รู้ทันก่อนตกเป็นเหยื่อ! รวม 10 รูปแบบ ภัยแก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลอกลวงประชาชน

20 ต.ค.2565 - พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษกกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี(บช.สอท.) ขอเรียนประชาสัมพันธ์ ฝากเตือนภัยมิจฉาชีพแก๊งคอลเซ็นเตอร์แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยบังคับใช้กฎหมายหรือภาคเอกชนต่างๆ โดยใช้ความกลัวของเหยื่อเป็นเครื่องมือ ดังนี้

ในปัจจุบันยังคงพบว่ามีประชาชนหลงเชื่อตกเป็นเหยื่อจากภัยออนไลน์ด้านข่มขู่ให้เกิดความกลัว (Call Center) โดยจากสถิติการรับแจ้งความออนไลน์ตั้งเเต่วันที่ 1 มี.ค.65 -10 ต.ค.65 พบว่าการข่มขู่ให้เกิดความกลัว มีการรับเเจ้งความออนไลน์ จำนวน 6,574 เรื่อง หรือคิดเป็น 6.45 % จากจำนวนเรื่องรับเเจ้งความออนไลน์ทั้งหมด มีความเสียหายกว่า 1,385 ล้านบาท และสูงเป็นอับดับที่ 3 จากมูลค่าความเสียหายทั้งหมด

ตามนโยบายของรัฐบาล โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในการแก้ไขปัญหาภัยออนไลน์ที่ปรับเปลี่ยนรูปแบบ หรือพัฒนากลโกงใหม่ๆ อยู่เสมอ เพื่อมาหลอกลวงประชาชน โดยเฉพาะภัยจากแก๊งมิจฉาชีพคอลเซ็นเตอร์

กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี โดย พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. ได้ขับเคลื่อนตามนโยบายของรัฐบาล และนโยบายของ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในการป้องกันและปรามอาชญากรรมทางไซเบอร์ในทุกรูปแบบอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของภัยออนไลน์จากมิจฉาชีพแก๊งคอลเซ็นเตอร์ จึงได้กำชับสั่งการทุกกองบังคับการในสังกัด เร่งดำเนินการสืบสวนปราบปรามจับกุมผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างจริงจัง ให้มีผลการปฏิบัติเป็นรูปธรรม รวมถึงสร้างการรับรู้ สร้างภูมิคุ้มกัน ไม่ให้ประชาชนตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ

โฆษก บช.สอท. เรียนประชาสัมพันธ์ไปยังประชาชน ให้พึงระมัดระวังและสันนิษฐานว่าการรับสายโทรศัพท์หมายเลขที่ไม่คุ้นเคย หมายเลขแปลกๆ หากไม่แน่ใจให้รีบวางสายทันที โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมายเลขที่โทรมาจากต่างประเทศ ปัจจุบันจะมีเครื่องหมาย+697 ให้ท่านตั้งสติ อย่าตื่นตระหนก หลงเชื่อง่ายๆ และอย่าเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลเลขบัตรต่างๆ รหัสใช้ครั้งเดียว หรือ One Time Password (OTP) กับผู้ใดโดยเด็ดขาด

พร้อมกันนี้ขอประชาสัมพันธ์ถึง แผนประทุษกรรม 10 รูปแบบ ที่มิจฉาชีพมใช้แอบอ้างปลอมเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายบังคับใช้กฎหมายหรือภาคเอกชนต่างๆ เพื่อใช้ข่มขู่หลอกลวงเหยื่อ ดังนี้

1.อ้างเป็นเจ้าหน้าที่ภาครัฐโดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยบังคับใช้กฎหมาย แล้วส่งหมายจับ หมายเรียก ให้ทางไลน์ อ้างว่าเหยื่อมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดให้โอนเงินไปตรวจสอบ

2.ใช้วิธีเปิดกล้อง วิดีโอคอล สวมเครื่องแบบเจ้าหน้าที่ สร้างสถานการณ์เสมือนว่าเป็นเจ้าหน้าที่ ปฎิบัติหน้าที่อยู่ ณ ที่ทำการ

3.ทวงค่าปรับ อ้างเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร แจ้งเหยื่อว่ามีใบสั่งค้างชำระ ถ้าไม่ชำระจะถูกออกหมายจับ

4.หลอกให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันลงในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อ้างว่าเพื่ออัปเดตข้อมูล เป็นแอปพลิเคชันป้องกันการโกง แท้จริงแล้วเป็นแอปควบคุมมือถือระยะไกลเพื่อขโมยข้อมูลส่วนตัว และโอนเงินออกจากบัญชี

5.ข่มขู่ให้เกิดความกลัว แจ้งว่าท่านมีพัสดุยังไม่ได้จัดส่ง ให้ติดต่อกลับแล้วแจ้งว่าสิ่งของที่ส่งไปต่างประเทศมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด หรือเป็นสิ่งของผิดกฎหมาย เช่น ยาเสพติด การค้ามนุษย์ ก่อการร้าย หนังสือเดินทาง บัตรเอทีเอ็ม ฯลฯ

6.แจ้งบัญชีธนาคารถูกอายัดอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารแจ้งว่าบัญชีของคุณพัวพันกับการค้ายาเสพติดหรือการฟอกเงินหรือมีคดีความ

7.แจ้งว่าท่านค้างชำระภาษี หรืออ้างว่าได้รับภาษีเงินคืน อ้างเป็นเจ้าหน้าที่สรรพากร ส่งลิงก์ให้กรอกข้อมูลส่วนตัว แต่ลิงก์นั้นแฝงมัลแวร์ดักรับข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรมการเงิน

8.เเจ้งเตือนยอดค้างชำระ อ้างเป็นเจ้าหน้าที่บริษัทเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ หากไม่ชำระจะตัดสัญญาณ

9.หลอกว่าเป็นเจ้าหน้าที่บังคับคดีจะให้ความช่วยเหลือด้านการบังคับคดี

10.หลอกว่าเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยบังคับใช้กฎหมาย โดยการใช้เทคโนโลยี Deepfake(ปลอมใบหน้าและการเคลื่อนไหว) เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ

โฆษก บช.สอท. กล่าวอีกว่า หากพบรูปแบบกลโกงดังกล่าวข้างต้น สันนิษฐานได้ว่าอาจเป็นมิจฉาชีพ ขอให้ท่านรีบวางสายและไม่กดหมายเลขใดๆเพื่อติดต่อกลับ โดยเจ้าหน้าที่หน่วยบังคับใช้กฎหมายหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีหลักฐานว่าบุคคลใดมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด เจ้าหน้าที่จะใช้อำนาจตามกฎหมายในการตรวจยึด หรืออายัดบัญชีธนาคาร โดยจะเป็นผู้ติดต่อกับทางธนาคารโดยตรง หรือออกหมายเรียก ออกหมายจับผู้ที่เกี่ยวข้อง ตามขั้นตอนของกฎหมายเท่านั้น จะไม่ส่งให้ทางสื่อสังคมออนไลน์โดยเด็ดขาด ซึ่งท่านสามารถตรวจสอบโดยโทรศัพท์สอบถามไปยังหน่วยงานนั้นได้โดยตรง

ทั้งนี้หากพบเบาะแสการกระทำผิด สามารถติดต่อไปยังสายด่วนตำรวจไซเบอร์ หมายเลข 1441 หรือ 081-866-3000 ตลอด 24 ชม. และแจ้งความออนไลน์ที่เว็บไซต์ Thaipoliceonline.com หรือเดินทางไปแจ้งความที่สถานีตำรวจท้องที่เกิดเหตุโดยตรง พนักงานสอบสวนจะทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไปยังธนาคาร เพื่อทำการยับยั้งการธุรกรรมชั่วคราวของบัญชีคนร้ายโดยเร็ว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'จยย.ป้ายแดง' พุ่งชนเสาไฟฟ้าเกาะกลางถนน ดับคาที่

เมื่อเวลาประมาณ 03.10 น. พ.ต.ต.โยธิน เชื้อบุญมี สารวัตรสอบสวน สภ.กระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร พร้อมด้วย หน่วยรถพยาบาล และเจ้าหน้าที่มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง

รัฐบาลเตือนอย่าหลงเชื่อมิจฉาชีพออนไลน์ อ้างเป็นจนท.ช่วยลงทะเบียนรับเงินหมื่น

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า สืบเนื่องจากการดำเนินโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ที่มีการแจกเงินหมื่นให้กับกลุ่มเปราะบาง และผู้พิการ

เปลี่ยนโรงพักเป็นศูนย์อพยพ 'บช.ภ.4' สั่งตร.รับมือน้ำทะลักอีสาน 12 จังหวัด

ตร.ภ.4 เปิดพื้นที่ทุกโรงพักเป็นจุดจอดรถ-ศูนย์อพยพฯหรือตั้งโรงครัว พร้อมส่งชุดเคลื่อที่เร็วให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมครอบคลุมทุกพื้นที่ ทั้งยังจัดสายตรวจทางน้ำเฝ้าระวังทรัพย์สินของประชาชน เตือนมิจฉาชีพแอบฉวยโอกาสจับติดคุกทันที

'อัยการ' เตือนแก๊งแมวน้ำ ขโมยของผู้ประสบอุทกภัย โทษหนักติดคุกถึง 10 ปี

'โกศลวัฒน์’ อธ.อัยการ เตือนเเก๊งเเมวน้ำลักทรัพย์ตอนเกิดน้ำท่วม ซ้ำเติมชาวบ้านอัตราโทษหนักกว่าเดิมมาก เผย สคช. เตรียมเเผนช่วยชาวบ้านหลังน้ำลด

ดีอี เตือน ข่าวปลอม โรงพยาบาลดังเปิดให้ลงทุนหุ้น อย่าเขื่อเสี่ยงสูญเงิน

ดีอี เตือน ข่าวปลอม “โรงพยาบาลดังเปิดให้ลงทุนหุ้น กำกับดูแลโดย ก.ล.ต.” อย่าเชื่อ-แชร์ เสี่ยงสูญเงิน-ข้อมูลส่วนบุคคล

จับมิจฉาชีพ ส่งข้อความมือถือ อ้างการไฟฟ้าคืนเงิน ลวงเหยื่อกดรหัสดูดเงินเกลี้ยงบัญชี

พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญช ผบช.สอท. ได้สั่งการให้ พล.ต.ต.สถิตย์ พรมอุทัย ผบก.สอท.3 พ.ต.อ.สรกฤช พันธ์ศรี ผกก.3 บก.สอท.3 พร้อมเจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.3 บก.สอท.3 จับกุมนางสาว จิตติมา อายุ 35 ปี