'บินไทย' ประกาศออกจากแผนฟื้นฟูกิจการเร็วกว่ากำหนด

“การบินไทย” ประกาศออกจากแผนฟื้นฟูกิจการเร็วกว่ากำหนดปลายปี67 ตั้งเป้ากลับซื้อขายหลักทรัพย์ในปี68 โชว์มีกระแสเงินสดเพิ่มอย่างต่อเนื่องกว่า 3 หมื่นล้านบาท ส่วนรายได้ปีนี้คาดโต 40% เร่งจัดหาฝูงบินเพิ่มรองรับการเดินทางที่กลับมาฟื้นตัว

10 ก.พ. 2566 – นายชาย เอี่ยมศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ขณะนี้การบินไทยดำเนินงานตามแผนฟื้นฟูกิจการกำหนดไปแล้วราว 70% ซึ่งยังคงเหลือเรื่องของการจัดหาเงินทุนใหม่ วงเงิน 2.5 หมื่นล้านบาท โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างศึกษาเปรียบเทียบแนวทางจัดหาเงินทุนใหม่ และรอประเมินสถานการณ์ทางการเงินว่ามีความจำเป็นต้องจัดหาเงินทุนมากน้อยเพียงใด

ทั้งนี้เนื่องจากปัจจุบันการบินไทยมีกระแสเงินสด (แคชโฟว์) เข้ามาต่อเนื่อง สะสมอยู่ในระดับ 3.5 หมื่นล้านบาท ดังนั้นหากกลางปีนี้ผลการดำเนินงานยังคงบวกต่อเนื่อง การบินไทยก็อาจยังไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนในการจัดหาทุนใหม่ หรืออาจมีการจัดหาเพียง 1.25 หมื่นล้านบาท

ขณะที่ภาพรวมการดำเนินงานในปัจจุบัน การบินไทยมีอัตราบรรทุกผู้โดยสาร (เคบิ้นแฟกเตอร์) เฉลี่ยประมาณ 80% และคาดว่าทั้งปี 2566 จะคงอยู่ในระดับ 80% ส่วนรายได้ในปีนี้คาดว่าจะเติบโตราว 40% จากปี 2565 ที่คาดการณ์รายได้ 9 หมื่นล้านบาท ซึ่งเริ่มกลับมาใกล้เคียงกับช่วงก่อนเกิดโควิด-19 ที่การบินไทยมีรายได้เฉลี่ยประมาณ 1.6 – 1.7 แสนล้านบาทต่อปี ด้านความสามารถทำการบิน ขณะนี้การบินไทยเริ่มกลับมาทำการบินคิดเป็น 65% ของเส้นทางบินทั้งหมด หากเทียบกับปี 2562 และมีแผนจะทยอยเปิดบินเพิ่มเติมต่อเนื่องในเส้นทางเอเชีย จีน ญี่ปุ่น และยุโรปในเมืองที่มีความนิยมสูง ซึ่งจะทำให้การบินไทยกลับมาเปิดบินคิดเป็น 80% ในปี 2568

“จากผลการดำเนินงานที่เป็นบวกต่อเนื่องตั้งแต่เดือน พ.ค.2565 ประกอบกับแนวโน้มการฟื้นตัวของดีมานด์ที่มีอยู่ทำให้เรามั่นในว่าปีนี้ผลการดำเนินงานก่อนต้นทุนทางการเงิน ภาษี และค่าเสื่อม (EBITDA) จะเป็นบวกมากกว่า 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งเข้าเกณฑ์กำหนดของการยื่นขอออกจากแผนฟื้นฟูกิจการที่ระบุว่าบริษัทฯ ต้องมี EBITDA หักลบค่าเช่าและเงินสด ย้อนหลัง 12 เดือน ต้องคงเหลือมากกว่า 2 หมื่นล้านบาท ดังนั้นจะทำให้การบินไทยสามารถออกจากแผนฟื้นฟูกิจการก่อนเป้าหมายกำหนดในปลายปี 2567 และกลับเข้าซื้อขายหลักทรัพย์ภายในปี 2568″นายชายกล่าว

สำหรับผลประกอบการปี 2565 ประมาณการรายได้อยู่ที่ราว 90,000 ล้านบาท ส่วนในปี 2566 ตั้งเป้ารายได้โต40% โดยการจัดหาฝูงบินเพิ่มจากปัจจุบันที่มีอยู่ 49 ลำ โดยการเช่าเครื่อง A350 จำนวน 6 ลำ เริ่มทยอยส่งมอบเมษายนนี้ และเจรจาเช่าเครื่องบินลำตัวกว้างเพิ่มอีก 3 ลำภายในปีนี้หรือต้นปีหน้า เพื่อรองรับการเปิดเส้นทางการบินเพิ่มรับการเดินทางที่เพิ่มมากขึ้น

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดภาพสบายๆ 'เศรษฐา' นั่งชั้นธุรกิจ รองเลขานายกฯแจงปมร้อนเช่าเหมาลำบินไทย

สำหรับการเดินทางเข้าร่วมประชุมที่สหรัฐอเมริกาของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง พร้อมคณะทางการได้เดินทางด้วยเที่ยวบิน ของสายการบินไทย TG 8832 นายกรัฐมนตรี นั่งในชั้น Business Class ร่วมกับคณะที่มีนายปานปรีย์ พหิทธานุกร

'พี่ศรี' ร้อง สตง. สอบนายกฯ เหมาบินไทย 30 ล้าน ถกเวทียูเอ็น ข้องใจปิดชื่อ 50 คนร่วมคณะ

นายศรีสุวรรณ จรรยา ผู้นำองค์กรรักชาติ รักแผ่นดิน เปิดเผยว่า ได้ยื่นคำร้องไปยังสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เพื่อขอให้สอบการจ้างเหมาเครื่องบินการบินไทย 30 ล้านบาทเพื่อนำนากรัฐมนตรีและคณะไปเข้าร่วมประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 78

’การบินไทย’ เด้งรับนโยบายฟรีวีซ่า ปูพรมเพิ่มเที่ยวบินไปจีน 

“การบินไทย” เด้งรับนโยบายฟรีวีซ่า กางแผนปรับเพิ่มความถี่เส้นทางบินกระตุ้นการท่องเที่ยวไฮซีซันนี้ ลุยเปิดตลาดจีนเพิ่มต่อเนื่องจาก 25 เที่ยวบิน เป็น 35 เที่ยวบิน เริ่ม 1 ธ.ค.นี้

‘บินไทย’ลุยบินเส้นทาง ‘อาห์เมดาบัด-เกาสง-ปีนัง-กัลกัตตา’ ด้วยเครื่อง A320

‘การบินไทย’รุกขยายเส้นทางบินทดแทนไทยสมายล์ สู่ ‘อาห์เมดาบัด-เกาสง-ปีนัง’ด้วยเครื่องบิน A320 ดีเดย์ 1 ก.ย. 66 พ่วงเปิดบินสู่กัลกัตตาเริ่ม 15 ต.ค.นี้

รัฐบาลโอ่เอกชนแห่ร่วมลงทุนโครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา

รองโฆษก รบ. เผยความคืบหน้าโครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา เอกชนเสนอเข้าร่วมลงทุนจำนวนมาก เชื่อมั่นเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน ยกระดับไทยสู่ผู้นำด้านอุตสาหกรรมอากาศยานของภูมิภาค

OR จับมือ การบินไทย พัฒนาทักษะการให้บริการเติมน้ำมันอากาศยานตามมาตรฐาน IATA ระดับ 2 ยกระดับมาตรฐานการให้บริการเติมน้ำมันอากาศยานในประเทศไทย

OR ร่วมกับ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเที่ยวบินปฐมฤกษ์ของการให้บริการเติมน้ำมันอากาศยานตามมาตรฐาน IATA ระดับ 2 (IATA Into-Plane Fueling Service Level 2)