DITP แนะผู้ประกอบการหาโอกาสลงทุนในซาอุดิอาระเบีย

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) เผยซาอุดิอาระเบีย เดินหน้าปรับภาคการผลิตมุ่งสู่การลงทุนในภาคที่ไม่ใช่น้ำมัน เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ แนะผู้ประกอบการไทยศึกษา และหาโอกาสในการเข้าไปลงทุนหรือร่วมลงทุน

10 พ.ย. 2564 นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) เปิดเผยว่า กรมฯ
ได้มอบหมายให้ทูตพาณิชย์ที่ประจำอยู่ในประเทศต่าง ๆ ทำการสำรวจโอกาสทางด้านการลงทุนให้กับผู้ส่งออกของไทย ตามนโยบายที่ได้รับจากนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ โดยได้รับรายงานจากสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองเจดดาห์ ซาอุดิอาระเบีย ถึงโอกาสในการเข้าไปลงทุนหรือร่วมลงทุนของผู้ประกอบการไทยกับนักลงทุนในซาอุดิอาระเบีย หลังจากที่ซาอุดิอาระเบียมีการปรับเปลี่ยนนโยบายมุ่งส่งเสริมให้ภาคเอกชนหันมาลงทุนในอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่น้ำมันเพิ่มมากขึ้น

ปัจจุบันซาอุดีอาระเบียมุ่งมั่นดำเนินการตามแผนการปฏิรูป Vision 2030 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ภาคเอกชนมีส่วนในการเพิ่ม GDP จากร้อยละ 40 เป็นร้อยละ 65 และ Vision 2030 ยังมีวัตถุประสงค์

เพื่อเพิ่ม GDP การส่งออกของประเทศซาอุดีอาระเบียในภาคที่ไม่ใช่น้ำมันจากร้อยละ 16 เพิ่มเป็นร้อยละ 50 และลดอัตราการว่างงานจากร้อยละ 12 เป็นร้อยละ 7 ซึ่งบทบาทของการลงทุนในภาคเอกชนไม่เพียงแต่จะช่วยเสริมประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังช่วยปรับปรุงแนวโน้มการเติบโตในระยะยาวของเศรษฐกิจในประเทศซาอุดีอาระเบียอีกด้วย

นอกจากนี้ ศูนย์การศึกษาและวิจัยปิโตรเลียม The King Abdullah Petroleum Studies and Research Center – KAPSARC ได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์การลงทุนในภาคส่วนต่าง ๆ ในซาอุดีอาระเบียที่ไม่ใช่น้ำมัน พบว่าการลงทุนในภาคส่วนที่ไม่ใช่น้ำมันของซาอุดีอาระเบียสามารถส่งผลต่อประสิทธิภาพของผลผลิต การจ้างงาน การขยายกำลังการผลิต และเป็นรากฐานสำหรับการกระจายความเสี่ยงทางเศรษฐกิจของประเทศ
ขณะที่นักวิจัย พบว่า การวิเคราะห์การลงทุนในระดับภาคส่วนมีความสำคัญมาก เนื่องจากมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงโอกาสที่เป็นไปได้ในการส่งเสริมการลงทุนในแต่ละภาคส่วน การกำหนดนโยบายการลงทุนเฉพาะภาคส่วนจะส่งผลดีกว่าการกำหนดนโยบายการลงทุนขนาดเดียว ดังนั้น ควรพิจารณามาตรการการกำหนดนโยบายเฉพาะภาค เพื่อปรับให้เกิดความเหมาะสม และยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้ด้วยการแนะนำเทคนิคและกระบวนการผลิตใหม่ ๆ ผลการศึกษาและวิเคราะห์การลงทุนแสดงให้เห็นว่า การเพิ่มขึ้นของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศนำไปสู่การลงทุนที่มากขึ้นในระยะยาว

ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ www.ditp.go.th หรือสายตรงการค้าระหว่างประเทศ โทร 1169

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

DITP และ GIT เตรียมจัด “บางกอกเจมส์” ครั้งที่ 70 สุดอลังการ ตอกย้ำจุดเด่นไทยในฐานะศูนย์กลางอัญมณีและเครื่องประดับโลก

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) และสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT พร้อมคณะอำนวยการจัดงานทั้งภาครัฐและเอกชน

DITP และ RX Tradex เดินหน้ายกระดับผู้ประกอบการโลจิสติกส์ไทย พร้อมเชื่อมโยงธุรกิจโลจิสติกส์ในอนาคต ในงาน TILOG - LOGISTIX 2024

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ (DITP) ร่วมกับ อาร์เอ็กซ์ เทรดเด็กซ์ (RX Tradex) กำหนดจัดงาน TILOG - LOGISTIX 2024 ระหว่างวันที่ 15 – 17 สิงหาคมนี้

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ จัดโครงการ T Mark Clinic ครั้งที่ 3

เมื่อวันที่ 18 ก.ค 2567 กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ โดยสำนักส่งเสริมมูลค่าเพิ่มเพื่อการค้า ได้จัดโครงการ “T Mark Clinic” ครั้งที่ 3 ภายใต้ โครงการส่งเสริมผู้ประกอบการภายใต้ตราสัญลักษณ์ Thailand Trust Mark (T Mark)

ทีมซาอุฯ จ่อคว้า 'เดอ บรอยน์' ร่วมทัพ หลังบรรลุข้อตกลงส่วนตัวเรียบร้อยแล้ว

เควิน เดอ บรอยน์ เพลย์เมคเกอร์ตัวเก่งของทีม แมนเชสเตอร์ ซิตี บรรลุข้อตกลงเงื่อนไขส่วนตัวในการย้ายไปร่วมทีม อัล-อิตติฮัด ทีมใน ซาอุดิ โปร ลีก แล้วในเวลานี้

พาณิชย์ - DITP ขานรับนโยบายภูมิธรรม พาสินค้าโคราชบุกตลาดออนไลน์

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) จัดกิจกรรมส่งเสริมผู้ประกอบการรายย่อยในการขยายการค้าผ่านช่องทางออนไลน์ไปยังต่างประเทศ นายพรวิช ศิลาอ่อน รองอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ลงพื้นที่จัดกิจกรรม Thaitrade.com สัญจร

ข่าวดี ซาอุดีอาระเบียไฟเขียวนำเข้า วัว แกะ แพะ จากไทยแล้ว

“ภูมิธรรม” แจ้งข่าวดีผู้ส่งออกไทย สืบเนื่องจากการพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ซาอุดีอาระเบีย และร่วมลงนาม MOU ผลักดันสินค้าเกษตร อาหาร ธุรกิจบริการทางการแพทย์ ท่องเที่ยว ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ว่าซาอุดีอาระเบียไฟเขียวนำเข้าวัว แกะ แพะ จากไทยแล้ว หลังไก่ไทยสามารถส่งออกไปได้ก่อนหน้านี้ สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แจ้งผู้ส่งออกเตรียมความพร้อม ทำให้ถูกกฎระเบียบ เพิ่มโอกาสส่งออกโดยเร็ว