กกพ. เคาะค่าไฟภาคธุรกิจเหลือ 5.33 บาท/หน่วย

กกพ. ทบทวนเอฟทีภาคธุรกิจ อุตสาหกรรมฯ เหลือ 154.92 สตางค์/หน่วย จาก 190.44 สตางค์ต่อหน่วย ส่งผลเหลือจ่าย 5.33 บาท/หน่วย จาก 5.69 บาท/หน่วย หลัง ปตท. ทบทวนประมาณการสมมุติฐานราคาก๊าซธรรมชาติ และ กฟผ. สรุปภาระหนี้คงค้างใหม่

30 ธ.ค. 2565 – นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยว่าที่ประชุม กกพ. ครั้งที่ 60/2565 (ครั้งที่ 827) เมื่อวันที่ 28 ธ.ค. 2565 พิจารณาผลการคำนวณค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ(เอฟที)เพิ่มเติมอีกครั้งหลังจากที่ กฟผ. และ ปตท. ทบทวนประมาณการราคาก๊าซธรรมชาติ ราคาน้ำมันดีเซล อัตราแลกเปลี่ยน และภาระหนี้คงค้างของ กฟผ. สำหรับการคำนวณอัตราค่าเอฟที ตามที่ กกพ. ได้พิจารณาไปแล้วในการประชุมครั้งที่ 58/2565 (ครั้งที่ 825) เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2565 ส่งผลให้ผู้ใช้ไฟฟ้าภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมต้องจ่ายค่าเอฟที 154.92 สตางค์ต่อหน่วยจากเดิมที่ต้องจ่ายค่าเอฟที 190.44 สตางค์ต่อหน่วย ดังนั้นผู้ใช้ไฟฟ้าในกลุ่มนี้จึงต้องจ่ายค่าไฟฟ้า 5.33 บาทต่อหน่วยในรอบบิลค่าไฟฟ้า ม.ค. – เม.ย. 66

โดยมีสมมุติฐานที่มีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ 1. ราคาก๊าซธรรมชาติ จากเดิมอยู่ที่ 493 บาทต่อล้านบีทียู เหลือ 466 บาทต่อล้านบีทียู , ราคาก๊าซธรรมชาติอ่าวไทย ไม่เปลี่ยนแปลงอยู่ที่ 237 บาทต่อล้านบีที และราคา Pool Gas จากเดิมอยู่ที่ 535 บาทต่อล้านบีทียู ลดเหลือ 496 บาทต่อล้านบีทียู 2.ราคาก๊าซธรรมชาติเหลว ตลาดจร (Spot LNG) จากเดิมอยู่ที่ 31.577 เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียู เหลือ 29.60 เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียู 3. ราคาน้ำมันดีเซลในการผลิตไฟฟ้า จากเดิมอยู่ที่ 31.94 บาทต่อลิตร เหลือ 28.22 บาทต่อลิตร 4.อัตราแลกเปลี่ยน (Fx) จากเดิมอยู่ที่ 37 บาทต่อเหรียญสหรัฐ เหลือ 35.68 บาทต่อเหรียญสหรัฐ และ 5. ภาระหนี้สะสมจากการเรียกเก็บเอฟทีของ กฟผ. (122,257 ล้านบาท) จากเดิมให้มีการเรียกเก็บคืนภายใน 2 ปี จะอยู่ที่ 33.33 สตางค์ต่อหน่วย ซึ่งมีการคำนวนใหม่โดยให้ทยอยเรียกเก็บคืนภายใน 3 ปี จะเหลืออยู่ที่ 22.22 สตางค์ต่อหน่วย

ทั้งนี้จากการปรับเปลี่ยนสมมุติฐานดังกล่าวส่งผลให้ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยยังคงต้องจ่ายค่าเอฟที ในอัตรา 93.43 สตางค์ต่อหน่วย และผู้ใช้ไฟฟ้ากลุ่มอื่นๆ ต้องจ่ายค่าเอฟทีในอัตรา 154.92 สตางค์ต่อหน่วย ค่าเอฟทีดังกล่าวส่งผลให้ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยยังคงจ่ายค่าไฟฟ้าในอัตรา 4.72 บาทต่อหน่วยตามที่มีประกาศไป แต่ขณะที่ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทอื่นๆ เช่น ภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม จะจ่ายค่าไฟฟ้าในอัตรา 5.33 บาทต่อหน่วย จากเดิมที่มีกำหนดจ่ายไฟที่อัตรา 5.69 บาทต่อหน่วย

นอกจากนี้ นายคมกฤช ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ตั้งแต่เดือนม.ค. 2566 เป็นต้นไป ผู้ใช้ไฟฟ้า 3 ประเภท จะได้รับการปรับลดอัตราค่าบริการรายเดือน ดังนี้ 1. ประเภทบ้านอยู่อาศัย ใช้มากกว่า 150 หน่วย จากเดิมจะจ่ายที่ 38.22 บาทต่อเดือน ปรับเหลือ 24.62 บาทต่อเดือน 2. ประเภทบ้านอยู่อาศัย แรงดันต่ำ อัตรา TOU จากเดิมจะจ่ายที่ 38.22 บาทต่อเดือน ปรับเหลือ 24.62 บาทต่อเดือน โดยแบ่งเป็นกิจการขนาดเล็ก แรงดันต่ำ จากเดิม 46.16 บาทต่อเดือน ปรับเหลือ 33.29 บาทต่อเดือน และกิจการสูบน้ำเพื่อการเกษตร อัตรา TOU จากเดิม 228.17 บาทต่อเดือน ปรับเหลือ 204.07 บาทต่อเดือน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กกพ. ตรึงค่าเอฟที 39.72 สตางค์/หน่วย ค่าไฟฟ้าเรียกเก็บเฉลี่ย 4.18 บาท/หน่วย ถึง ส.ค. 67

กกพ. ประกาศตรึงค่าเอฟที 39.72 สตางค์/หน่วย ขณะที่ค่าไฟฟ้าเรียกเก็บเฉลี่ยอยู่ที่ 4.18 บาท/หน่วย จนถึงเดือน ส.ค. 67

บอกต่อ 5 ข้อดีของการจ่ายบิลค่าไฟฟ้าผ่านทางออนไลน์

ในยุคดิจิทัลการทำธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านช่องทางออนไลน์กำลังเป็นที่นิยม การจ่ายบิลค่าไฟฟ้า ก็เช่นกัน เนื่องจากในปัจจุบันสามารถจ่ายบิลไฟฟ้าทางออนไลน์ได้จากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นแอปพลิเคชันขอการไฟฟ้าเองก็ตาม นั่นจึงทำให้การจ่ายบิลค่าไฟฟ้าออนไลน์สะดวก

'รมว.พลังงาน' ชง ครม. ลดค่าไฟฟ้างวดใหม่ ยันพยายามทำดีที่สุด

'รองโฆษกรัฐบาล' เผยประชุม ครม. อังคารนี้ กระทรวงพลังงานจ่อชงลดค่าไฟฟ้างวดใหม่ ม.ค. - เม.ย.67 ยันพยายามทำให้ดีที่สุด เข้าใจความเดือดร้อนประชาชน