ครม. อนุมัติ NT เดินหน้าบริการ 5G ทุ่มลงทุน 6.7 พันล้าน

ครม.อนุมัติ บมจ.โทรคมนาคมฯ เดินหน้าโครงการบริการ 5G สำหรับลูกค้าองค์กร เบื้องต้นภายใน 6 ปีเล็งให้บริการแบบ Private 5G Network 438 องค์กร กรอบวงเงินตลอดโครงการ 14 ปี  6,705.6 ล้านบาท

31 ม.ค. 2566 – น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า  ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) วันที่ 31 ม.ค. 66  ได้อนุมัติหลักการโครงการบริการ 5G สำหรับลูกค้าองค์กรของบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด(มหาชน) กรอบวงเงินจำนวน 4,964.30 ล้านบาท และรับทราบกรอบวงเงินค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานกรอบวงเงิน 1,741.3 ล้านบาท รวมเป็นวงเงินตลอดโครงการระยะเวลา 14 ปี 6,705.6 ล้านบาท

โดยโครการนี้เกิดขึ้นจากการที่ บมจ.โทรคมนาคมฯ ประสงค์จะนำเทคโนโลยี 5G มาให้บริการบนย่านความถี่ 26 GHz ที่ได้รับการจัดสรรจากสำนักงาน กสทช. จากการเข้าร่วมประมูลเมื่อปี 2563 ที่ผ่านมา โดยมีกลุ่มเป้าหมายองค์กรที่จะรับบริการตามโครงการนี้ภายใน 6 ปีทั้งสิ้น 438  ราย ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ  11 ราย กลุ่มโรงพยาบาล 47 ราย กลุ่มสถาบันการศึกษา 30 ราย และโรงงานอุตสาหกรรมและพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ เช่น อีอีซี 350 ราย  ให้บริการ 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงแบบประจำที่ (Fixed Wireless Access :FWA) 2.ให้บริการเชื่อมต่อในพื้นที่จำกัด (Campus Network) อาทิ ในโรงงานอุตสาหกรรม ท่าเรือขนส่ง ท่าอากาศยาน และ 3.ให้บริการเพื่อสนับสนุนการบริการสาธารณะและการบริการภาครัฐ  เพื่อสนับสนุนแนวทางการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เศรษฐกิจดิจิทัล เมืองอัจฉริยะ และดิจิทัลไทยแลนด์

โครงการจะเน้นบริการ 5G ลักษณะเฉพาะองค์กร(Private 5G Network) ที่การออกแบบตามความต้องการใช้งานต่างๆ ดังนั้น บมจ.โทรคมนาคมฯ จะมีการลงทุนงานที่เป็นลักษณะโครงการเป็นรายๆ (Project-based) เมื่อมีโอกาสทางธุรกิจและลูกค้าที่แน่นอน โดยมีรูปแบบการดำเนินงานประกอบด้วย การลงทุนพัฒนาระบบโครงข่ายหลักและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง การลงทุนพัฒนาสถานีฐานเทคโนโลยี 5G และ ให้บริการ Business solution

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า โครงการนี้จะมีระยะเวลา 14 ปี ภายใต้กรอบวงเงินลงทุน 6,705.6 ล้านบาท ซึ่งใช้จ่ายจากรายได้ของ บมจ.โทรคมนาคมฯ แยกเป็น ค่าใช้จ่ายในการลงทุน (CAPEX) เช่น ค่าลงทุนระดับโครงจ่ายหลัก (Core Network) สถานีฐานเทคโนโลยี 5G ต้นทุนอุปกรณ์ ค่าบริการติดตั้งอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องวงเงิน 4,964.3 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (OPEX) เช่น ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ดูแลรักษาและซ่อมบำรุงโครงข่าย วงเงิน 1,741.3 ล้านบาท

นอกจากนี้ บมจ.โทรคมนาคมฯ ระบุว่า ได้ทำการประเมินแล้วโครงการมีความคุ้มค่าในการลงทุนโดยมีผลตอบแทนทางการเงิน อยู่ที่ร้อยละ 28.71 มีระยะเวลาคืนทุน 6 ปี 6 เดือน  ขณะที่ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจอยู่ที่ ร้อยละ 16 เกิดมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจเฉลี่ยต่อปีเท่ากับ 263 ล้านบาท มากกว่าศูนย์ ซึ่งหมายความว่าโครงการสามารถสร้างรายได้เหนือค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานโดยเฉลี่ย

ทั้งนี้ การดำเนินโครงการของ บมจ.โทรคมนาคมฯ จะมีส่วนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโครงข่ายโทรคมนาคมและบริการดิจิทัลซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเมืองอัจฉริยะ การพัฒนาอุตสาหกรรม4.0 การพัฒนาแรงงานดิจิทัล พื้นที่พัฒนาพิเศษ และ 5G ยังจะสามารถต่อยอดการพัฒนาการศึกษา การแพทย์และเทคโนโลยีเสมือนจริง และเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้าองค์กรที่ต้องการใช้บริการ 5G ด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รอลุ้นครม.เศรษฐา 2 พปชร.ยังส่ง 'ไผ่ ลิกค์' นั่งรมช. ภูมิใจไทยไม่ขยับ

ความเคลื่อนไหวในการปรับ ครม. “เศรษฐา 2” หลังเทศกาลสงกรานต์ นั้น ล่าสุดมีรายงานข่าวว่า ในส่วนของ พรรคร่วมรัฐบาล โดยนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย (ภท.)

ดักคอ 'เศรษฐา' เตรียมอุ้มอสังหาฯ หวังระบายสต๊อก เตือนผุดนโยบายเอื้อกลุ่มทุนพันตัว

"ก้าวไกล" เผย นายกเตรียมอุ้มอสังหาฯ หวังระบายสต๊อก อาจถูกมองเอื้อกลุ่มทุน ชี้คนที่ได้ประโยชน์คือกำลังซื้อต่างชาติ แนะถ้าจะกระตุ้นศก.ควรเริ่มจากราคาบ้านถูกกลางเมืองจับต้องได้

ทัพเรือลุ้นต่อไป! นายกฯ เผย ครม.ไม่มีคุยปมยกเลิกเรือดำน้ำ เปลี่ยนเป็น 'ฟริเกต'

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีนายสุทิน คลังแสง รมว.กลาโหม ได้รายงานในที่ประชุมครม.หรือไม่ถึงการไปพูดคุยกับประเทศจีน

'สุระ' มั่นใจ ฝ่ายค้านซักฟอกรัฐบาลไม่ระคาย หนุนปรับครม.หาคนเหมาะสม

“สุระ” มั่นใจ ฝ่ายค้านซักฟอก ไม่ทำให้ เสถียรภาพรัฐบาลสั่นคลอน เหตุ จำนวนเสียงพรรคร่วมรัฐบาลยังหนุนอื้อ ชี้ ปรับครม. นายกฯ พิจารณาตามความเหมาะสม เสริมประสิทธิภาพทำงาน แก้ปัญหาให้ประชาชน