ไปไม่ถึง ส.อ.ท. ยอมหั่นเป้าผลิตรถยนต์เหลือ 1.85 ล้านคัน ชี้ไฟแนนซ์เข้มปล่อยสินเชื่อ

ส.อ.ท.ยอมปรับเป้าการผลิตรถยนต์เหลือ 1.85 ล้านคัน ลดจากปีก่อน 1.78% เผยสาเหตุสถาบันการเงินยังเข้มอนุมัติสินเชื่อ กดดันการจำหน่ายในประเทศ แต่ยังลุ้นยอดส่งออกแตะเป้า 1.05 ล้านคัน

25 ต.ค. 2566 – นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธาน และโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ส.อ.ท.ได้ปรับประมาณการผลิตรถยนต์ปี 2566 ใหม่จากเดิมที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,900,000 คันแบ่งเป็นการผลิตเพื่อการส่งออก 1,050,000 คัน เพื่อการจำหน่ายในประเทศ 850,000 คัน โดยปรับลดเหลือการผลิตทั้งสิ้นที่ 1,850,000 คัน ซึ่งปรับลดในส่วนของการผลิตเพื่อการจำหน่ายประเทศลง 50,000 คันเหลือ 800,000 คันแต่ยังคงเป้าการผลิตเพื่อส่งออกที่ 1,050,000 คัน ส่งผลให้การผลิตที่ปรับใหม่เมื่อเทียบกับปี 2565 ที่มีการผลิตทั้งสิ้น 1,883,515 คันลดลง 1.78%

“สาเหตุที่ทำให้ต้องปรับเป้าอีกครั้งเพราะสถาบันยังคงเข้มงวดของการอนุมัติสินเชื่อ เดิมเราเองก็หวังว่ารัฐบาลใหม่มาเผื่อว่าสถานการณ์จะดีขึ้นก็ยอมรับว่าดีมานด์เองมีอยู่แต่การจำหน่ายในประเทศลดลงจากปัจจัยหลักสถาบันการเงินเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อจากหนี้ครัวเรือนสูงทำให้ไม่ผ่านเครดิตบูโร ไฟแนนซ์บางแห่งให้วางเงินดาวน์สูง 30-40% ซึ่งถือเป็นการปฏิเสธโดยปริยาย”นายสุรพงษ์ กล่าว

ขณะที่การผลิตรถยนต์เดือน ก.ย. 66 มีทั้งสิ้น 164,093 คัน ลดลงจากก.ย. 65 คิดเป็น 8.45% ส่งผลให้ 9 เดือนแรกปีนี้(ม.ค.-ก.ย.66) มียอดผลิต 1,385,971 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.61% ซึ่ง 9 เดือนแรกผลิตเพื่อส่งออกได้ทั้งสิ้น 218,991 คันคิดเป็น 45.52% ของยอดผลิตรถยนต์นั่งเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 15.04% ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 9 เดือนอยู่ที่ 576,007 คันคิดเป็น 41.56% ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 6.74%

สำหรับยอดขายรถยนต์ภายในประเทศเดือนก.ย. 66 มีทั้งสิ้น 62,086 คัน ลดลงจากก.ย. 65คิดเป็น 16.27% จากยอดขายรถกระบะที่ลดลงถึง 45% เพราะการเข้มงวดสินเชื่อประกอบกับก.ย. 65 มีฐานสูงเพราะเริ่มได้รับชิป ส่งผลให้ 9 เดือนแรกมียอดขาย 586,870 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน 7.39% ขณะที่การส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปเดือนก.ย. 66 อยู่ที่ 97,476 คัน เพิ่มขึ้นจากก.ย. 65 คิดเป็น 2.90% และ 9 เดือนแรกส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป 821,899 คัน เพิ่มขึ้นจากชวงเดียวกันของปีก่อน 16.34% มีมูลค่าการส่งออก 519,435.19 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 19.27% ทำให้การส่งออกทั้งปี้จะเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้หากสถานการณ์สู้รบระหว่างอิสราเอลและฮามาส ไม่บานปลายขยายวงกว้างไปยังภูมิภาคตะวันออกกลางโดยรวม

“ยานยนต์ไฟฟ้ายังคงเติบโตต่อเนื่องโดยพบว่ามียอดจดทะเบียนใหม่(ป้ายแดง)ก.ย. 66 อยู่ที่ 6,839 คัน เพิ่มขึ้น 542.16% และรวม 9 เดือนแรกปีนี้อยู่ที่ 50,000 คัน เพิ่มขึ้น 757.63% ซึ่งต้องขอขอบคุณนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลังที่มีนโยบายวางสมดุลของรถยนต์สันดาปและไฟฟ้าควบคู่กันไป”นายสุรพงษ์ กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

มพช. แจงปมของบ ส.อ.ท. ทำวิจัย

ดร.สุวิทย์ ธรณินทร์พานิช ประธานคณะกรรมการมูลนิธิพลังงานสะอาดเพื่อประชาชน (มพช.) พร้อมด้วยคุณพรอรัญ สุวรรณพลาย กรรมการและเหรัญญิก มพช.

'อัลฟ่าเซค' จับมือ 'ส.อ.ท.' ทำระบบมาตรฐานความปลอดภัยสารสนเทศของงาน Made in Thailand

อัลฟ่าเซค ร่วมมอบ “ใบรับรองระบบมาตรฐานด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ISO27001:2022” ให้กับ ส.อ.ท. ในฐานะที่ปรึกษาด้านความมั่นคงปลอดภัย เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้ประกอบการ MiT และเตรียมรับมือกับ ภูมิทัศน์ไซเบอร์ในปี 2567

ส.อ.ท. เสนอคุมส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเงินกู้-เงินฝาก ช่วยเอกชน

นายมนตรี มหาพฤกษ์พงศ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจ FTI CEO Poll ครั้งที่ 37 ในเดือนมกราคม 2567 ภายใต้หัวข้อ “ดอกเบี้ยสูง หนี้พุ่ง อุตสาหกรรมไปต่ออย่างไร” พบว่า ผู้บริหาร ส.อ.ท.

ส.อ.ท. ชงภาครัฐดูแลค่าไฟฟ้าระยะเร่งด่วน วางเป้า 3.60 บาท/หน่วย

ส.อ.ท. เตรียมชงข้อเสนอภาครัฐดูแลค่าไฟฟ้าระยะเร่งด่วนปี 67 วางเป้าหมายค่าไฟฟ้าเฉลี่ยไม่เกิน 3.60 บาท/หน่วย พร้อมเสนอ 5 แนวทางบริหาร ทั้งระยะสั้น กลาง ยาว หวังดูแลทั้งระบบ ดึงเป้าหมายค่าไฟเฉลี่ยไม่เกิน 3 บาท/หน่วย เร่งเจรจาพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา เปิดตลาดไฟเสรี