ศาลอาญาฯ ประทับฟ้อง 'พิรงรอง รามสูต' กสทช.ปฏิบัติหน้าที่มิชอบ

14 มี.ค. 2567 - ที่ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ถนนเลียบทางรถไฟ ศาลนัดฟังคำสั่งชั้นไต่สวนคดีที่บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัดยื่นฟ้อง ศาสตรจารย์กิตติคุณ ดร.พิรงรอง รามสูต กรรมการ กสทช. ด้านกิจการโทรทัศน์ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบ

โดยฟังคำสั่งวันนี้ ฝ่ายโจทก์มีทนายความเดินทางมาศาล ฝ่ายจำเลยมีพนักงานอัยการที่มาช่วยเเก้ต่างเดินทางมาฟังคำสั่ง

โดยศาลมีคำสั่งชั้นไต่สวนมูลฟ้องว่า ทางไต่สวนได้ความว่า โจทก์ (ทรู) เป็นผู้ประกอบกิจการ OTT (over the top ซึ่งเป็นบริการสื่อที่นําเสนอโดยตรงกับผู้รับบริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต โอทีทีข้ามแพลตฟอร์มโทรทัศน์ผ่านสายเคเบิลและโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม)

เป็นการให้บริการที่ กสทช.ยังไม่ได้มีประกาศ หรือออกกฎเกณฑ์ในการกำกับดู และจำเลยทราบดีอยู่แล้วว่าการให้บริการของโจทก์แม้จะถือว่าเป็นการให้บริการประเภท OTT ที่ไม่ต้องขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ ทางไต่สวนมีเหตุให้เชื่อได้ว่าจำเลยเป็นผู้สั่งการให้รักษาการรองเลขาธิการ กสทช.ในขณะนั้น ออกหนังสือแจ้งไปยังผู้รับอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ จำนวน 127 ราย มีข้อความว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบกิจการที่ยังไม่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ ทำให้ผู้ได้รับอนุญาตเข้าใจว่าโจทก์เป็นผู้ทำผิดกฎหมาย ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้รับอนุญาตอาจระงับเนื้อหารายการต่าง ๆ ที่โจทก์ส่งไปออกอากาศ พฤติการณ์ของจำเลยส่อแสดงเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ให้ได้รับความเสียหาย ถือเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฎิบัติหน้าที่โดยชอบมิชอบ คดีโจทก์มีมูลจึงให้ประทับฟ้องไว้พิจารณาเป็นคดีดำ อท.167/2566

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำหรับมูลเหตุการฟ้องคดีนี้เนื่องจากเดิม บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป เป็นผู้บริการแพลตฟอร์มมือถือมีรายการหนัง เเละเพลงรวมทั้งถ่ายทอดรายการทีวีช่องต่างๆ รวมทั้งการสัมภาษณ์นักการเมือง ซึ่งกสทช.ยังไม่ได้มีประกาศ หรือออกกฎเกณฑ์ในการกำกับดู และจำเลยทราบดีอยู่แล้วว่าการให้บริการของโจทก์แม้จะถือว่าเป็นการให้บริการประเภท OTT ที่ไม่ต้องขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จึงยังไม่ยื่นขออนุญาต ต่อมา กสทช.ประกาศว่าต้องผ่านการอนุญาต ทางทรูก็ไม่ขัดข้องเพียงแต่เมื่อเข้ากระบวนการอนุญาตก็ต้องปฎิบัติตามกฎหมาย (มีการตรวจเซ็นเซอร์เนื้อหา)เเต่จำเลยเป็นผู้สั่งการให้รักษาการรองเลขาธิการกสทช.ในขณะนั้น ออกหนังสือแจ้งไปยังผู้รับอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ จำนวน 127 ราย มีข้อความว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบกิจการที่ยังไม่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ ทั้งที่ขณะนั้นยังไม่ต้องมีการขอใบอนุญาต พร้อมมีการกล่าวถ้อยคำในที่ประชุมที่มีถ้อยคำเป็นเหตุบริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป ได้รับความเสียหาย

สำหรับขั้นตอนหลังจากนี้เมื่อคดีมีมูลเเละศาลมีคำสั่งให้ประทับฟ้องแล้ว ต่อไปจะดำเนินกระบวนการสอบคำให้การและนัดตรวจหลักฐานต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'วุฒิสภา' ชงสอบแต่งตั้ง 'เลขาฯ กสทช.' ล่าช้าเกือบ 4 ปี ชี้ผลประโยชน์ชาติเสียหาย

“กมธ. ไอซีที วุฒิสภา” ชงสำนักนายกฯ -ป.ป.ช.-ผู้ตรวจการแผ่นดิน ดำเนินการ หลังพบความผิดปกติ กระบวนการตั้งเลขา กสทช. เกือบ 4 ปียังไม่ได้ตัว จนรักษาการจะครบวาระ ยันไม่ได้ก้าวก่าย แต่ส่งกระทบผลประโยชน์ชาติเสียหาย

กสทช.กระทุ้งยืนยันซิมการ์ดก่อนถูกระงับ

นพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า จากผลกระทบของอาชญากรรมทางเทคโนโลยี กสทช.