'ดีอีเอส' เตือนภัย เล่ห์ใหม่ 'แก๊งคอลเซ็นเตอร์' ดูดเงิน!


18 มี.ค.2566 - นางสาวนพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส) เปิดเผยว่า ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีข่าวที่ได้รับความสนใจจากประชาชนในเรื่องการฉ้อโกงออนไลน์รูปแบบใหม่ของแก๊งคอลเซนเตอร์ โดยการใช้ QR Code หลอกดูดเงิน วิธีการคือ แก๊งคอลเซนเตอร์ติดต่อร้านอาหารผ่านแอปพลิเคชันไลน์หลอกสั่งข้าวกล่องจำนวน 100 กล่อง เพื่อนำไปจัดเลี้ยงประชุม และโอนมัดจำมาก่อน 2,000 บาท วันต่อมา คนร้ายได้โทรศัพท์บอกให้ร้านอาหารสั่งชุดอาหารพิเศษเพิ่ม 7 ชุด และส่ง QR Code มาให้ร้านแอด และบอกว่าจ่ายเงินเพิ่มให้ภายหลัง โดยอ้างว่าเป็น QR Code แอดไลน์เท่านั้น แต่เมื่อแสกน QR Code พบว่า หน้าจอเหมือนถูกไวรัส เจ้าของโทรศัพท์จึงรีบเข้าแอปฯ ธนาคาร เพื่อโอนเงินออกส่วนใหญ่ออกไปบัญชีอื่นก่อน และโทรศัพท์ก็เริ่มค้าง ระบบรวนจึงรีบปิดเครื่อง

จากกรณีที่เกิดขึ้น กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มีความห่วงใยความปลอดภัยของประชาชน จึงขอแจ้งเตือนว่า ในการใช้จ่ายสินค้าหรือบริการต่างๆ ร้านอาหารหลายแห่งเริ่มใช้ QR CODE ในการชำระเงินแบบไร้เงินสด แต่เหรียญมีสองด้าน การใช้งานที่ค่อนข้างสะดวกของ QR CODE ก็ต้องระวังและมีสติในการใช้งานด้วยเช่นกัน เพราะคนร้ายหรือมิจฉาชีพอาจจงใจใช้ QR CODE พิมพ์ URL ซึ่งนำไปสู่เว็บไซต์หลอกลวง (Phishing) หลอกให้กรอกข้อมูลหรือบัญชีธนาคาร หรือหลอกให้โอนเงินไปบัญชีคนอื่นที่ไม่ใช่บัญชีของร้านค้าได้ ดังนั้นประชาชนต้องปกป้องตัวเอง และป้องกันภัยจาก QR Code หลอกลวง หรือ QR Code Scams ดังนี้

1. ควรตรวจสอบแหล่งที่มาของ QR CODE ว่ามีความหน้าเชื่อถือหรือไม่ โดยก่อนกด Scan ควรตรวจสอบหรือ Preview ตัวลิงก์หรือ URL โดยเมื่อเราใช้กล้องของมือถือ Smart Phone ส่องดูก่อนกด Scan หากพบว่าลิงก์ที่ปรากฎขึ้นมาแปลกๆ หรือไม่ตรงกับชื่อเว็บไซต์ที่ใช้บริการอยู่ก็ไม่ควรที่จะกด Scan ต่อ

2. ใช้โปรแกรมในการ Scan ที่สามารถระบุได้ว่าลิงก์ที่ Scan จาก QR CODE เป็นลิงก์ที่ปลอมหรือหลอกลวง (malicious links) ซึ่งสามารถหาใช้งานได้จากโปรแกรม Antivirus ที่มีคุณสมบัตินี้ คล้ายก็การ scan virus ก่อนใช้งาน usb drive แต่นี้คือการ Scan QR CODE หรือลิงก์ก่อนที่จะทำธุรกรรมต่อไป

3. เมื่อกด Scan QR CODE ไปแล้ว ก่อนโอนเงินหรือทำธุรกรรมใดๆ ควรจะตรวจสอบให้แน่ใจว่าเป็นบัญชีของผู้ขายจริงๆ โดยสอบถามยืนยันกับผู้ขายว่าชื่อบัญชีนี้ถูกต้องหรือไม่ ก่อนที่จะโอนเงินชำระค่าสินค้าไป เพราะคนร้ายสามารถสร้าง QR CODE ปลอมบัญชีอื่นซึ่งไม่ใช่บัญชีของร้านค้าเอามาหลอกเราได้ ควรตระหนักหรือระวังในส่วนนี้ด้วย

หากท่านใดได้รับความเดือดร้อนจากแก๊งมิจฉาชีพ หรือถูกหลอกลวงออนไลน์ต่าง ๆ หรือพบเห็นการกระทำความผิด สามารถแจ้งเบาะแสได้ทางสายด่วนโทร 1212 ตลอด 24 ชั่วโมง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดีอีเอส พบเฟคนิวส์พุ่ง พบประเด็นสุขภาพ-อ้างเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ-หลอกกู้เงินนำโด่ง

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เตือนประชาชนควรตรวจสอบข้อมูลให้ครบ รอบด้าน อย่าหลงเชื่อตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ หลังพบตัวเลขข่าวปลอมสัปดาห์ล่าสุด ระบุคนสนใจเรื่อง มังคุดนึ่งรักษาโรคมะเร็ง - อ้างเป็นเจ้าหน้าที่การไฟฟ้า หลอกแอดไลน์ ติดตั้งแอฟลดค่าไฟ – ธนาคารกรุงไทย - ออมสินอ่วม! อ้างชื่อปล่อยกู้วงเงินสูง ดอกเบี้ยต่ำ และเกาหลีขึ้นบัญชีดำนักท่องเที่ยวไทย 4 ภาคอีสาน ติดอันดับ วอนอย่าเชื่อ-เช็คก่อนแชร์

รองโฆษกอัยการ ฝาก ปชช.ศึกษา พ.ร.ก.ป้องกันอาชญากรรมไซเบอร์

นายโกศลวัฒน์ อินทุจันทร์ยง รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด และรองอธิบดีอัยการสำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน กล่าวถึงกรณีเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พระ

ออมสินอ่วม! เจอโจรไซเบอร์ปั่นข่าวปลอมซ้ำซาก

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เผยตัวเลขเฟคนิวส์รายสัปดาห์ ประชาชนแห่สนใจเรื่องการลงทุน และการปล่อยกู้วงเงินสูง ดอกเบี้ยต่ำ หลังมิจฉาชีพปลอมตัวเป็นธนาคารออมสิน และหน่วยงานด้านการลงทุนอื่นๆ เตือนประชาชนเช็คข้อมูลให้ครบทุกด้านอย่าหลงเชื่อ

ดีอีเอส เผยสถิติเฟคนิวส์เรื่องข่าวปลอมรักษาโรค-สุขภาพมาแรง

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เผยตัวเลขเฟคนิวส์รายสัปดาห์ แม้ข่าวปลอมนโยบายรัฐนำโด่ง แต่เรื่องของสุขภาพยังมาแรง พบประชาชนสนใจ และค้นหามากที่สุด ขณะที่ มิจฉาชีพปลอมตัวเป็นแบงค์พาณิชย์ไม่แผ่ว เตือนประชาชนอย่าเสียรู้โจร เช็คข้อมูลทุกด้านให้ดีก่อนหลงเชื่อ