‘กรมทางหลวง’ เร่งแผน MR-MAP เล็งชงคมนาคมไฟเขียวภายในปี66

‘กรมทางหลวง’ กางไทม์ไลน์เตรียมชงคมนาคมไฟเขียวร่างแผน MR-MAP 10 เส้นทาง ภายในปี66 ก่อนเดินหน้าแผนระยะ 5 ปี 9 โครงการ วงเงิน 4.57 แสนล้าน

24 ก.ค.2566 นายปิยพงษ์ จิวัฒนกุลไพศาล รองอธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมสรุป (ร่าง) แผนแม่บททางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (Pre-Feasibility Study) ภายใต้การศึกษา MR-MAP ว่า กรมฯ และบริษัทที่ปรึกษา ได้แก่ บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล เอ็นจิเนียริ่ง คอมซัลเต้นส์ จำกัด และบริษัท คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนตเมนท์ จำกัด (มหาชน) จัดให้มีการประชุมสรุป (ร่าง) แผนดังกล่าวฯ เพื่อรับฟังความคิดเห็นข้อเสนอแนะ รวมทั้งได้สร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างหน่วยงานและผู้เกี่ยวข้องต่อการศึกษาโครงการฯ

สำหรับข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในครั้งนี้จะนำไปประกอบการปรับปรุงแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองและระบบราง (MR-MAP) และการศึกษาความเหมาะสมฯ เบื้องต้น ในขั้นสุดท้ายของการศึกษาต่อไป สำหรับงบประมาณในการศึกษาแผนดังกล่าว ประมาณ 55 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น 2 สัญญา คือ 1.ศึกษานำร่อง 3 เส้นทาง งบศึกษาประมาณ 15 ล้านบาท และ 2.ศึกษาเส้นทางที่เหลือเพิ่มเติมอีก 7 เส้นทาง รวมเป็น 10 เส้นทาง งบศึกษาประมาณ 40 ล้านบาท โดยคาดว่าจะมีการรับฟังความคิดเห็นอีกครั้งในเดือนสิงหาคมนี้ และจะได้ข้อสรุปทั้งหมดภายในช่วงปลายปี 2566 ก่อนจะเสนอกระทรวงคมนาคมให้พิจารณาเห็นชอบภายปี 2566 ต่อไป

นายปิยพงษ์ กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการศึกษา MR-MAP ครั้งนี้ คือ ช่วยลดการเวนคืนและการแบ่งแยกชุมชน เพิ่มศักยภาพการเชื่อมโยงการเดินทางระหว่างภูมิภาคและการขนส่งระหว่างประเทศ ลดระยะเวลาในการเดินทางและขนส่ง ลดปัญหาการจราจรติดขัดที่เกิดขึ้นทั้งในเขตเมืองและบริเวณด่านการค้าชายแดน พัฒนาความเจริญไปสู่พื้นที่ใหม่โดยใช้การเชื่อมโยงการเดินทางหลากหลายรูปแบบเพิ่มโอกาสทางการค้าและการลงทุน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล กระทรวงคมนาคม และบริบทของสภาพเศรษฐกิจและสังคม

นายปิยพงษ์ กล่าวอีกว่า ขณะที่ แผนพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2566-2585) โดยจะเริ่มจากแผนระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) ประกอบด้วย 9 โครงการ ระยะทาง 391 กิโลเมตร (กม.) มูลค่าลงทุนรวม 457,000 ล้านบาท สำหรับแผนแม่บท MR-MAP จำนวน 10 เส้นทาง ระยะทางรวมประมาณ 7,003 กม. มีเส้นทางพัฒนาเป็นมอเตอร์เวย์รวมกับระบบราง 4,321 กม. ซึ่งมีแนวเส้นทางที่สามารถนำร่องดำเนินการได้ ดังนี้ MR1 เชียงราย-นราธิวาส ระยะทาง 2,125 กม. เริ่มต้นจาก ด่านเชียงของ/ด่านแม่สาย จ.เชียงราย สิ้นสุดที่ จ.นราธิวาส มีช่วงที่พัฒนาเป็นมอเตอร์เวย์ร่วมกับระบบราง ประมาณ 1,720 กม. คือ ช่วง เชียงราย (ด่านเชียงของ-พะเยา) และช่วงลำปาง-นราธิวาส

นายปิยพงษ์ กล่าวอีกว่า MR 2 กรุงเทพ/ชลบุรี -หนองคาย ระยะทาง 914 กม. มีเส้นทางที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง คือ สายบางปะอิน-นครราชสีมา ระยะทาง 196 กม. และเส้นทางในอนาคตอีก 718 กม. โดยมีช่วงที่พัฒนาเป็นมอเตอร์เวย์ร่วมกับระบบราง ประมาณ 313 กม. คือช่วง ชลบุรี(แหลมฉบัง)-นครราชสีมา

นายปิยพงษ์ กล่าวอีกว่า MR10 เส้นทางเชื่อมต่อกรุงเทพมหานครปริมณฑล วงแหวนรอบที่ 3 และเส้นทางเชื่อมต่อ ระยะทางรวม 642 กม. ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 วงแหวนรอบที่ 2 (ถนนกาญจนาภิเษก) ระยะทาง 193 กม. เปิดให้บริการแล้ว ส่วนเส้นทาง บางขุนเทียน-บ้านแพ้ว อยู่ระหว่างก่อสร้าง ส่วนที่ 2 วงแหวนรอบที่ 3 เส้นทางในอนาคต ระยะทาง 346 กม. ส่วนที่ 3 เส้นทางเชื่อมต่อวงแหวนรอบที่ 2 และ 3 ได้แก่ บ้านแพ้ว-ปากท่อ ระยะทาง 54 กม. และ บางปะอิน-สุพรรณบุรี ระยะทาง 55 กม. โดยมีช่วงที่พัฒนาเป็นมอเตอร์เวย์ร่วมกับระบบราง ประมาณ 365 กม. คือวงแหวนรอบที่ 3 ด้านเหนือ ช่วงสุพรรณบุรี-ทล. 6 ด้านใต้ ช่วงทล.34-ทล35 ด้านตะวันตก ช่วง ทล.35-นครปฐม-สุพรรณบุรี

นอกจากนี้ ยังมีแนวเส้นทางอื่นๆที่จะดำเนินการในระยะถัดไป ประกอบด้วย MR 3 บึงกาฬ -สุรินทร์ ระยะทาง 544 กม. มีช่วงที่พัฒนาเป็นมอเตอร์เวย์ร่วมกับระบบราง ประมาณ 490 กม. ได้แก่ ช่วงบึงกาฬ-สุรินทร์ (ด่านช่องจอม) MR 4 ตาก-นครพนม ระยะทาง 856 กม.มีช่วงที่พัฒนาเป็นมอเตอร์เวย์ร่วมกับระบบราง ประมาณ 435 กม. ได้แก่ ช่วง ด่านแม่สอด-ตาก ช่วง พิษณุโลก และช่วง ขอนแก่น-มุกดาหาร-นครพนม MR 5 นครสวรรค์-อุบลราชธานี (ด่านช่องเม็ก/สะพานมิตรภาพแห่งที่ 6 ) ระยะทาง 722 กม.

นายปิยพงษ์ กล่าวอีกว่า MR 6 กาญจนบุรี-สระแก้ว ระยะทาง 390 กม. มีแนวเส้นทางที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง คือ สายบางใหญ่-กาญจนบุรี ระยะทาง 96 กม. ที่เหลือแผนก่อสร้างในอนาคต โดยมีช่วงที่พัฒนาเป็นมอเตอร์เวย์ร่วมกับระบบราง ประมาณ 172 กม. ได้แก่ ช่วงด่านน้ำพุร้อน-กาญจนบุรี และช่วงปราจีนบุรี-สระแก้ว

สำหรับ MR7 กรุงเทพ-ระยอง/ตราด ระยะทาง 467 กม. มีเส้นทางที่เปิดให้บริการแล้ว คือ สายกรุงเทพ-พัทยา-มาบตาพุด ระยะทาง 181 กม. เส้นทางในอนาคต 286 กม. มีช่วงที่พัฒนาเป็นมอเตอร์เวย์ร่วมกับระบบราง ประมาณ 193 กม. ได้แก่ ช่วงระยอง-จันทบุรี-ตราด MR 8 ชุมพร-ระนอง ระยะทาง 91 กม. MR 9 สุราษฎร์ธานี-ภูเก็ต ระยะทาง 252 กม. มีช่วงที่พัฒนาเป็นมอเตอร์เวย์ร่วมกับระบบราง ประมาณ155 กม. คือช่วงดอนสัก-สุราษฎร์ธานี และช่วงพังงา-ภูเก็ต

อย่างไรก็ตาม การพัฒนา MR-MAP คือ การบูรณาการพัฒนาระบบถนนและรางไปด้วยกัน แต่ไม่จำเป็นต้องก่อสร้างพร้อมกัน แต่เพื่อเป็นการบริหารจัดการเขตทางที่มีอยู่ให้เต็มที่ ลดการเวนคืนพื้นที่และแบ่งแยกชุมชน เกิดการพัฒนาความเจริญไปสู่พื้นที่ใหม่ ปรับปรุงการเชื่อมต่อโครงข่าย เพื่อความสะดวกและคล่องตัวในการขนส่งผู้โดยสารและสินค้า แก้ปัญหาทางรถไฟในเขตเมืองที่มี่ความแออัด ภาพรวมคือการวางแผนพัฒนา เพื่อเตรียมพื้นที่ ส่วนระบบใดมีความพร้อมและความจำเป็นก่อนให้ก่อสร้างก่อน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ทางหลวง' ลุยชง ครม.เคาะ 4 โปรเจ็กต์มอเตอร์เวย์ วงเงิน 1.4 แสนล้าน

“กรมทางหลวง” เข็น 4 โปรเจ็กท์มอเตอร์เวย์ 156 กม. วงเงินรวม 149,268 ล้านบาท ชง ครม. อนุมัติปีนี้ จัดเต็ม M5-M9 ช่วงบางขุนเทียน-บางบัวทอง ชวนเอกชนลงทุนปลายปีนี้ เริ่มสร้างปี 69-71 ขณะที่ M9 ช่วงบางบัวทอง-บางปะอิน ตั้งธงสร้างปี 68-71 ด้าน M8 ประเดิม ช่วงนครปฐม-ปากท่อก่อน เตรียมแผนสร้าง 69-73

ได้ฤกษ์ ‘กรมทางหลวง’ เล็งเปิดประมูลที่พักริมทาง ‘ศรีราชา-บางละมุง’

‘กรมทางหลวง’ เตรียมประกาศเชิญชวนเอกชนร่วมลงทุน ที่พักริมทางมอเตอร์เวย์สาย 7 จำนวน 2 แห่ง 'ศรีราชา-บางละมุง' ก่อนให้ยื่นข้อเสนอช่วงปลายปี 66 คาดได้ผู้ชนะต้นปี 67 ก่อนลงมือก่อสร้าง เปิดให้บริการบางส่วนในปี 68 และเปิดบริการเต็มรูปแบบในปี 69

กรมทางหลวงเล็งชงครม.ใหม่เคาะมอเตอร์เวย์ 4 สาย มูลค่า 1.45 แสนล้าน

“ทางหลวง” เตรียมชง ครม.ใหม่ เคาะใช้แหล่งเงินกู้ สร้างมอเตอร์เวย์ 4 สาย มูลค่า 1.45 แสนล้าน หลังยุบสภา-เลือกตั้งใหม่ กระทบโครงการดีเลย์ เล็งเปิดประมูล M9 “บางขุนเทียน-บางปะอิน” ภายในปลายปี 67-68 คาดเปิดให้บริการปี 72

แผนแม่บท MR-MAP พัฒนามอเตอร์เวย์คู่รถไฟ 10 เส้นทางสะท้อนวิสัยทัศน์ 'พล.อ.ประยุทธ์'

'ทิพานัน' กางแผนแม่บท MR-MAP พัฒนามอเตอร์เวย์คู่รถไฟ 10 เส้นทาง เพิ่มประสิทธิภาพการขนส่ง เชื่อมโยงภูมิภาค สะท้อนวิสัยทัศน์ 'พล.อ.ประยุทธ์' ผู้นำความเจริญในทุกมิติ

‘กรมทางหลวง’ ปักหมุด พ.ค.นี้ เปิดขายซองเอกชนร่วมลงทุนที่พักริมทาง ‘ศรีราชา-บางละมุง’

‘กรมทางหลวง’เปิดรับฟังความเห็นเอกชน ก่อนเปิดขายซองโครงการศูนย์บริการทางหลวงศรีราชา-บางละมุง วงเงิน 2.3 พันล. พ.ค.นี้ คาดเซ็นสัญญาไม่เกินกลางปี 67 ก่อนเปิดบริการบางส่วนปี 68 พร้อมบริการเต็มรูปแบบ 69 พร้อมเผนไทม์ไลน์โปรเจ็กต์ที่พักริมทาง 2 เส้นทาง M6-M81 วงเงิน 5,625 ล้านบาท ลุยประมูลปีนี้

คมนาคมเร่งแผนพัฒนา ‘MR-Map’ ลุยนำร่อง 3 เส้นทาง

“ศักดิ์สยาม” ติดตามความคืบหน้าแผนพัฒนา MR–Map 10 เส้นทาง “มอเตอร์เวย์–ระบบราง” รวม 4,321 กม. ลุยนำร่อง 3 เส้นทาง สั่งจัด Road Show “แลนด์บริดจ์” ชุมพร–ระนอง ดึงความสนใจนักลงทุน