้องป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอ ณ จุดนี้ จำเป็นต้องพึ่งตนเอง และดูแลตนเองและสมาชิกในครอบครัวให้ดี เพื่อประคับประคองตัวให้ผ่านพ้นการระบาดไปให้ได้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘หมอธีระ’ ข้องใจตัวเลขโควิด สัปดาห์ก่อนพุ่งอาทิตย์นี้ลดฮวบ ไม่ใช่เรื่องปกติ

สัปดาห์ก่อน ตัวเลขนอนรพ.พุ่งขึ้นกว่าสัปดาห์ก่อนหน้านั้นถึง 78% แต่สัปดาห์ล่าสุดนี้ ลดลงฮวบฮาบจากสัปดาห์ก่อนถึง 57.7% ส่วนตัวคิดว่าเป็นปรากฏการณ์ที่ควรต้อง explore

'หมอยง' ชี้ 'โควิด' ระบาดหนัก แต่รุนแรงลดลง เข้าใกล้ไข้หวัดใหญ่

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19