สถานะ 'พปชร.-ปชป.' พรรคร่วมสุข ทุกข์ไม่แชร์

สนามเลือกตั้งซ่อม ส.ส.เขต 6 สงขลา และสนามเลือกตั้งซ่อม เขต 1 ชุมพร ที่มวยคู่เอกคือ ศึกสายเลือดภายในพรรคร่วมรัฐบาล ระหว่าง ‘พลังประชารัฐ’ กับ ‘ประชาธิปัตย์’ จากตอนแรกที่มีการประเมินกันว่า จะเป็นมวยล้มต้มคนดู เพราะดูการจัดตัวแม่ทัพของพรรคพลังประชารัฐ ที่ผิดฝาผิดตัว ส่งนายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน ไปคุมสงขลา และนายสันติ พร้อมพัฒน์ รมช.คลัง ไปคุมชุมพร ตอนนี้อาจต้องคิดใหม่ 

โดยเฉพาะในช่วงโค้งสุดท้ายก่อนหย่อนหีบในวันอาทิตย์ที่ 16 มกราคมนี้ ที่ดูเข้มข้น หากคนไม่รู้ คงไม่คิดว่าจะเป็น ‘พรรคร่วมรัฐบาล’  

พรรคประชาธิปัตย์ในฐานะแชมป์เก่า 2 พื้นที่ ทุ่มสรรพกำลัง ขนขบวนแม่ทัพนายกองทุกระดับในพรรค นำโดยนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ ในฐานะหัวหน้าพรรค เข้าไปช่วยผู้สมัคร ส.ส.หาเสียง แบบเกาะติดพื้นที่  

เช่นเดียวกับพรรคพลังประชารัฐ ในฐานะผู้ท้าชิง ที่ต้องการขึ้นเบอร์ 1 แดนสะตอ ยกโขยงกันไปปักหลัก นำโดย ‘บิ๊กป้อม’ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ที่ขึ้นเวทีปราศรัย “พรรคพลังประชารัฐใจถึง พึ่งได้” ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ส.ส.พะเยา และเลขาธิการพรรค  

เนื้อหาการปราศรัยของ 2 พรรค มีเหน็บแนมกัดจิกอีกฝั่ง ราวกับฝ่ายค้านกับรัฐบาล ขณะที่ลูกพรรคเปิดวิวาทะเบิ้ลบลัฟกัน ตั้งแต่สัปดาห์ก่อนที่ ‘เสี่ยคึก’ นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ยกประเด็นนโยบายพรรคพลังประชารัฐตอนหาเสียงเมื่อปี 2562 มาถามกลับว่า มีอะไรบ้างที่ทำได้แล้ว และหากไม่ทำผิดกฎหมายหรือไม่ 

ขณะที่พรรคพลังประชารัฐไม่ยอมถูกเสียดสี ‘เดอะสัณห์’ นายสัณหพจน์ สุขศรีเมือง ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคพลังประชารัฐ หยิบประเด็นราคาสินค้าแพงขึ้นมาสวนหมัด แม้ไม่อัดแบบตรงๆ แต่เข้าใจตรงกันว่า พุ่งเป้าไปที่กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของพรรคประชาธิปัตย์  

  ลูกพรรค 2 ค่าย เปิดศึกน้ำลายบลัฟผลงาน งานนี้หนีไม่พ้นปมแข่งขันในสนามเลือกตั้งซ่อม 2 เขตในพื้นที่จังหวัดภาคใต้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 

วิธีแบบการเมืองเก่าๆ ที่เห็นกันมาทุกรอบในสนามเลือกตั้ง! 

อย่างไรก็ดี แม้หลายฝ่ายจะมองความเข้มข้นที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องธรรมดา เหมือนแข่งขันชกมวย บนเวทีต่อยกันแทบตาย สิ้นเสียงระฆัง ข้างล่างจับมือเป็นเพื่อนกันเหมือนเดิม อาจจะจริงแค่ส่วนหนึ่ง แต่อาจไม่ใช่ทั้งหมด 

ตรงกันข้าม 2 เขตเลือกตั้งซ่อมที่เกิดขึ้น มันพอสะท้อนการเลือกตั้งครั้งต่อไปที่จะเกิดขึ้นได้พอสมควรว่า งวดหน้าเดือดกว่านี้แน่ เพราะพรรคพลังประชารัฐต้องการเป็นเบอร์ 1 ในด้ามขวาน ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ต้องการล้างความอับอาย ทวงบัลลังก์เบอร์ 1 ภาคใต้คืน หลังหนก่อนโดนเจาะจนเสาไฟฟ้าล้มหลายเขต 

แม้เป็นพรรคร่วมรัฐบาลตอนนี้ แต่หมดวาระรัฐบาล 2 พรรคคือ คู่แข่งในสนามเลือกตั้งโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้และ กทม. 

2 พรรคนี้ไม่ได้เป็นเนื้อเดียวกันตั้งแต่ต้น แต่ต้องร่วมหัวจมท้าย เพราะปัจจัยแวดล้อมบีบบังคับ พรรคพลังประชารัฐไม่เอาพรรคประชาธิปัตย์ก็จัดตั้งรัฐบาลไม่ได้ พรรคประชาธิปัตย์ไม่มาร่วมรัฐบาลก็ต้องไปเป็นฝ่ายค้านกับพรรคเพื่อไทยที่เดินการเมืองเป็นเส้นขนาน 

 ที่สำคัญ หากพรรคประชาธิปัตย์จะกอบกู้พรรคจำเป็นต้องเป็นรัฐบาลเพื่อมาต่อยอด  

หลายครั้งหลายหน 2 พรรคนี้มีปัญหากันมาตลอด ตั้งแต่การจัดตั้งรัฐบาล เกลี่ยกระทรวง ที่เดิมพรรคพลังประชารัฐไม่อยากจะยกกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้ แต่สุดท้ายต้องยอมเฉือน เพราะเป็นเงื่อนไขสำคัญที่พรรคประชาธิปัตย์จะตัดสินว่าร่วมหรือไม่ร่วม 

ในสภา ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์บางคนลงมติแตกแถวบ่อยครั้ง ทำตัวเป็นหอกข้างแคร่ คอยตอดเล็กตอดน้อย คอยกวนใจฝ่ายผู้มีอำนาจ 

หากอีกฝ่ายพลาดพร้อมโบ้ยให้ ไม่รับผิดชอบร่วมกัน ทั้งที่ลงเรือลำเดียวกันแท้ๆ อย่างปมล่าสุดราคาสินค้าแพง โดยเฉพาะราคาหมู และโรคระบาด อีกฝ่ายก็เปิดปฏิบัติการโยนความผิด ให้เป็นความผิดพลาดเฉพาะคนที่ดูแล อย่าง นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พาณิชย์ และนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรและสหกรณ์ ไม่เกี่ยวกับ ‘บิ๊กตู่’ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม 

ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ก็รู้ว่า อยู่ในจังหวะไม่เป็นต่อ 2 คีย์แมนคนสำคัญอย่าง ‘จุรินทร์-เฉลิมชัย’ ก็หลบฉาก ไม่ออกมาพูดเรื่องนี้ ปล่อยให้ฝ่ายประจำอย่างปลัดกระทรวง อธิบดี เข้ามารับหน้า เพราะกลัวว่าจะกระทบไปถึงสนามเลือกตั้งซ่อม  

ปล่อยให้คนด่ารัฐบาล ซึ่งหนีไม่พ้น ‘บิ๊กตู่’ ในฐานะผู้นำรับไปเต็มมือ ทั้งที่ควรจะเป็นความรับผิดชอบร่วมกันทั้งหมด 

แต่หากเรื่องไหนประชาชนชื่นชม ถูกใจ ไม่มีรายการโบ้ย มีแต่รายการคนนี้ช่วยตรงนั้น คนนั้นช่วยตรงนี้ แย่งกันเคลม แข่งกันเอาหน้า

เป็นพรรคร่วมรัฐบาล ในเวอร์ชั่นที่เรียกว่า ‘ร่วมแต่สุข’ แต่ ‘ทุกข์ไม่แชร์’. 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'บิ๊กป้อม' โล่ง! 'เลขาฯ สภา' ยันไม่มาประชุมส่งใบลาทุกครั้ง

'เลขาฯ สภา' ย้ำ สส. ขาดประชุมได้ไม่เกิน 1 ใน 4 ของสมัยประชุม หากเกินส่งผลต่อสมาชิกภาพ ยัน 'บิ๊กป้อม' ส่งใบลาทุกครั้ง แจ้งเหตุผลติดภารกิจ ชี้ ปชช. สามารถตรวจสอบได้แค่ข้อมูลเบื้องต้น

20ปีแห่งการสูญเสีย‘คดีตากใบ’ 14จำเลย-ผู้ต้องหาส่อลอยนวล?

อีก 1 เดือนโดยประมาณครบ 20 ปีแล้ว ที่เกิดเหตุโศกนาฏกรรมที่ อ.ตากใบ จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 25 ต.ค.2547 ยุคที่ ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี เจ้าหน้าที่ภาครัฐทั้งทหาร ตำรวจ จับประชาชนเป็นร้อยๆ คนที่ไปยืนชุมนุมเรียกร้องให้ปล่อยตัว นายกามา อาลี กับพวกรวม 6 คน ผู้ต้องหา ที่เป็นอาสาสมัครรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.)

โละทิ้ง“จริยธรรม”สุดซอย คืนสิทธินักการเมืองสีเทา

ไม่ใช่เรื่องง่ายที่พรรคร่วมรัฐบาลและพรรคฝ่ายค้านจะพักรบ หันมาจูบปากปรองดองชั่วคราว หากไม่ใช่ผลประโยชน์ทางการเมืองของตัวเองและพวกพ้องลงตัว

'เด็จพี่' เอือม 'บิ๊กป้อม' ร้อง'วันนอร์' สอบโดดประชุมสภา

'เด็จพี่' สุดทน 'ป้อม' โดดประชุมสภา 81.25% ยื่นร้อง 'วันนอร์' สอบผิดจริยธรรม โถบอกไม่ใช่การเมือง ร้องทุกขั้ว ไม่เว้น 'เพื่อไทย' แขวะ ไม่เหมือนนักร้องบ้านป่าแน่นอน

5 สมการเก้าอี้ ผบ.ทร. จบแบบไหน-ใครเป็นคนเลือก?

“โผทหาร” ดราฟแรกผ่านกระบวนการเช็กความถูกต้องไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยมี พล.อ.สนิธชนก สังขจันทร์ ปลัดกระทรวงกลาโหม ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการปรับย้ายชั้นนายพล หรือบอร์ด 7 เสือกลาโหม ดำเนินกรรมวิธีตามกฎหมาย