
ตำรวจไซเบอร์เตือน 3 ภัยออนไลน์ข้าราชการเกษียณ ลวงเหยื่อสูญเงิน อาศัยช่วงเดือนก.ย.เกษียณอายุราชการ หลอกเอาทรัพย์สิน
24 ก.ย.2566 – พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก บช.สอท. กล่าวว่า ตามที่ในช่วงเดือนกันยายนของทุกปี จะมีข้าราชการต่างๆ ครบกำหนดอายุการรับราชการ หรือที่เรียกว่าเกษียณอายุราชการนั้น ก็เป็นเรื่องหนึ่งที่มีมิจฉาชีพมักนำมาใช้หลอกลวงประชาชน หรือนำมาแสวงหาผลประโยชน์โดยผิดกฎหมาย โดยจากการตรวจสอบสถิติผ่านระบบศูนย์บริหารการรับแจ้งความออนไลน์ที่ผ่านมานั้น พบ 3 เรื่องที่มิจฉาชีพนำมากล่าวอ้าง หรือแอบอ้างในการหลอกลวงเอาทรัพย์สินของประชาชน ดังนี้ 1.หลอกลวงให้ร่วมลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ โดยมิจฉาชีพจะสร้างช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ แอบอ้างบุคคล หรือบริษัทที่มีชื่อเสียงด้านการลงุทน หลอกลวงผู้เสียหายให้ลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ เช่น ทองคำ เหรียญดิจิทัล พลังงาน เป็นต้น โดยมีการใช้คำโฆษณาสวยหรู อ้างว่าเป็นการลงทุนของผู้สูงวัยใกล้เกษียณอายุ เริ่มต้นลงทุนด้วยเงินหลักพันบาท แต่ได้ผลตอบแทนสูงในเวลาอันรวดเร็ว
พ.ต.อ.กฤษณะ ระบุว่า 2.หลอกลวงให้ติดตั้งแอปพลิเคชันควบคุมโทรศัพท์มือถือ โดยมิจฉาชีพจะโทรศัพท์ไปยังผู้เสียหาย ซึ่งเป็นข้าราชการที่เกษียณอายุราชการ หรือกำลังจะเกษียณอายุราชการ แอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่กรมบัญชีกลาง แจ้งว่าจะขอทำการตรวจสอบข้อมูลการรับบำนาญให้ทำการลงทะเบียนยืนตัวตน หรือแจ้งว่าจะได้รับเงินประกันบำนาญ ให้ทำการอัปเดตข้อมูล จากนั้นหลอกลวงให้ติดตั้งแอปพลิเคชันกรมบัญชีกลางปลอม “ Digital Pension ” ผ่านเว็บไซต์ปลอม หรือลิงก์ที่ส่งให้ จากนั้นให้กรอกข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลทางการเงิน สแกนใบหน้า และให้สิทธิการเข้าถึง และควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ กระทั่งมิจฉาชีพโอนเงินออกจากบัญชีผู้เสียหาย
พ.ต.อ.กฤษณะ ระบุว่า 3.หลอกลวงให้รักแล้วโอนเงิน (Romance Scam) โดยมิจฉาชีพจะสร้างโปรไฟล์สื่อสังคมออนไลน์เป็นชาวต่างชาติ เป็นข้าราชการทหาร หน้าตาดี หลอกลวงผู้เสียหายให้หลงรัก มีความเชื่อใจ อยากมาใช้ชีวิตเกษียณอายุกับผู้เสียหายในประเทศ ต่อมาอ้างว่าจะส่งสิ่งของมาให้ แต่ภายในกล่องเป็นเงินหรือทรัพย์สินที่มีมูลค่าสูง หลอกผู้เสียหายให้โอนเงินจ่ายค่าขนส่ง ค่ารับรองต่อต้านการฟอกเงิน ค่าภาษี ไปให้กับมิจฉาชีพ
“ ที่ผ่านมายังคงพบว่ามีการหลอกลวงในลักษณะดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง มิจฉาชีพมักจะเปลี่ยนเนื้อเรื่อง เปลี่ยนชื่อหน่วยงานไปตามวันเวลา หรือสถานการณ์ในแต่ละช่วง ไม่ว่าจะเป็นการได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ แอบอ้างโครงการของรัฐ การหลอกลวงให้อัปเดตข้อมูลเพื่อยืนยันตัวบุคคล หรือหลอกลวงสร้างสื่อสังคมออนไลน์ปลอมเป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือ อาศัยความความโลภ ความไม่รู้ของประชาชนเป็นเครื่องมือในการหลอกลวง” โฆษก บช.สอท. ระบุ
โฆษก บช.สอท. กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้ ขอฝากประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงแนวทางการป้องกันการหลอกลวงในลักษณะดังกล่าวดังต่อไปนี้ 1.ระมัดระวังการชักชวนจากคนที่เพิ่งรู้จัก ไม่เคยเห็นหน้า หรือเป็นคนต่างชาติหน้าตาดี ที่เข้ามาตีสนิทแล้วชวนให้ลงทุนบนแพลตฟอร์ม หรือแอปพลิเคชันต่างประเทศ อ้างว่าลงทุนแล้วได้ผลกำไรสูง การันตีผลกำไรแน่นอน
2.มิจฉาชีพมักอ้างว่ารู้จักผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน โดยบุคคลที่มักนำรูปและชื่อมาแอบอ้างนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นบุคคลสาธารณะที่มีชื่อเสียงหรือมีความรู้ด้านการลงทุน พร้อมสร้างเว็บไซต์ปลอมเพื่อหลอกลวงเหยื่อ
3.หลีกเลี่ยงการลงทุนหรือข้อเสนอที่ฟังดูดีเกินกว่าจะเป็นไปได้ พึงระลึกไว้เสมอว่า “ ไม่มีสิ่งใดได้มาโดยง่าย โดยเฉพาะเรื่องเงิน ” และ “ การลงทุนมีความเสี่ยง ควรศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนตัดสินใจ ”
4.ตรวจสอบรายชื่อผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับใบอนุญาตจาก ก.ล.ต. ได้ที่ www.sec.or.th/seccheckfirst
5.ระวังการกดลิงก์ที่แนบมากับข้อความสั้น (SMS) หรือที่ส่งมาให้ทางสื่อสังคมออนไลน์ หรือช่องทางที่ให้ติดตั้งแอปพลิเคชันของหน่วยงานนั้นๆ
6.ระวังการรับโทรศัพท์จากหมายเลขที่ไม่รู้จัก โดยมีการแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่างๆ ให้ตรวจสอบก่อนว่ามาจากหน่วยงานนั้นจริงหรือไม่ ผ่านหมายเลขคอลเซ็นเตอร์ หรือผ่านเว็บไซต์ทางการของหน่วยงานนั้นโดยตรง
7.การติดตั้งแอปพลิเคชันผ่าน App Store หรือ Play Store จะมีความปลอดภัยมากกว่า แต่จะต้องตรวจสอบว่าแอปพลิเคชันดังกล่าวเป็นของหน่วยงานนั้นๆ จริงหรือไม่ ป้องกันมิจฉาชีพสร้างแอปพลิเคชันปลอมนั้นขึ้นมา
8.ไม่ให้ข้อมูลส่วนตัวกับบุคคลอื่น ไม่กรอก หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวลงบนสื่อสังคมออนไลน์
9.หมั่นติดตามข่าวสารของทางราชการอยู่เสมอ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ตำรวจไซเบอร์-กระทรวงดีอี จับอดีตพนักงานค่ายมือถือ ยึดซิมผีกว่า 2.4 หมื่นซิม
นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พร้อมด้วย พล.ต.อ.ธนา ชูวงศ์ รอง ผบ.ตร.(สส), พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท., พล.ต.ต.วิวัฒน์ คำชำนาญ รอง ผบช.สอท. ร่วมแถลงข่าว ยุทธการ " ชิม สาย เสา" ตัดวงจรแก๊งคอลเซ็นเตอร์
'ตำรวจไซเบอร์' เตือนภัย 'ลอยกระทงออนไลน์'
กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือตำรวจไซเบอร์ ได้เตือนภัยลอยกระทงออนไลน์ โดยระบุว่า หลีกเลี่ยงเว็บไซต์ลอยกระทงออนไลน์
รวบบัญชีม้าแอบอ้างกรมที่ดิน หลอกติดตั้งแอปดูดเงิน สูญกว่า 3 แสนบาท
พล.ต.ต.สถิตย์ พรมอุทัย ผบก.สอท.3 สั่งการให้ พ.ต.ท.ภาคภูมิ บุญเจริญพานิช รอง ผกก.วิเคราะห์ข่าวฯ, พ.ต.ต.สมพร บุตรวงศ์ สว.กก.วิเคราะห์ข่าวฯ, พ.ต.ต.ธวัช ทุเครือ สว.กก.วิเคราะห์ข่าวฯ พร้อมชุดสืบสวนดำเนินการจับกุม น.ส.อลิชา อายุ 21 ปี
ฉับไว! ตำรวจไซเบอร์จับหนุ่มหัวร้อนโพสต์ขู่ฆ่านายกฯ
พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผบ.ตร. พล.ต.ท.ธนา ชูวงศ์ ผู้ช่วย ผบ.ตร. รรท.รอง ผบ.ตร.,พล.ต.ท.สำราญ นวลมา ผู้ช่วย ผบ.ตร. สั่งการใ
UN จี้รัฐไทย แจงข้อเท็จจริงปมไอโอโจมตี 'อังคณา-อัญชนา'
UN 6 คณะ ส่งหนังสือถึงรัฐไทยเรียกร้องให้ชี้แจงข้อเท็จจริงจากการขาดความรับผิดและมาตรการคุ้มครองต่อการข่มขู่และการคุกคามทางออนไลน์ต่อ“อังคณา-อัญชนา” พร้อมเสนอ 5 ข้อ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา
รวบแก๊งคอลเซ็นเตอร์ อ้างเป็นตำรวจหลอกเหยื่อติดตั้งแอปดูดเงินกว่า 3 ล้าน
พล.ต.ต.สถิตย์ พรมอุทัย ผบก.สอท.3 พ.ต.อ.อภิรักษ์ จำปาศรี ผกก.1 บก.สอท.3 ได้นำกำลังสืบสวนจับกุม นาย เมธาพร ที่หน้าบ้านพัก หมู่ 1 ต.หลักเขต อ.เมืองบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์ ทั้งนี้ สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2565 น.ส.นลินี ผู้เสียหายซึ่งทำงานในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น