บูรณะภาพเขียนฝาผนังอายุกว่า 200 ปี คืบแล้ว 80% หลังไฟไหม้อุโบสถ 'วัดราชบูรณะ'

อธิบดีกรมศิลปากร ตรวจคืบหน้าการบูรณะภาพจิตรกรรมฝาผนังอายุกว่า 200 ปี ที่วัดราชบูรณะ หลังจากเกิดเหตุการณ์เพลิงไหม้ ในปีที่ผ่านมา ทางเจ้าหน้าที่ได้ทำการบูรณะมาแล้วกว่า 80 % แล้ว

9 ก.ค.2565 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่วัดราชบูรณะ จ.พิษณุโลกนายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร พร้อมคณะได้เดินทางตรวจราชการในพื้นที่ จ.สุโขทัย และ จ.พิษณุโลก พร้อมทั้งตรวจความคืบหน้าในการบูรณะภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถ วัดราชบูรณะ หลังจากเกิดเหตุการณ์เพลิงไหม้ในปีที่ผ่านมา ส่งผลภาพจิตรกรรมฝาผนังที่มีอายุหลายร้อยปีเสียหาย และลวดลายทองถูกเขม่าควันไฟรมจนดำ ชั้นสีชำรุด หลุดร่วง รอยถลอก ขูด ขีด และเกิดคราบสกปรก ทำให้กรมศิลปากร ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบ จึงได้จัดทำโครงการอนุรักษ์จิตรกรรมภายในอุโบสถ ตั้งแต่เดือนมีนาคม-กันยายน 2565

สำหรับขั้นตอนการปฏิบัติงานการอนุรักษ์จิตรกรรมภายในอุโบสถ ทางเจ้าหน้าที่จะได้สำรวจและบันทึกสภาพความชำรุดของจิตรกรรมก่อน และระหว่างการอนุรักษ์ด้วยการถ่ายภาพเก็บไว้ จากนั้นติดตั้งนั่งร้านและบันทึกหลักฐานสภาพความชำรุดด้วยการเขียนลายเส้นรูปสัญลักษณ์ จากนั้นทำความสะอาดผิวจิตรกรรม, ทำการเสริมความมั่นคงให้กับชั้นรองพื้นที่ และชั้นสีของจิตรกรรม,ทำการเสริมความมั่นคงให้กับชั้นปูนฉาบ,ปิดทองคำเปลว 100% ซ้อมในรอยชำรุดของจิตรกรรมลวดลายทอง ,ทำการเขียนสีซ่อมจิตรกรรมตามหลักวิชาการอนุรักษ์ ซึ่งขณะนี้ทางเจ้าหน้าที่ได้ซ่อมแซมภาพจิตรกรรมฝาพนังได้กว่า 80% แล้ว คาดว่า จะแล้วเสร็จตามโครงการที่กำหนด

สำหรับวัดราชบูรณะ ทางกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนวัดราชบูรณะไว้เป็นโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 53ตอน 34 วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2479 และกรมศิลปากรได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์วัดราชบูรณะ ดังนี้ คือ ปี พ.ศ. 2528 บูรณะวิหารหลวง ปี พ.ศ. 2530 อนุรักษ์ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถ และปี พ.ศ. 2533 บูรณะเจดีย์หลวง โดยเสริมความมั่นคงทางรากฐาน และต่อยอดพระเจดีย์ทรงลังกาซึ่งหักชำรุดหายไปให้บริบูรณ์ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นสันนิษฐานว่าได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 เพราะได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ แล้วให้ช่างเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง เรื่องรามเกียรติ์ และมีการบูรณปฏิสังขรณ์พระวิหารแล้วให้ช่างเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง เรื่องพระพุทธประวัติ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อัญเชิญ12พระพุทธรูปมงคลให้สักการะสงกรานต์

13 เม.ย.2567 - นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เป็นประธานพิธีเปิด “งานประเพณีสงกรานต์ปีใหม่ไทย” (Songkran in Thailand, traditional Thai New Year festival) เนื่องในประเพณีสงกรานต์ ประจำปี พ.ศ. 2567 โดยมีนางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม

สรงน้ำพระธาตุ-เทวดานพเคราะห์ เทศกาลสงกรานต์

เนื่องในเทศกาลสงกรานต์สงกรานต์ กรมศิลปากรขอเชิญพุทธศาสนิกชนและผู้สนใจร่วมกิจกรรมสรงน้ำพระธาตุและเทวดานพเคราะห์ เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี 2567 ระหว่างวันที่ 12-14 เมษายน 2567  เวลา 09.00-16.00 น. ณ ศาลาสำราญมุขมาตย์พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

ประดับตกแต่ง'ขบวนเรือพระราชพิธี' มรดกวัฒนธรรมล้ำค่า

ขบวนพยุหยาตราทางชลมารคเป็นมรดกศิลปวัฒนธรรมล้ำค่าของประเทศไทย กองทัพเรือได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้จัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคตามโบราณราชประเพณี เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 การพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน

ส่งมอบเรือพระราชพิธี 16 ลำ ให้ศก.ประดับตกแต่ง

5 เม.ย. 2567 - เวลา 11.00 น. พลเรือเอก อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธี ส่งมอบการซ่อมทำเรือพระที่นั่งและเรือรูปสัตว์ จำนวน 16 ลำ ที่กองทัพเรือ ได้ดำเนินการเรียบร้อยให้แก่กรมศิลปากรเพื่อนำไปประดับตกแต่งตัวเรือ โดยมี

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์พร้อมเปิดปี 68

28 มี.ค.2567 - นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า กรมศิลปากรอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เป็นศูนย์กลางการอนุรักษ์โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ซึ่งเป็

ขุดค้น'วัดจักรวรรดิ' พัฒนาย่านเมืองเก่า

วัดจักรวรรดิราชาวาส วรมหาวิหาร หรือนิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า ‘วัดจักรวรรดิ’ เป็นวัดสำคัญกรุงรัตนโกสินทร์  มีอายุเก่าแก่ตั้งแต่สมัยอยุธยา เดิมชื่อวัดนางปลื้ม ต่อมาเรียกว่า วัดสามปลื้ม ขณะนี้มีความจำเป็นสำคัญเร่งด่วนในการสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดีวัดจักรวรรดิฯ