’สุริยะ’ ตั้งกรรมการฯเร่งเมกะโปรเจกต์ 72 โครงการ ชี้ปี 67 เตรียมเปิดประมูลกว่า 5.7 แสนล้าน

’สุริยะ’ ตั้งกรรมการฯ เร่งเมกะโปรเจกต์ ‘บก-น้ำ-ราง-อากาศ’ รวม 72 โครงการ สั่งทบทวนแผนสร้างมอเตอร์เวย์M82 ช่วงบ้านแพ้ว-ปากท่อ คาดเปิดใช้ในปี 74 เปิดประมูล 14 โครงการปี 67 มูลค่ากว่า 5.7 แสนล้าน ลุยสร้างรถไฟทางคู่ขอนแก่น-หนองคาย เดินหน้ารถไฟฟ้าสายสีส้ม-สายสีแดงต่อขยาย-ทางด่วนภูเก็ต-ไฮสปีดไทยจีน เฟส 2

3 ธ.ค. 2566 – นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามผลการดำเนินโครงการสำคัญ ว่าได้แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อน และติดตามผลการดำเนินงานโครงการสำคัญตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมเพิ่มเติม ซึ่งมีตนเป็นประธานคณะกรรมการฯ จากคำสั่งกระทรวงคมนาคม ที่ 1080/2566 ลงวันที่ 16 ต.ค. 2566 โดยแต่งตั้งนางมนพร เจริญศรีและนายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม เป็นรองประธานคณะกรรมการฯ พร้อมด้วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม, โฆษกกระทรวงคมนาคม และผู้ช่วยปลัดกระทรวงคมนาคม 1 เป็นกรรมการ

ทั้งนี้ เพื่อให้การขับเคลื่อนดำเนินการเกิดผลในทางปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งติดตาม และตรวจสอบความคืบหน้าของแต่ละโครงการว่า เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการชุดดังกล่าว จะมีการประชุมในทุกเดือน เพื่อติดตามข้อสั่งการให้เป็นไปตามแผน

สำหรับโครงการสำคัญตามนโยบายของกระทรวงคมนาคม รวม 72 โครงการ ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ปี 2566-2570 แบ่งเป็น โครงการด้านคมนาคมขนส่งที่ความสำคัญเชิงพื้นที่ 13 โครงการ, ด้านคมนาคมขนส่งทางบก 29 โครงการ, ด้านคมนาคมขนส่งทางราง 22 โครงการ, ด้านคมนาคมขนส่งทางอากาศ 4 โครงการ, ด้านคมนาคมขนส่งทางน้ำ 4 โครงการ
ทั้งนี้ ในส่วนของโครงการพัฒนาด้านการคมนาคมขนส่งในพื้นที่ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจพิเศษ ได้แก่ พื้นที่จ.ภูเก็ต เช่น การเพิ่มปริมาณการรองรับผู้โดยสาร (Capacity) สนามบินกระบี่ เพื่อรองรับผู้โดยสารจาก 4 ล้านคนเป็น 8 ล้านคนต่อปี, การพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ต ระยะที่ 2 การก่อสร้างท่าอากาศยานภูเก็ตแห่งที่ 2 (ท่าอากาศยานพังงา) และการสร้างทางพิเศษ สายกระทู้ – ป่าตอง เป็นต้น ขณะที่โครงการพัฒนาในพื้นที่ จ.เชียงใหม่เช่น การพัฒนาท่าอากาศยานเชียงใหม่ และพัฒนาท่าอากาศยานเชียงใหม่แห่งที่ 2 และระบบขนส่งมวลชนจ.เชียงใหม่ เป็นต้น

อย่างไรก็ตามในส่วนโครงการพัฒนาด้านคมนาคมขนส่งทางบก เช่น โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง(Motorway) สายบางปะอิน – นครราชสีมา (M6), มอเตอร์เวย์ สายบางใหญ่ – กาญจนบุรี (M81) ส่วนต่อขยายเชื่อมสนามบินอู่ตะเภา (M7) การจัดหารถโดยสารประจำทางไฟฟ้า (EV) ของบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และโครงการแก้ไขปัญหาการจราจรบนโครงข่ายทางพิเศษ ระยะที่ 1 หรือโครงการทางพิเศษยกระดับชั้นที่ 2 (งามวงศ์วาน-พระราม 9) (Double Deck) รวมทั้งการเร่งรัดเพิ่มโครงการทางยกระดับ M82 ช่วงบ้านแพ้ว-ปากท่อ ระยะทาง 47 กิโลเมตร (กม.) ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาด้านการเวนคืนที่ดินของประชาชน คาดว่า การก่อสร้างจะแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการในปี 2574

ทั้งนี้ เตรียมเปิดใช้ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) หมายเลข 6 (M6) สายบางปะอิน-นครราชสีมา ช่วงอ.ปากช่อง -อ.สีคิ้ว-อ.ขามทะเลสอ-ทางเลี่ยงเมืองนครราชสีมา ระยะทาง 77.493 กม. ขนาด 4 ช่องจราจร ทิศทางละ 2 ช่องจราจร เริ่มเปิดบริการตั้งแต่เวลา 00.01 ของวันที่ 28 ธ.ค.66 เป็นต้นไป และเปิดตลอดไป ไม่เฉพาะวันหยนุดเทศกาลปีใหม่ ส่วนเปิดบริการโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) หมายเลข 81 (M81) สายบางใหญ่-กาญจนบุรี ช่วงตั้งแต่ตอน 13 บริเวณด่านเก็บค่าผ่านทางด่านนครปฐมฝั่งตะวันตก จนถึงตอน 23 บริเวณด่านกาญจนบุรี ระยะทาง 50 กม. ขนาด 4 ช่องจราจร ทิศทางละ 2 ช่อง จะเปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 00.01 ของวันที่ 28 ธ.ค.66 จนถึงเวลา 24.00 น. ของวันที่ 3 ม.ค. 67 รวม 7 วัน

นายสุริยะ กล่าวต่อว่า ด้านโครงการพัฒนาด้านคมนาคมขนส่งทางราง เช่น โครงการรถไฟฟ้า 20 บาท ตลอดสายโครงการตั๋วร่วม Feeder เข้าสู่รถไฟฟ้าสายสีแดงและสายสีม่วง และพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การขนส่งทางราง อีกทั้งศึกษาการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงรูปแบบการเดินทาง (Feeder) เพื่อเข้าถึง Feeder จำนวน 26 เส้นทาง เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีม่วง – สีแดง (เพิ่มเติม) ผลการศึกษาใกล้แล้วเสร็จ ทั้งนี้ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) จะสำรวจเส้นทางร่วมกัน คาดว่า จะสำรวจเส้นทางร่วมกันประมาณสัปดาห์ที่ 2 ของเดือน ธ.ค. 2566 และภายหลังประมวลเส้นทางชัดเจนแล้ว ขบ. จะพิจารณานำไปประกาศฯเพื่อเสนอเป็นเส้นทางสำหรับการให้บริการต่อไป

นอกจากนี้ ยังมีโครงการพัฒนาด้านคมนาคมขนส่งทางอากาศ เช่น การเตรียมความพร้อมการกลับเข้า Category 1 ขององค์การบริหารการบินแห่งสหรัฐอเมริกา (FAA), การก่อสร้างทางวิ่งเส้นที่ 3 ท่าอากาศยานดอนเมือง, การพัฒนาท่าอากาศยานดอนเมือง ระยะที่ 3 และการเตรียมความพร้อมการตรวจขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ส่วนโครงการพัฒนาด้านคมนาคมขนส่งทางน้ำ เช่น การพัฒนา Smart Pier ในแม่น้ำเจ้าพระยาโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมบัง ระยะที่ 3 และการศึกษาท่าเรือสำราญ (Cruise Terminal) เป็นต้น นอกจากนี้ ในด้านมาตรฐานความปลอดภัยระบบลิฟต์นั้น ให้ยกระดับการตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยระบบลิฟต์ ระบบบันไดเลื่อนและทางเลื่อนอัตโนมัติในสถานีขนส่งผู้โดยสารและท่าอากาศยานของกระทรวงคมนาคม

อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 20-21 พ.ย. 2566 กระทรวงคมนาคมเตรียมประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) โดยจะมีหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม ทั้งส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจเข้าร่วม เพื่อนำเสนอโครงการต่างๆ ของกระทรวงคมนาคมทั้ง 4 มิติ คือ ทางบก ทางน้ำ ทางราง และทางอากาศ เพื่อแปรนโยบายไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งนำเสนอผลงานของรัฐบาล 99 วันแรกภายหลังเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ พร้อมทั้งนำเสนอสิ่งที่จะดำเนินการในปีต่อๆ ไป

ด้านนายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) กล่าวว่า ทล.ได้รับยนโยบายของกระทรวงคมนาคม โดยได้เร่งรัดโครงการทางพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 82 (M82) ช่วงบ้านแพ้ว-ปากท่อ ระยะทาง 47 กม. วงเงิน53,219 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าก่อสร้างงานโยธา งานระบบ 52,913 ล้านบาท (รวมค่าบริหารโครงการและควบคุมงาน) และค่ากรรมสิทธิ์ที่ดิน 306 ล้านบาท ปัจจุบันอยู่ระหว่างเตรียมของบประมาณปี 68 เพื่อศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมของโครงการ คาดเริ่มก่อสร้างในปี 70 เสร็จปี 74 มีจุดเริ่มต้น จากจุดสิ้นสุดของ M82 ช่วงบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว สิ้นสุดที่ ต.วังมะนาว อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี รูปแบบการก่อสร้างเป็นทางยกระดับ ขนาด 6 ช่องจราจร ทั้งนี้ช่วงบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งโครงการ M82 สายบางขุนเทียน-ปากท่อ ระยะทาง 82 กม.

นอกจากนี้เร่งรัดโครงการมอเตอร์เวย์ หมายเลข 8 (M8) ระยะทาง 109 กม. วงเงิน 71,995.20 ล้านบาท แบ่งก่อสร้างเป็น 2 ช่วง ได้แก่ 1.ช่วงนครปฐม-ปากท่อ ระยะทาง 61 กม. วงเงิน 43,227.16 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าก่อสร้างงานโยธา 29,156 ล้านบาทโดยจะใช้เงินกู้และงบประมาณควบคู่กัน ค่าเวนคืน 12,287.87 ล้านบาท และ ค่าก่อสร้างงานระบบ (O&M) 1,783.29 ล้านบาท

ทั้งนี้โดยมี จุดเริ่มต้นมี 2 แห่ง คือ แห่งแรก เชื่อมต่อกับ M81 บางใหญ่-กาญจนบุรี บริเวณ กม.9+855 เส้นทางที่ใช้เชื่อมรถเข้า-ออก จากโครงข่ายหลักมอเตอร์เวย์บริเวณชุมทางต่างระดับนครชัยศรี และ จุดที่สอง เชื่อมต่อ ทล.338 ถนนบรมราชนนี กม.31+419 บริเวณทางแยกต่างระดับนครชัยศรี และ จุดสิ้นสุดที่ปากท่อ กม.70+855 สามารถเชื่อมต่อ ทล.4 ถนนเพชรเกษม บริเวณ กม.125+000 บริเวณทางแยกต่างระดับปากท่อ และ เชื่อมต่อ ทล.35 ถนนพระราม 2 กม.81+500 รูปแบบเป็นมอเตอร์เวย์ ขนาด 4 ช่องจราจร

ทั้งนี้ ในปัจจุบันเตรียมเสนอ ครม. ขออนุมัติดำเนินโครงการโดยใช้แหล่งเงินกู้ก่อสร้างงานโยธาปี 67 ขณะเดียวกันเตรียมเสนออนุมัติรูปแบบการใช้เอกชนร่วมลงทุน ก่อสร้างงานระบบ O&M ในปี 67 คาดก่อสร้างปี 69 เสร็จปี 72 และ 2.ช่วงปากท่อ-ชะอำ 48 กม. วงเงิน 28,768.04 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าก่อสร้างงานโยธา 24,017.08 ล้านบาทโดยจะใช้เงินกู้และงบประมาณควบคู่กัน ค่าเวนคืน 3,807.77 ล้านบาท และ ค่าก่อสร้างงาน O&M จำนวน 943.19 ล้านบาท ทล. อยู่ระหว่างทบทวนแนวเส้นทางและผลกระทบด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น ตามที่ประชาชนในพื้นที่มีข้อร้องเรียน คาดว่าจะใช้เวลาทบทวน 1 ปี หลังจากนั้นมีแผนจะสร้างปี 76 เสร็จปี 80

สำหรับโครงการสำคัญที่กระทรวงคมนาคมเร่งเปิดประมูลในปี 67 จำนวน 14 โครงการ มูลค่า 5.7 แสนล้านบาทประกอบด้วย

1.รถไฟทางคู่ช่วงขอนแก่น-หนองคาย วงเงิน 29,748 ล้านบาท ระยะทางประมาณ 167 กิโลเมตร คาดเริ่มก่อสร้างในเดือนเมษายน 2567

2.สายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี งานโยธา ฝั่งตะวันตก และงานระบบ วงเงินลงทุนประมาณ 1.4 แสนล้านบาท คาดว่าจะก่อสร้างในเดือนพฤษภาคม 2567

3.ขยายช่องจราจร ทางหลวงหมายเลข 4027 ช่วง บ.พารา-บ.เมืองใหม่ ค่าก่อสร้าง 510 ล้านบาท ระยะทาง 4.55 กิโลเมตร เริ่มก่อสร้างเดือนสิงหาคม 2567

4.ศูนย์บริการทางหลวง (Service Center)ศรีราชา บน M7 ช่วงชลบุรี-พัทยา เริ่มก่อสร้างเดือนสิงหาคม 2567 วงเงิน 1,615 ล้านบาท เริ่มก่อสร้างเดือนสิงหาคม 2567

5.Service Area บางละมุง บน M7 ช่วงพัทยา-มาบตาพุดวงเงิน 766 ล้านบาท เริ่มก่อสร้างเดือนสิงหาคม 2567

6.ส่วนต่อขยายเชื่อมต่อสนามบินอู่ตะเภา (M7) วงเงิน4,508 เริ่มก่อสร้างเดือนกันยายน 2567

7.ทางแยกต่างระดับที่จุดตัด ทล. 402 กับ ทล 4027 และ ทล. 4025 วงเงินกว่า 2,000 ล้านบาท เริ่มก่อสร้างเดือนกันยายน 2567

8.สายสีแดงช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ เริ่มก่อสร้างเดือนกันยายน 2567 วงเงิน 6,468 ล้านบาท

9.สายสีแดงช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา เริ่มก่อสร้างเดือนกันยายน 2567 วงเงิน 10,670 ล้านบาท

10.รถไฟทางคู่ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี วงเงิน 37,527 ล้านบาท เริ่มก่อสร้างเดือนกันยายน 2567

11.สายสีแดงช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช วงเงิน 4,694 ล้านบาท

12.ทางพิเศษ กะทู้-ป่าตอง วงเงิน 14,670 ล้านบาท เริ่มก่อสร้างเดือนกันยายน 2567 13.ทางพิเศษสา

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'สุริยะ' ชงครม.เคาะรถไฟสายสีส้มวันนี้ เตรียมลงนามสัญญา BEM คาดประชาชนได้ใช้ปี 71

ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงกรณีกระทรวงคมนาค

‘สุริยะ’ สั่ง รฟม. ลงโทษ ’NBM‘ เหตุประตูรถไฟฟ้าเปิดกลางทางขู่ลงดาบแบล็กลิสต์

‘สุริยะ’เอาจริง มอบ รฟม. ส่งหนังสือถึง ‘NBM’ผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีชมพู จ่อดำเนินการตามบทลงโทษขั้นสูงสุด หลังเกิดเหตุประตูขบวนรถเปิดกลางทาง ลั่นไม่สามารถประนีประนอมหรือต่อรองได้ ย่ำหากไม่ปรับปรุงจ่อลงดาบแบล็กลิสต์

นายกฯ ดันไทยสู่การเป็น Aviation Hub ภูมิภาค ตั้งเป้าติด TOP 20

นายกฯ ดันไทยสู่การเป็น Aviation Hub ภูมิภาค เผยสถิติ 8 เดือน มีผู้โดยสารใช้บริการสนามบินในไทย 81.05 ล้านคน คมนาคมตั้งเป้าผลักดันติดอันดับ 1 ใน 20 สนามบินระดับโลกในปี 72 รองรับผู้โดยสาร 210 ล้านคนในปี 77

'สุริยะ' ปัด 'ทักษิณ' เสื่อม 'สว.สีน้ำเงิน' ยึดสภาสูง ไม่กระทบรัฐบาล

'สุริยะ' ปัด 'ทักษิณ' เสื่อมมนต์ขลัง ชี้ 'สมชาย' ร่วง สว. สะท้อน 'เพื่อไทย' ไม่ได้ยุ่งกระบวนการเลือก เชื่อไร้ผลกระทบอำนาจต่อรองในรัฐบาล

'สุริยะ' สั่งเร่ง พ.ร.บ.ตั๋วร่วม คาดใช้ปี 68 รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คมนาคม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายระบบตั๋วร่วม (คนต.) ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวัน