ขอความเป็นธรรม! ญาติเด็ก 14 เหยื่อโจ๋ยิงหัวจนพิการ ร้องคดี 6 เดือนไม่คืบ

ญาติเกินรับไหว ร้องขอความเป็นธรรม  ด.ช.14 เหยื่อโจ๋ยิงหัวกลายเป็นคนพิการ​  6 เดือน​ คดีไม่คืบไปไม่ถึงไหน ​ แถมคู่กรณีได้ประกันตัว

19 มี.ค.2566 – ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นางปราณี   อรัญพันธ์  อายุ 60 ปี  พร้อมด้วย น.ส.แสงเดือน   อรัญพันธ์  อายุ 22 ปี ชาว อ.โนนสุวรรณ  จ.บุรีรัมย์  ซึ่งเป็นยายและอาของ ด.ช.วิทยา  หรือน้องพี อายุ 14 ปี   ได้ออกมาเรียกร้องขอความเป็นธรรม    หลังจากน้องพี   หลานชายได้ถูกนายโน๊ต   อายุ 17 ปี  ใช้อาวุธปืนยิงเข้าที่หมวกกันน็อค กระสุนทะลุศรีษะด้านขวา   หลังจากนัดมาเคลียร์ปัญหาคาใจกัน  บริเวณหลังศาลากลางจังหวัดหลังเก่าในเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์  เมื่อเวลาประมาณ 20.30 น. วันที่ 3 ก.ย.65  ที่ผ่านมา   จนอาการสาหัสถูกส่งไปรักษาที่ รพ.บุรีรัมย์นานกว่า 20 วัน  พออาการเริ่มดีขึ้นหมอให้ออกมาพักรักษาตัวต่อที่บ้านตอนแรกก็พอช่วยเหลือตัวเองได้   แต่ตอนนี้ต้องกลายเป็นคนพิการนอนติดเตียงช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ 

แต่เหตุการณ์ผ่านไปกว่า 6 เดือนแล้วคดีกลับไม่มีความคืบหน้า    ทำให้ครอบครัวซึ่งมีฐานะยากจนอยู่แล้วได้รับความเดือดร้อน    ยายก็อายุมากดูแลหลานพิการคนเดียวไม่ไหว อาต้องออกจากงานมาคอยดูแลหลานที่บ้านทำให้ขาดรายได้    และที่คาใจคือตำรวจบอกให้รอผลตรวจเขม่าดินปืนก็รอมาจน 6 เดือน  แต่ล่าสุดตำรวจกลับบอกว่ายังไม่เจอปืน   ทำให้ครอบครัวรู้สึกคาใจและเกรงว่าหลานจะไม่ได้รับความเป็นธรรม   จึงได้ออกมาร้องขอความเป็นธรรมเพื่อให้ทางตำรวจทำคดีอย่างตรงไปตรงมา  เพื่อให้ความเป็นธรรมกับผู้เสียหายด้วย    

 น.ส.แสงเดือน  อาผู้บาดเจ็บ  ระบุว่า  หลังจากหลานชายถูกยิงก็ให้ทนายช่วยติดตามเรื่องคดีความให้   ตอนแรกทางตำรวจก็บอกว่าจับกุมตัวคนก่อเหตุได้แล้ว  อยู่ระหว่างรวบรวมพยานหลักฐาน และรอผลตรวจเขม่าดินปืน   แต่พอผ่านไป 6 เดือนตำรวจกลับบอกว่ายังไม่เจอปืนของกลาง   ไม่มีพยานเห็นเหตุการณ์  มีเพียงคำสารภาพของผู้ก่อเหตุ   และทราบว่าทางคู่กรณีได้รับการประกันตัวไปแล้วและใช้ชีวิตตามปกติ    และทางทนายแจ้งว่าพนักงานสอบสวนได้ส่งสำนวนไปอัยการแล้ว  แต่ถูกตีสำนวนกลับให้มาดำเนินการเพิ่มเติม   จึงทำให้ครอบครัวรู้สึกไม่สบายใจเกรงจะไม่ได้รับความเป็นธรรม    ซึ่งก่อนหน้านี้ทางพนักงานสอบสวนได้เรียกไปพูดคุยไกล่เกลี่ยเรื่องการดูแลเยียวยาเบื้องต้น  ตอนแรกทางครอบครัวจะยังไม่รับแต่ร้อยเวรฯ บอกว่าให้รับไปก่อน  ซึ่งก็ทำบันทึกกันไว้ว่าจะเยียวยาให้ 50,000 บาท  แต่เบื้องต้นเขาจ่ายให้ 20,000 บาทก่อน  ที่เหลือเขารับปากจะจ่ายให้อีกแต่จนถึงขณะนี้ก็เงียบหายไปเลย 

ด้านนางสุปราณี   ยายของน้องพี  ระบุว่า   ตอนนี้สงสารหลานมากเพราะต้องกลายเป็นคนพิการ  และดูเหมือนอาการจะทรุดลง   กินอาหารได้น้อยลงไม่ค่อยพูด   และที่สะเทือนใจคือ  หลานเคยพูดสั่งเสียกับตนเองว่า  “ถ้าผมตาย  เอาหมี่กะทิ  กับขนมจีน ให้ผมกินด้วย”   ตนเองรู้สึกใจคอไม่ดีก็บอกหลานว่าอย่าพูดแบบนี้ถ้าหลานตายแล้วยายจะอยู่กับใคร  ก็ได้ร้องไห้ปลอบหลาน    ก็อยากจะขอความเป็นธรรมด้วยทั้งเรื่องการเยียวยา   เพราะครอบครัวเดือดร้อนมากเงินที่มีก็หมดไปกับค่าดูแลหลาน  จนแทบจะไม่มีเงินพาหลานไปหาหมอตามนัดแล้ว   ส่วนเรื่องคดีก็ขอความเป็นธรรมให้หลานด้วย  กลัวหลานจะถูกยิงเจ็บฟรี.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เด้ง สารวัตรหญิง ตม. หลัง 'ทนายตั้ม' แฉ!

พล.ต.ต.ณัฐกร ประภายนต์ ผู้บังคับการตรวจคนเข้าเมือง 3 (ผบก.ตม.3) มีหนังสือคำสั่งกองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 3 เรื่องให้ข้าราชการตำรวจช่วยราชการศูนย์ปฏิบัติการ กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 3

บุรีรัมย์ฯ ซอคเกอร์ สคูล จับมืออีโก้สปอร์ตฯ ยกระดับบอลเยาวชนสู่มืออาชีพ

บุรีรัมย์ ยูไนเต็ค ซอคเกอร์ สคูล( Buriram United Soccer School) โรงเรียนสอนฟุตบอลภายใต้มาตรฐานเดียวกันกับ "บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด อะคาเดมี" จับมือกับ บริษัท อีโก้สปอร์ตอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (EGO) แบรนด์ชั้นนำด้านชุดกีฬา เสื้อผ้าแนวสปอร์ต ร่วมกันยกระดับวงการฟุตบอลเยาวชนไทยไปสู่ความเป็นมืออาชีพ และพร้อมเป็นส่วนหนึ่งในความสำเร็จของ Buriram United Soccer School

'บิ๊กต่าย' ชี้ตำรวจไซเบอร์ยังต้องทำงานหนัก แม้ภาพรวมจับเว็บพนันได้เยอะขึ้น

พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.รรท.ผบ.ตร.) กล่าวถึงกรณีที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ยังไม่พอใจผลการปฏิบัติงานของกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี

ก.ตร. ไฟเขียวแต่งตั้ง 43 นายพลสีกากี 'สุรพงษ์ ชัยจันทร์' ผงาดที่ปรึกษาพิเศษตร.

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) เป็นประธานเพื่อประชุม ก.ตร.ครั้งที่ 3/2567 โดยมีวาระการคัดเลือกแต่งตั้งข้าราชการตำรวจดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาพิเศษ

สำรวจบาดแผล 'เด็ก' ในยุคที่กลายมาเป็น 'คอนเทนต์' ของผู้ใหญ่

นักวิชาการธรรมศาสตร์ ชวนสำรวจบาดแผล ‘เด็ก’ ในยุคที่ต้องกลายมาเป็น ‘คอนเทนต์’ เพราะความเปราะบางของเนื้อหาจะทิ้งร่องรอยความบอบช้ำไว้เสมอ