'ทรู - ดีแทค' ลุ้นควบรวมคืบยันไม่ฟ้อง 'กสทช.' แน่หากดีลล้ม

“ศุภชัย” ยัน อยากทำงานร่วม “กสทช.” ไม่มีแผนจะฟ้อง หาก ดีล “ทรู-แทค” ล้ม มั่นใจ หวังได้ความชัดเจนก่อนทำเทนเดอร์ช่วงส.ค. 65 “บิ๊ก เทเลนอร์” กดดัน “กสทช. ย้ำ เลยเวลาเกือบ 2 เดือน อยากให้รักษาเวลาตามกฏหมาย

22 ก.ค. 2565 – นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ และประธานกรรมการ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า กระบวนการในการควบรวมดีล ทรู และ ดีแทค เกิดขึ้นจากการแข่งขันของทั้งสององค์กรค่อยๆ ลดน้อยลง พบกับความเสี่ยงที่สูงขึ้นอย่างมาก แลนสเคปที่เปลี่ยนไป ของระบบการแข่งขัน ซึ่งโทรคมฯ ก็ไม่ได้แข่งขันเฉพาะโทรคมนาคม แต่ต้องแข่งขันผู้ประกอบการระดับโลก  ขณะที่รายได้ในอุตสาหกรรมมือถือ สองสามปีที่ผ่านมาทุกรายลดลง แต่การลงทุนสูงขึ้นเพราะต้องเปลี่ยนเทคโนโลยีจาก 4G เป็น 5G 

“การแข่งขันของโทรคมนาคม สนามการแข่งขันเปลี่ยนไปเยอะมาก ผู้ประกอบการด้านดิจิตอลมีเดียเข้ามาแย่งพื้นที่ ทั้งสององค์กร ศักยภาพลดลงไปเรื่อยๆ ประกอบด้านการเงิน ที่มีการลงทุนสุง การลงทุนสู่ระบบ 5G เป็นการลงทุนที่หนักมาก และก่อหนี้มีการลงทุนเพื่อส่งเงินให้กับภาครัฐ ทำให้การลงทุนไม่สามารถเต็มที่และต่อเนื่อง ศักยภาพถดถอยลงและแลนสแคปตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้เราต้องมาดูว่า การควบรวม จะสามารถทำให้เรามีศักยภาพในการบริการดี ขึ้นเทคโนโลยีที่ใช้ แข่งกับผู้ให้บริการ OTT ที่ดิสรัปชั่นอุตสาหกรรม เป็นจุดสำคัญที่ทำให้เราต้องพิจารณาเรื่องนี้อย่างจริงจัง” นายศุภชัย กล่าว 

ขณะเดียวกัน ผู้กำกับดูแล อย่างสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) หรือด้านกฏหมาย ถ้ามองว่าการควบรวมที่ไม่เสริมสร้างศักยภาพการแข่งขัน คิดว่าไม่ใช่ เป็นการควบรวมเพื่อเสริมสร้างการแข่งขันให้ผู้บริโภคและประเทศได้รับประโยชน์สูงสุด 

หญ่ 

“ขั้นตอนการควบรวมที่ค้างอยู่ คือ กสทช.ต้องพิจารณา เราทำยื่นเรื่องเข้าไปตั้งแต่มกราคม  ซึ่งการพิจารณามีใน 90 วัน นี่คือการควบรวม ไม่ใช่การเทคโอเวอร์ ใบอนุญาต (ไลเซ่นส์) ทุกอย่าง เหมือนเดิมบริษัทภายใต้บริษัท แม่ยังเหมือนเดิม จึงเป็นการพิจารณาเรื่องของเงื่อนไขที่เป็นผลบวกต่อเศรษฐกิจ ประเทศ และประชาชน ประเทศชาติ  

นายศุภชัย ย้ำว่า ขั้นตอนการพิจารณาการควบรวมเกิดการสะดุด  ตามหลักหากนับเก้าสิบวันต้องเสร็จสิ้นตั้งแต่เดือนพ.ค.ที่ผ่านมา แต่เนื่องจากมีกสทช.ชุดใหม่ ท่านต้องการเวลาเพิ่มเติม 

“เราอยากให้เกิดขึ้นเร็ว ไม่อย่างนั้นกระทบตลาดทุน และความมั่นใจของตลาดทุน ตลอดจนสิทธิประโยชน์ แก่ผู้บริโภคชาวไทย และลูกค้าทั้งสองอค์องค์กรล่าช้าตามไปด้วยในแง่เศรษฐกิจก็จะเพิ่มมูลค่า สิ่งเหล่านี้หากแผนเลื่อนออกไป ความกดดันของทั้งสององค์กร ก็จะสูงขึ้นไปเรื่อยๆ  ถ้ากระบวนการไม่ผ่าน เราทั้งสองบริษัท ก็จะเป็นองค์กรที่ไม่แข็งแรง แล้วการแข่งขันก็จะถดถอยลง ถ้ารวมแน่นอนเราต้องลดต้นทุน ผนึกกำลังสร้างผลิตภัณฑ์และบริการที่ดีที่สุดกว่าเดิม” นายศุภชัย กล่าว 

ทั้งนี้แผนธุรกิจ เบื้องต้นได้ส่งกสทช.ไปแล้วตั้งแต่ม.ค. 65  โดยการร่วมมือครั้งนี่จะช่วยเพิ่มศักยภาพด้านการให้บริการจากโครงข่ายทั้ง 2 เจ้าที่มีอยู่ให้ดีขึ้น และช่วยลดต้นทุน เพิ่มความสามารถการลงทุนโครงข่าย 5 G  และ 6G ในอนาคต รวมทั้งจะหันมารุกขยายฐานดิจิทัลทรานฟอร์มให้มากขึ้น ซึ่งคาดว่าจะเห็นความชัดเจนก่อนทำเทนเดอร์ช่วงสิงหาคม 65

ซึ่งหากดีลควบรวมสำเร็จจะมีการตั้งกอง VC เพื่อลงทุนธุรกิจสตาร์อัพของไทย ปูทางระยะยาวเชื่อว่าขั้นตอนน่าจะไม่มีปัญหาใดๆ เพราะเป็นดีลลักษณะเดียวกับ NT และหลังจากควบรวมจำนวนเลขหมายคงปรับลดเหลือราว 46-47 ล้านเลขหมายใกล้เคียงโอเปอเรเตอร์อื่น เพราะหมายเลขทับซ้อนกัน  และดำเนินตามกฎหมายควบรวมปี 61 ซึ่งการควบรวมคงไม่ทำให่ผูกขาด เพราะคนกำหนดราคาค่าบริการคือ กสทช. ถ้าเราไม่ทำตามถูกยึดใบอนุญาตคืนได้

ขณะเดียวกัน หากการควบรวมไม่สามารถเกิดขึ้นได้จริง กฏหมายการควบรวมปี 2561 การควบรวมไม่ใช่การเข้าซื้อกิจการ กสทช.ไม่มีอำนาจอนุมัติ ยืนยัน แต่ กสทช.มีอำนาจในการสร้างเงื่อนไข ที่จะลดผลกระทบทางลบ และสร้างผลประโยชน์ในทางบวก บริษัท ยินดีอย่างยิ่งที่จะทำงานร่วมกับ กสทช.ต่อเงื่อนไขเหล่านั้น ให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดต่อการควบรวม

“อุบัติเหตุในทางกฏหมายไม่ควรจะเกิด ถ้าไม่ควบรวม อุตสาหกรรมมือถือจะถดถอยลงเรื่อง ที่สำคัญไม่ควรจะเป็น ยกตัวอย่าง NT ก็ควบรวมกันมาแล้ว การควบรวมเพื่อปรับศักยภาพในการแข่งขัน  เป็นเรื่องที่ทางกสทช.ควรพิจารณา ถ้าไม่รวม  ศักยภาพการลงทุนน้อยลง เพราะทั้งสององค์กรลงทุนทับซ้อนเหมือนเดิม ไม่เกิดผลดีต่อภาพรวมของประเทศ และศักยภาพการลมทุนที่ดีขึ้นและเท่าเทียม  ส่วนกรณีของ เอไอเอส  เป็นการเทคโอเวอร์ โครงสร้างผู้ถือหุ้นไม่เปลี่ยนแปลง เป็นตามระเบียบกสทช.ต้องขออนุมัติตามระเบียบกฏหมายปี 61 มีกฏหมายชัดเจน แตกต่างกับการควบรวม ผมไม่มีแผนที่จะฟ้องกสทช. หากดีลนี้ไม่ผ่าน แต่เข้าใจว่า กสทช.ชุดใหม่ พึ่งเข้ามา คงต้องใช้เวลาในการพิจารณา” นายศุภชัย  กล่าว 

นายซิคเว่ เบรคเก้ ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เทเลนอร์ กรุ๊ป เปิดเผยว่า การควบรวมในครั้งนี้ เป็นประโยชน์สุงสุดให้ชาวไทย ไม่มีบริษัทไหนในโลกนี้ประสบความสำเร็จ ถ้าไม่สามารถให้ประโยชน์กับผู้บริโภคได้ อยากให้กสทช.รักษาแวลาที่กำหนดไว้ตามกฏหมาย  และเป็นความร่วมมือที่ตั้งใจจะทำให้มีการส่งมอบระบบเศรษฐกิจ ที่ดีในประเทศไทย ภาพรวมของเทลโกในไทยเปลี่ยนแปลงไปแล้ว ไทยยังมีโอกาสเติบโต ตัวเลขยืนยันไทยยังเป็นดิจิทัลแชมเปี้ยนในภูมิภาคนี้ ซื้อของออนไลน์ internet economy โตเป็น 3 เท่า ใน ช่วงปี 2020 

อย่างไรก็ตามหลังจากการควบรวม บริษัทจะลงทุนกว่า 7.3 พันล้านบาทเพื่อสร้างธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Venture Capital) ที่จะเน้นด้านศูนย์กลางนวัตกรรมที่จะสร้างโอกาสสำหรับธุรกิจสตาร์ทอัพที่แข็งแกร่งและสนับสนุนผู้ประกอบการผ่านการเดินทางสู่การสร้างธุรกิจที่ประสบความสำเร็จระดับภูมิภาค ด้วยศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางทางเทคโนโลยีในอนาคต

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'วุฒิสภา' ชงสอบแต่งตั้ง 'เลขาฯ กสทช.' ล่าช้าเกือบ 4 ปี ชี้ผลประโยชน์ชาติเสียหาย

“กมธ. ไอซีที วุฒิสภา” ชงสำนักนายกฯ -ป.ป.ช.-ผู้ตรวจการแผ่นดิน ดำเนินการ หลังพบความผิดปกติ กระบวนการตั้งเลขา กสทช. เกือบ 4 ปียังไม่ได้ตัว จนรักษาการจะครบวาระ ยันไม่ได้ก้าวก่าย แต่ส่งกระทบผลประโยชน์ชาติเสียหาย

ศาลปกครองสูงสุดกลับคำสั่งศาลชั้นต้นให้รับฟ้องเพิกถอนควบรวม ทรู-ดีแทค

ศาลปกครองสูงสุด กลับคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น โดยให้รับคำฟ้องของผู้บริโภค 5 รายในคดีขอให้เพิกถอนมติคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) กรณีรับทราบ

ศาลอาญาฯ ประทับฟ้อง 'พิรงรอง รามสูต' กสทช.ปฏิบัติหน้าที่มิชอบ

ที่ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ถนนเลียบทางรถไฟ ศาลนัดฟังคำสั่งชั้นไต่สวนคดีที่บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัดยื่นฟ้อง ศาสตร